สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 3) ศึกษาประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น โดยกระบวนการวิจัยและพัฒนา มี 3 ระยะ 7 ขั้นตอน กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาภาวะผู้นำครู เป็นครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 370 คน โดยใช้โรงเรียนเป็นหน่วยวิเคราะห์ (Unit of analysis) และผู้ให้ข้อมูลหลักคือครูผู้สอนโรงเรียนละ 1 คน โดยใช้วิธีการการสุ่มอย่างง่ายได้โรงเรียนเป็นกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 370 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการพัฒนา คือ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา ในศูนย์เครือข่ายการศึกษาขั้นพื้นฐานที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 2 จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำครู 2) แบบสอบถามเกี่ยวกับภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 3) แบบประเมินพฤติกรรมครู สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. องค์ประกอบภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 23 องค์ประกอบย่อย และ 104 ตัวบ่งชี้ ดังนี้ 1) ความเป็นครู มี 3 องค์ประกอบย่อย 17 ตัวบ่งชี้ 2) การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา มี 5 องค์ประกอบย่อย 20 ตัวบ่งชี้ 3) ความเชี่ยวชาญด้านการสอน มี 5 องค์ประกอบย่อย 22 ตัวบ่งชี้ 4) การพัฒนาตนเอง มี 3 องค์ประกอบย่อย 13 ตัวบ่งชี้ 5) การทำงานเป็นทีม มี 4 องค์ประกอบย่อย 21 ตัวบ่งชี้ และ 6) การเป็นผู้นำ การเปลี่ยนแปลง มี 3 องค์ประกอบย่อย 11 ตัวบ่งชี้
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 มี 5 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา 4) กระบวนการพัฒนา และ 5) การวัดและประเมินผล
3. ผลการประเมินรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 พบว่า รูปแบบการพัฒนา มีความเหมาะสมโดยรวม อยู่ในระดับ มากที่สุด (X̅ = 4.68) ครูที่ได้รับการพัฒนามีความก้าวหน้าในการพัฒนาภาวะผู้นำครูในโรงเรียนประถมศึกษา คิดเป็นร้อยละ 72.97
The purposes of this research were to 1) study the components of teacher leadership of the teachers in Primary Schools under the Office of Education Region 11 2) establish and develop a model for developing teacher leadership of the teachers in primary Schools under the Office of Education Region 11, and 3) validate the effectiveness of the developed model. This research employed a Research and Development approach which was performed in three phases and seven stages. The samples, using simple random sampling technique, consisted 370 teachers in 370 primary schools under the Office of Education Region 11 in the academic year 2559, were asked to identify the level of teacher leadership. The samples for using the developed model were 20 primary school teachers from the schools in the school network 5 under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational 2. The research instruments were 1) the structure interview form to study the components of teacher leadership from the experts, and 2) the questionnaires used to seek for the levels of teacher leadership, and 3) the teacher assessment form. Data were analyzed using basic statistical methods, percentage, means and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The components of teacher leadership in primary schools under Office of Education Region 11 consisted 6 major components: 1) Teachership comprised 3 sub-components and 17 indicators; 2) Developing school curriculum comprised 5 sub-components and 20 indicators; 3) Expertise in teaching comprised 5 sub-components and 22 indicators; 4) Self Development comprised 3 sub-components and 13 indicators; 5) Teamwork comprised 4 sub-components and 21 indicators; and 6) Being Change Agent comprised 3 sub-components and 11 indicators.
2. A model for developing teacher leadership in primary schools under the Office of Education Region 11 included 5 components; 1) Principles 2) Objective 3) Content 4) Developing processes and 5) Measurement and Evaluation.
3. It was found that the developed model for developing teacher leadership, as a whole, were suitable at the highest level (X̅= 4.68). The teachers who involved in the development using the developed model for developing teacher leadership had a progress in developing their teacher leadership at 72.97 percent.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 193.39 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 368.91 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 43.31 KB |
4 | บทคัดย่อ | 82.35 KB |
5 | สารบัญ | 102.88 KB |
6 | บทที่ 1 | 148.16 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,174.67 KB |
8 | บทที่ 3 | 194.78 KB |
9 | บทที่ 4 | 476.12 KB |
10 | บทที่ 5 | 251.63 KB |
11 | บรรณานุกรม | 154.75 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 88.03 KB |
13 | ภาคผนวก ก | 150.48 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 905.81 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 1,071.42 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 31,304.75 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 54.66 KB |