ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สภาพ ปัญหา และผลสำเร็จของการจัดการความรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
States, Problems and Achievements of Knowledge Management in the schools under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้จัดทำ
อังคณารักษ์ บุตรสุวรรณ์ รหัส 56421229117 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบ สภาพ ปัญหา และผลสำเร็จของการจัดการความรู้ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานการจัดการความรู้ในโรงเรียนและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 369 คน ได้มาโดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครจซี่และมอร์แกน เครื่องมือที่ใช้ ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราประเมินค่า ซึ่งมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ F–test (One-Way ANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การจัดการความรู้ในโรงเรียน มีสภาพ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาโดยภาพรวม อยู่ในระดับปานกลาง และผลสำเร็จ โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก 2. การจัดการความรู้ในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบงานการจัดการความรู้ในโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพในการดำรงตำแหน่ง มีสภาพโดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหาโดยรวม ไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสำเร็จ โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

3. การจัดการความรู้ในโรงเรียนตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างจำแนกตามประสบการณ์ในการดำรงตำแหน่ง มีสภาพ โดยภาพรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน ส่วนปัญหา โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบ่งชี้ความรู้และด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสำเร็จ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเข้าถึงความรู้ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. การจัดการความรู้ในโรงเรียนตามความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่ปฏิบัติงานจำแนกตามขนาดของโรงเรียน มีสภาพ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการบ่งชี้ความรู้ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนปัญหาโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการเข้าถึงความรู้ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลสำเร็จ โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. แนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาการจัดการความรู้ในโรงเรียน ที่มีสภาพและผลสำเร็จต่ำกว่าค่าเฉลี่ยรวม และมีปัญหาสูงกว่าค่าเฉลี่ยรวม โดยมีทั้งหมด 7 ด้าน คือ 1) ด้านการบ่งชี้ความรู้ 2) ด้านการสร้างและแสวงหาความรู้ 3) ด้านการจัดการความรู้ให้เป็นระบบ 4) ด้านการประมวลและกลั่นกรองความรู้ 5) ด้านการเข้าถึงความรู้ 6) ด้านการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้ และ 7) ด้านการเรียนรู้

Abstract

The purposes of this research were to investigate and compare states, problems and achievements of knowledge management in the schools under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. Samples used in the study consisted of 369 school administrators, teachers in charge of knowledge management and teachers under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1 - a total of 369 using Krejcie & Morgan table. The tool used was a checklist questionnaire with reliability of 0.98. Statistics used for data analysis were percentage, mean, standard deviation, F-test, (One-Way ANOVA).

The research findings were as follows:

1. The states of knowledge management in the schools, as a whole, were at the high level. The problems, in general, were at the moderate level. As a whole, achievements were at the high level.

2. The knowledge management in the schools in the opinions of school administrators, teachers in charge of knowledge management and teachers classified by position attained, in general and in particular, was not significantly different. In general, the problems were not different. When each aspect was considered, it was found that the systematic knowledge management was at the .01 level of significance. The achievements, as a whole and in each aspect, showed no significant differences.

3. The knowledge management in the schools in the perception of the samples classified by positioned attained obtained the states, in general and in particular, showed no significant differences. The problems, as a whole and in each aspect, showed no significant differences. When separately considered, it was determined that the aspects on indication of knowledge and systematic knowledge management were significantly different at the .05 level. The overall achievements, in general and in particular, showed no significant differences. When each aspect was considered, it was found that the aspect on knowledge access differed significantly at the .01 level.

4. The knowledge management in the schools as perceived by the samples classified by school size obtained no significant differences as a whole. When separately considered, it was found that the indication of knowledge differed significantly at the .05 level. As a whole, the problems were not significantly different. When each aspect was considered, it was found that the knowledge access was significantly different at the .05 level. In general, the achievements showed no significant differences. When separately considered, it was determined that the aspect on knowledge exchange differed significantly at the .05 level. The aspect on the building and searching for knowledge showed a difference at the .01 level of significance.

5. Some guidelines on the knowledge management development in the schools Condition and results achieved below average overall. And a higher than average as well 7 aspects as follows: 1) knowledge identification, 2) knowledge creation and acquisition 3) knowledge organization, 4) knowledge codification and refinement, 5) knowledge access, 6) knowledge sharing, and 7) learning

คำสำคัญ
ความรู้, การจัดการความรู้
Keywords
Knowledge, Knowledge Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 83.19 KB
2 ประกาศคุณูปการ 43.80 KB
3 บทคัดย่อ 88.49 KB
4 สารบัญ 191.34 KB
5 บทที่ 1 202.29 KB
6 บทที่ 2 1,053.86 KB
7 บทที่ 3 300.93 KB
8 บทที่ 4 1,129.69 KB
9 บทที่ 5 283.85 KB
10 บรรณานุกรม 153.16 KB
11 ภาคผนวก ก 96.03 KB
12 ภาคผนวก ข 168.06 KB
13 ภาคผนวก ค 329.16 KB
14 ภาคผนวก ง 278.53 KB
15 ภาคผนวก จ 166.10 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 58.54 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 เมษายน 2562 - 11:56:45
View 526 ครั้ง


^