สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของหนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมด้านความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย โรงเรียนบ้านโนนอุดม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบจริยธรรมด้านความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย ที่ได้รับการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรม ด้านความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย ก่อนและหลังการเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยที่มีต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ด้วยหนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมด้านความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 2 โรงเรียนบ้านโนนอุดม อำเภอวานรนิวาส สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 17 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง การวิจัยนี้ใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ หนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมด้านความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบประเมินจริยธรรมด้านความมีวินัย และแบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Samples)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของหนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมด้านความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเท่ากับ 89.56/82.68 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. จริยธรรมด้านความมีวินัยของเด็กปฐมวัย ที่ได้รับจากการจัดประสบการณ์เรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมด้านความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัย หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้โดยใช้หนังสือนิทานคุณธรรมเพื่อส่งเสริมจริยธรรมด้านความมีวินัยสำหรับเด็กปฐมวัยอยู่ในพึงพอใจระดับมาก
This research aimed to 1) develop the moral story books to improve the moral discipline of Early Childhood students at Ban Non-Udom School under the Office of Sakon Nakhon Educational Service Area 3 based on the efficiency criterion of 80/80; 2) compare the moral discipline of Early Childhood students before and after learning through the developed moral story books; and 3) examine the satisfaction of Early Childhood students toward the learning experience provision in order to improve moral discipline. The samples, obtained through the purposive sampling, were 17 Early Childhood students studying at Ban Non-Udom, Wanon Niwat District, Sakon Nakhon Educational Service Area 3 in the first semester of 2016 academic year. The research design was One Group Pretest-Posttest Design. The instruments used in this research were the developed moral story books, lesson plans, the behavior assessment on moral discipline, and students’ satisfaction questionnaires. The data analyzed by using percentage, mean, standard deviation, and t-test (Dependent Samples).
The results were as follows:
1. The efficiency of the developed moral story books to improve moral discipline of Early Childhood students was at 87.62/86.67, which was higher than the criterion of 80/80.
2. The posttest mean scores of students’ moral discipline were higher than those of the pretest at the .01 level of statistical significance.
3. The satisfaction of Early Children students toward the learning experience provision by using the developed moral story books was at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 96.04 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 335.42 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 39.39 KB |
4 | บทคัดย่อ | 57.92 KB |
5 | สารบัญ | 66.14 KB |
6 | บทที่ 1 | 117.40 KB |
7 | บทที่ 2 | 553.74 KB |
8 | บทที่ 3 | 158.46 KB |
9 | บทที่ 4 | 382.22 KB |
10 | บทที่ 5 | 92.48 KB |
11 | บรรณานุกรม | 105.20 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 635.21 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 235.04 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 80.25 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 31,219.15 KB |
16 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 39.23 KB |