สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อสร้างยุทธศาสตร์ที่เหมาะสมในการพัฒนาความรู้และความสามารถของบุคลากรในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร จำนวน 21 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ดำเนินการวิจัยโดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1) ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ 2) จัดทำแผนยุทธศาสตร์ ซึ่งใช้ระยะเวลาการอบรม 2 วัน ข้อมูลในการวิจัยมีทั้งข้อมูลเชิงปริมาณและข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลหลายแบบ ได้แก่ การตรวจสอบเอกสาร การสัมภาษณ์ การใช้แบบทดสอบความรู้ การจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ และแบบประเมินความสามารถในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ มีการวิเคราะห์ใน 2 ลักษณะ คือ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ โดยใช้สถิติ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพโดยใช้พรรณนาเชิงเหตุและผล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาสภาพปัญหา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสานวิทยาเขตสกลนคร พบว่า มีการจัดทำแผนยุทธศาสตร์, บุคลากรมีความตั้งใจที่จะจัดทำแผนยุทธศาสตร์, หัวหน้าหน่วยงานให้การสนับสนุนในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ อยู่ในระดับมาก ถือเป็นจุดแข็ง และพิจารณาจากความถี่สูงสุดเกินครึ่งของผู้ตอบที่คิดว่ามีปัญหา/ร้อยละ บุคลากรไม่มีความรู้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ มีปัญหา 12 คน คิดเป็นร้อยละ 57.10 และ บุคลากรไม่มีทักษะความสามารถในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ มีปัญหา 13 คน คิดเป็นร้อยละ 61.90 ถือเป็นจุดอ่อน ตรงกับยุทธศาสตร์ที่มีความจำเป็นที่ต้องพัฒนาความรู้และความสามารถของบุคลากร ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
2. ด้านความรู้เกี่ยวกับการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ก่อนการอบรม บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร มีความรู้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์อยู่ในระดับปานกลางได้คะแนนรวม 50.72 และหลังการอบรม บุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร มีความรู้ในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์เพิ่มขึ้น เป็นร้อยละ 75.24 อยู่ในระดับดี โดยความรู้หลังอบรมมีความแตกต่างกับความรู้ที่มีอยู่เดิมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ด้านความสามารถของบุคลากรในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร หลังอบรม พบว่า ความสามารถในการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ของบุคลากรมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร ผลรวมอยู่ในระดับดี โดยมีค่าเฉลี่ย 2.67 คะแนน จากคะแนนเต็ม 3
The purposes of this study was to create an appropriate strategy in development of knowledge and capability of the personnel in making a strategic plan, Rajamangala University of Technology Isan, SakonNakhon Campus. The sample used in the study was personnel of Rajamangala University of Technology Isan, SakonNakhon Campus totaling 21 persons who were purposively selected. The research procedure comprised these steps: 1) providing knowledge of making a strategic plan, 2) making a strategic plan under a training session of 2 days. The data in research included those both quantitative and qualitative. Several methods were employed for data collection: examination of documents, interview, using a knowledge test, workshop, and assessment of capability to make a strategic plan. Analyses were done in two types: quantitative data analysis using statistics of frequency, percentage, mean, and standard deviation, and qualitative data analysis using logical description.
The findings revealed as follows:
1. The results of investigating the problem state showed that Rajamangala University of Technology Isan, Sakon Nakhon Campus had made a strategic plan. The personnel had intension to make a strategic plan. The high level of support to make a strategic plan from the work units’ head was considered strength. More than half a number of respondents in percentage showed that 12 people or 57.10% lacked knowledge in making a strategic plan; while 13 people or 61.90% had no skill in making it. Thus, it was necessary to develop personnel’s knowledge and capability in making the University’s strategic plans.
2. Concerning the knowledge about making a strategic plan before getting trained, the personnel of Rajamangala University of Technology Isan, Sakon Nakhon Campus had knowledge in making a strategic plan at moderate level with an average percentage of 50.72 of the full score, while after getting trained their average percentage of the full score was 75.24 out of 100 which was at high level. There was a significant difference of knowledge between before and after getting trained at the .01 level.
3. Concerning the capability of personnel, Rajamangala University of Technology Isan, Sakon Nakhon Campus after getting trained, it was found that their capability in making a strategic plan was at high level with an average score of 2.67 of the full score of 3.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 82.86 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 64.90 KB |
3 | บทคัดย่อ | 96.66 KB |
4 | สารบัญ | 239.70 KB |
5 | บทที่ 1 | 316.28 KB |
6 | บทที่ 2 | 603.63 KB |
7 | บทที่ 3 | 430.89 KB |
8 | บทที่ 4 | 519.58 KB |
9 | บทที่ 5 | 250.72 KB |
10 | บรรณานุกรม | 288.91 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 312.45 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 310.02 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 220.49 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 521.46 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 801.90 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 937.36 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 220.89 KB |