สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยม สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ตามรูปแบบที่พัฒนาขึ้น การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษารูปแบบ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ทรงคุณวุฒิ และการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาปีการศึกษา 2556 ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 262 คนใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การร่างและสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย การร่างรูปแบบ ตรวจสอบร่างรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ การสร้างและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 3 การทดลองใช้รูปแบบในสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 จำนวน 10 โรงเรียน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษามี 5 องค์ประกอบ คือ การกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายการเรียนรู้ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การพัฒนานักเรียน การพัฒนาครู และการจัดบรรยากาศในสถานศึกษา ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายการเรียนรู้ ด้านการจัดบรรยากาศของสถานศึกษา ด้านการพัฒนาครู ด้านพัฒนาหลักสูตรและการสอน และด้านการพัฒนานักเรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือด้านการกำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจและเป้าหมายการเรียนรู้ และด้านมีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือด้านการพัฒนานักเรียน
2. รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ เนื้อหา กระบวนการพัฒนา และการวัดและประเมินผล ดำเนินการเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การอบรมเชิงปฏิบัติการ 2 วัน ระยะที่ 2 การศึกษาดูงาน โดยศึกษาดูงานสถานศึกษามัธยมศึกษาดีเด่น 1 โรงเรียน ระยะที่ 3 การฝึกปฏิบัติจริง ดำเนินการสัปดาห์ละ 3 ครั้ง โดยใช้คู่มือการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา จำนวน 5 ชุด ประกอบการฝึกปฏิบัติจริง ปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้
3. ผลการใช้รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษา พบว่าพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาระดับมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคะวันออกเฉียงเหนือ ก่อนการทดลองใช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมากและหลังการทดลองใช้รูปแบบอยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were to 1) examine the components of instructional leadership of secondary school administrators under the Office of the Basic Education Commission in the Northeast Thailand, 2) construct and develop a model of instructional leadership, 3) examine the effectiveness of a developed model. This Research and Development (R&D) was divided into three phases: Phase I Model Investigation comprised document inquiries, scholars’ in-depth interviews, and a survey. The samples were 262 secondary school administrators from the Northeast Thailand in the academic year 2014. A 5-point rating scale questionnaire was administered. The statistics used in analyzing the data were frequency, percentage, mean, and standard deviation; Phase II comprised drafting and constructing a model through model drafting, further refinement and confirmation by experts. Phase III was related to implementing the developed model at ten sampling secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21. Data were analyzed through mean, and standard deviation.
The findings were as follows:
1. The instructional leadership of administrators at secondary schools comprised five components: Creation of vision, mission and learning goals, instruction and curriculum development, student development, teacher development, and school atmosphere management. The instructional leadership of administrators, as a whole, was at a high level, with mean scores ranking from high to low: creation of vision, mission and learning goals, school atmosphere management, teacher development, instruction and curriculum development, and student development. The highest mean scores fell into the following aspects: creation of vision, mission and learning goals, whilst the lowest was student development.
2. The developed model for instructional leadership was composed of principles, objectives, contents, development process, and measurement and development. The development process involved four phases: Phase I: A Two-Day training workshop, Phase II: An outstanding secondary school visit, Phase III: A 3-times-per-week training in actual practice setting by applying a five-volume set of handbooks of instructional leadership development for secondary school administrators. The activities involved in situation practice and sharing and exchanging learning experiences.
3. The effects after the implementation of the developed model of instructional leadership for secondary school administrators revealed that the mean scores from the post-implementation period was at a high level, compared to those of the pre-implementation period, which was at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 72.80 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 36.58 KB |
3 | บทคัดย่อ | 76.50 KB |
4 | สารบัญ | 110.74 KB |
5 | บทที่ 1 | 202.14 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,156.29 KB |
7 | บทที่ 3 | 190.81 KB |
8 | บทที่ 4 | 1,280.06 KB |
9 | บทที่ 5 | 201.55 KB |
10 | บรรณานุกรม | 222.49 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 102.01 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 515.94 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 106.26 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 109.60 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 190.64 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 219.69 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 50.80 KB |