ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ สำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
Development of a Training Curriculum to Enhance the Research Culture in Learning Management for Primary School Teachers Under Buengkan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
อรรถกร ชัยมูล รหัส 55532227102 ระดับ ป.เอก ภาคปกติ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา วิจัยหลักสูตรและการสอน
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สำราญ กำจัดภัย, ดร.อุษา ปราบหงษ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบและตัวชี้วัดของวัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา 2) ศึกษาสภาพความคาดหวังและความต้องการจำเป็นในการเสริมสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ของครูโรงเรียนประถมศึกษา 3) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้สำหรับครูโรงเรียนประถมศึกษา และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาสภาพ และความคาดหวังเกี่ยวกับวัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 327 คน ได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยตารางเครจซี่และมอร์แกน และกลุ่มตัวอย่างในการทดลองใช้หลักสูตร คือ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษาในกลุ่มโรงเรียนโนนสว่างโป่งเปือยไคสี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 14 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามสภาพและความคาดหวังเกี่ยวกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ หลักสูตรฝึกอบรม คู่มือการใช้หลักสูตร แบบทดสอบความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับความเชื่อที่มีต่อการวิจัย แบบประเมินตนเองเกี่ยวกับการใช้การวิจัยในการจัดการเรียนรู้ และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบ Wilcoxon signed-ranks test

ผลการวิจัยพบว่า

1. วัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้มี 3 องค์ประกอบ 45 ตัวชี้วัด ดังนี้ องค์ประกอบที่ 1 ความรู้เกี่ยวกับการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ มี 13 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ความเชื่อที่มีต่อการวิจัย มี 18 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 การใช้การวิจัยในการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ มี 14 ตัวชี้วัด

2. ผลการศึกษาสภาพ ความคาดหวัง และความต้องการจำเป็น พบว่า สภาพโดยรวมอยู่ในระดับน้อย (ar{x}= 1.81, S.D.=0.17) ความคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (ar{x}= 4.55, S.D.=0.09) และความต้องการจำเป็นทุกองค์ประกอบ,ทุกตัวชี้วัดมีค่า PNImodified เกิน 0.303. หลักสูตรฝึกอบรมที่พัฒนาขึ้น มี 8 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นมา 2) หลักการ 3) จุดมุ่งหมาย 4) องค์ประกอบวัฒนธรรมการวิจัย 5) โครงสร้างเนื้อหา 6) กิจกรรม 7) สื่อและแหล่งเรียนรู้ และ 8) การวัดและประเมินผล ส่วนโครงสร้างเนื้อหา มี 7 หน่วย ได้แก่ หน่วยที่ 1 ปฐมนิเทศ “ครูผู้มีวัฒนธรรมการวิจัยเป็นอย่างไร” หน่วยที่ 2 การวิจัยกับการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 3 เริ่มต้นอย่างไรกับการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 4 ดำเนินการอย่างไรให้การวิจัยประสบความสำเร็จ หน่วยที่ 5 ร้อยเรียงและนำเสนอความสำเร็จของการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ หน่วยที่ 6 นำความรู้สู่ปฏิบัติการวิจัยในสถานการณ์จริง และหน่วยที่ 7 การสัมมนาประเมินผลและสรุปผลการฝึกอบรม โดยมีการอบรมที่ห้องอบรม 3 วัน (18 ชั่วโมง) และปฏิบัติงานวิจัยที่โรงเรียน 4 สัปดาห์

4. ผลการทดลองใช้หลักสูตร พบว่า

4.1 วัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ ด้านความรู้เกี่ยวกับการวิจัยของครู หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.2 วัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ ด้านความเชื่อที่มีต่อการวิจัยของครู หลังการอบรมสูงกว่าก่อนการอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4.3 วัฒนธรรมการวิจัยในการจัดการเรียนรู้ ด้านการใช้การวิจัยในการจัดการเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอของครู หลังการอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (ar{x}= 4.54, S.D.=0.18) และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ 3.51

4.4 ความพึงพอใจของครูต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด (ar{x}= 4.55, S.D.=0.08)

Abstract

The purposes of this research were: 1) to study the components and indicators of the research culture in the learning management of primary school teachers, 2) to study the state, expectations and needs of enhancing the research culture in the learning management of primary school teachers, 3) to develop

a training curriculum to enhance the research culture in the learning management of primary school teachers, and 4) to study the results of experiment in using the developed curriculum. A sample used in the study of state and expectations of the research culture in the learning management was 327 primary school teachers under the Office of Bueng Kan Primary Education Service Area in academic year 2017, who were selected by multi-stage random sampling and whose size was determined using Krejcie and Morgan Table. The sample used in experiment of using the curriculum was 14 primary school teachers in the Non Sawang Pong Pueai Khaisi School Group under the Office of Bueng Kan Primary Education Service Area in academic year 2017, which were derived from purposive selection on a voluntary basis. The instruments used in the study were a questionnaire of state and expectations of the research culture, a curriculum, a manual for the use of the curriculum, a test of the research culture in the management of learning on research knowledge, an assessment form of beliefs about research, an assessment form of the use of research in learning management, and an assessment form of teachers’ satisfaction with the curriculum. Statistics used in data analysis were percentage, mean, standard deviation, and Wilcoxon signed-ranks test.

Findings of the study were as follows:

1. The research culture in the learning management had 3 components and 45 indicators. Component 1 – knowledge about research in the learning management comprising 13 indicators; component 2 – beliefs about research comprising 18 indicators; component 3 – use of research in the management of learning regularly comprising 14 indicators.

2. The results of studying the state, expectations and needs showed that the overall state was at low level (ar{x}= 1.81, S.D. = 0.17), the overall expectation was at the highest level (ar{x}= 4.55, S.D. = 0.09), and the needs of all the components had the values of PNImodified higher than 0.30.

3. The developed training curriculum had 8 components: 1) background, 2) principles, 3) objectives, 4) research culture components, 5) content structure, 6) activities, 7) media and sources of learning, and 8) measurement and evaluation. The content structure consisted of 7 units. Unit 1 – orientation of ‘how are the teachers who have a culture of research’; unit 2 – research and management of learning; unit 3 – how to get started with research in learning management; unit 4 – how to make research successful; unit 5 – composing and presenting the success of research in learning management; unit 6 – putting knowledge into research practice in real situations; unit 7 – seminar on evaluation and conclusion of training by training at the 3-day training room (18 hours) and practicing doing research at the school for 4 weeks.

4. The results of experiment in using the curriculum found the following:

4.1 The research culture on teacher’s knowledge after the training was significantly higher than that before the training at the .05 level.

4.2 The research culture on beliefs about teacher’s research after the training was significantly higher than that before the training at the .05 level.

4.3 The research culture on the use of research in the regular learning management of teachers after the training was at the highest level (ar{x}= 4.54, S.D. = 0.18) and higher than the criterion set at 3.51.

4.4 The teachers’ satisfaction with the use of the training curriculum was at the highest level (ar{x}= 4.55, S.D. = 0.08).

คำสำคัญ
หลักสูตรฝึกอบรม, วัฒนธรรมการวิจัย, การจัดการเรียนรู้
Keywords
Training Curriculum, Research Culture, Learning Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 169.04 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 128.59 KB
3 ประกาศคุณูปการ 76.92 KB
4 บทคัดย่อ 144.19 KB
5 สารบัญ 200.93 KB
6 บทที่ 1 307.60 KB
7 บทที่ 2 1,431.42 KB
8 บทที่ 3 458.21 KB
9 บทที่ 4 863.20 KB
10 บทที่ 5 240.84 KB
11 บรรณานุกรม 299.71 KB
12 ภาคผนวก ก 143.08 KB
13 ภาคผนวก ข 3,764.23 KB
14 ภาคผนวก ค 563.47 KB
15 ภาคผนวก ง 1,925.04 KB
16 ภาคผนวก จ 1,047.38 KB
17 ภาคผนวก ฉ 518.46 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 109.48 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 มีนาคม 2562 - 16:19:58
View 2113 ครั้ง


^