ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การสอนโดยใช้คู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือที่มีผลต่อความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนาวาราชกิจพิทยานุสรณ์
Teaching through the Use of a Handbook for Learning by KWL Plus Technique in Association with the Cooperative Learning Approach affecting Responsibility, Analytical Thinking, and Learning Achievement of Tenth Grade Students at Nava Ratchakit Phithayanusorn School
ผู้จัดทำ
สคณพัฒน์ ศรีมณีรัตน์ รหัส 55421231130 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์, ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ที่มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ดัชนีประสิทธิผล เปรียบเทียบความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการสอนด้วยคู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และเปรียบเทียบความรับผิดชอบ การคิดวิเคราะห์ และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่างกัน เมื่อได้รับการสอนด้วยคู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนนาวาราชกิจพิทยานุสรณ์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 41 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ 2) แบบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับความรับผิดชอบ 3) แบบทดสอบวัดการคิดวิเคราะห์ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) สถิติทดสอบค่าที (t test for Dependent Samples) วิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว (One-way ANCOVA) และวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมพหุคูณทางเดียว
(
One-way MANCOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. คู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ มีค่าดัชนีประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) ด้านความรับผิดชอบมีค่าเท่ากับ .60 ด้านการคิดวิเคราะห์มีค่าเท่ากับ .53 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าเท่ากับ .66 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ .50 ที่กำหนดไว้

2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ มีความรับผิดชอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ มีการคิดวิเคราะห์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สูง ปานกลาง และต่ำ เมื่อได้รับการสอนตามคู่มือการเรียนแบบ KWL Plus ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือ พบว่ามีความรับผิดชอบไม่แตกต่างกัน แต่พบว่าการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยที่นักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์สูงจะมีการคิดวิเคราะห์สูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปานกลาง และต่ำ และนักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ สูงจะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ ปานกลาง และต่ำ

Abstract

The purposes of this study were: 1) to develop a handbook for learning by KWL Plus in association with the cooperative learning approach which meets the criterion of the anticipated effectiveness index; to compare responsibility, analytical thinking and learning achievement of students who were taught using a handbook for learning by KWL Plus technique in association with the cooperative learning approach between before and after learning; and to compare responsibility, analytical thinking and learning achievement of students with a difference in their achievement motivation as being taught using the handbook for learning by KWL Plus technique in association with the cooperative learning. A sample derived from selection by cluster random sampling was 41 tenth grade students of 1 classroom who were enrolled in the second semester of academic year 2015 at Nava Ratchakit Phithayanusorn School under the Office of Secondary Education Service Area 22. The instruments used comprised: 1) a handbook for learning by KWL Plus technique in association with the cooperative learning approach, 2) a form for measurement of responsibility, 3) a test of analytical thinking, 4) a test of learning achievement. Statistics used in data analysis included mean, standard deviation, effectiveness index, t-test for dependent samples, one-way ANCOVA, and one-way MANCOVA.

The findings were as follows:

1. The handbook for learning by KWL Plus technique in association with the cooperative learning had effectiveness indexes in the aspects of responsibility, analytical thinking, and learning achievement of .60, .53 and .6 respectively, which were higher than the criterion set at .50.

2. The tenth grade students who were taught using the handbook for learning by KWL Plus technique in association with the cooperative learning approach had significantly higher responsibility after learning than that responsibility before learning at the .05 level.

3. The tenth grade students who were taught using the handbook for learning by KWL Plus technique in association with the cooperative learning approach had significantly higher analytical thinking after learning than analytical thinking before learning at the .05 level.

4. The tenth grade students who were taught using the manual for learning by KWL Plus technique in association with the cooperative learning approach had significantly higher learning achievement after learning than learning achievement before learning at the .05 level.

5. The tenth grade students with high, medium and low levels of achievement motivation after being taught using the handbook for learning by KWS Plus technique in association with the cooperative learning approach were found that they had no difference in their responsibility but had a significant difference in analytical thinking and learning achievement at the .05 level. The students with high achievement motivation had higher analytical thinking than those students with medium and low achievement motivation. The students with high achievement motivation had higher learning achievement than those students with medium and low achievement motivation.

คำสำคัญ
คู่มือการเรียน, การเรียนแบบ KWL Plus, การเรียนแบบร่วมมือ, ความรับผิดชอบการคิดวิเคราะห์, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, ภาษาอังกฤษ, แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 112.04 KB
2 ประกาศคุณูปการ 68.79 KB
3 บทคัดย่อ 119.05 KB
4 สารบัญ 197.79 KB
5 บทที่ 1 197.74 KB
6 บทที่ 2 1,096.54 KB
7 บทที่ 3 734.80 KB
8 บทที่ 4 365.76 KB
9 บทที่ 5 201.85 KB
10 บรรณานุกรม 189.80 KB
11 ภาคผนวก ก 229.71 KB
12 ภาคผนวก ข 1,095.46 KB
13 ภาคผนวก ค 934.08 KB
14 ภาคผนวก ง 1,128.82 KB
15 ภาคผนวก จ 117.95 KB
16 ภาคผนวก ฉ 378.15 KB
17 ภาคผนวก ช 633.48 KB
18 ภาคผนวก ซ 210.03 KB
19 ภาคผนวก ฌ 219.29 KB
20 ประวัติย่อของผู้วิจัย 83.13 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 ธันวาคม 2560 - 13:32:56
View 1065 ครั้ง


^