ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7 โรงเรียนมัธยมตอนปลายบ้านมะนีลาด เมืองไชยบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Enhancing Public Mind Based on Ithaipath 4 Principle of the 7th Grade Students in Maneelad upper Secondary School, Saibulee District, Savannakhet Province, Lao People’s Democratic Republic
ผู้จัดทำ
บุญกอง แก้วมะนีวง รหัส 56422319120 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (ศศ.ม.) สาขาวิชา ยุทธศาสตร์การพัฒนา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. พุฑฒจักร สิทธิ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาความต้องการและแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 2) การพัฒนาการเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 3) การประเมินการเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 และ 4) การปรับปรุงและเผยแพร่การเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7 โรงเรียนมัธยมตอนปลายบ้านมะนีลาด เมืองไชยบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มเป้าหมาย 50 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพปัญหาเกี่ยวกับการเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7 พบว่า ปัญหาส่วนใหญ่จะมีเวลาว่างไม่ตรงกัน การแก้ไขควรทำในคาบกิจกรรมที่มีการรวมตัวกันในสัปดาห์นั้นๆ ไม่รู้และเข้าใจหลักอิทธิบาท 4 ความต้องการเกี่ยวกับการเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7 พบว่า มีพฤติกรรมแสดงออกถึงการดูแลเอาใจใส่ช่วยเหลือหรือการอาสาทำประโยชน์เพื่อส่วนรวม เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานภาครัฐ ได้แก่ การปลูกต้นไม้ การซ่อมแซมโต๊ะ เก้าอี้ที่ชำรุดและการดูแลความสะอาดโรงเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาและตัวแทนจากองค์การศาสนา ได้แก่ การดูแลความสะอาดวัด ชุมชนและโรงเรียน และการอาสาช่วยเหลือผู้อื่น และแนวทางการเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท ได้แก่ 1) คู่มือในการพัฒนาจิตสาธารณะ 2) การระดมสมองและ 3) การประชุมเชิงปฏิบัติการ

2. การพัฒนาเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7 มี 3 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมจิตสาธารณะเพื่อนช่วยเพื่อน 2) กิจกรรมเยาวชนรุ่นใหม่ใส่ใจสิ่งแวดล้อม และ 3) กิจกรรมจิตสาธารณะการดูแลความสะอาดชุมชนและโรงเรียน ซึ่งมีองค์ประกอบของกิจกรรม ดังนี้ ประกอบด้วย1) ชื่อกิจกรรม 2) หลักการและเหตุผล 3) วัตถุประสงค์ของกิจกรรม 4) ตัวชี้วัด 5) กลุ่มเป้าหมาย 6) กระบวนการของกิจกรรม และ 7) การวัดและประเมินผล

3. ผลการประเมินการเสริมสร้างจิตสาธารณะตามหลักอิทธิบาท 4 ของนักเรียนมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 7 โรงเรียนมัธยมตอนปลายบ้านมะนีลาด เมืองไชยบุลี แขวงสะหวันนะเขต สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวที่พัฒนาขึ้น พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅ = 3.90)

 

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate the problem state and need to enhance the public mind according to the ‘4 Paths of Accomplishment’ principle (4-Iddhipada), 2) to create guidelines for enhancing the public mind according to the 4-Iddhipada principle, and 3) to assess guidelines for enhancing the public mind of the 7th year secondary students at Maneelad Upper Secondary School, Saibulee district, Savannakhet province, Lao People’s Democratic Republic according to the 4-Iddhipada principle. The target group comprised 50 people. The instrument used in data collection was a structured interview guide. Statistics used to analyze data were frequency, percentage, mean and standard deviation.

The findings disclosed as follows:

1. The problem state of the public mind according to the 4-Iddhipada principle was found that most of the respondents knew and understood the words ‘being those who have the public mind’ because they had done community volunteer work, such as growing trees on National Day, community clean up, and doing activity inside the temple. The public mind has been derived from watching television, government information, self-consciousness and having been cultivated since the grandparents. The people who needed the public mind according to the principle of 

4- Iddhipada were: 1) Officials from government agencies and students. The activities they needed for achieving the public mind were growing trees, repairing desks and chairs, and school clean up. And 2) school board members, school administrators and representatives of religious organizations. The activities they needed for achieving the public mind were school, temple and community clean up and volunteering to help others.

2. The results of enhancing the public mind according to the 4-Iddhipada principle through the workshop and brain-storming showed the priority of the projects and their feasibility in school. The meeting attendees made a conclusion together that the guidelines for enhancing the public mind according to the 4-Iddhipada principle were: demonstrating, holding training, making a field trip, producing a development manual, and studying from the model. The guidelines included 3 projects: 1) the friends-help-friends public mind project, 2) the new generation of youth cares about the environment project, and 3) the school and community clean up service mind project. The components of project consisted of: 1) the title of project, 2) rationale, 3) objectives, 4) procedure and activities, and 5) measurement and evaluation.

3. The result of assessing the developed guidelines for enhancing the public mind according to the 4-Iddhipada principle among the 7th year secondary students at Maneelad Upper Secondary School, Saibulee district, Savannakhet province. Lao People’s Democratic Republic showed that appropriateness of the guidelines as a whole was at high level (mean = 3.90).

คำสำคัญ
การเสริมสร้างจิตสาธารณะ, หลักอิทธิบาท 4
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 129.68 KB
2 ประกาศคุณูปการ 75.75 KB
3 บทคัดย่อ 141.30 KB
4 สารบัญ 117.57 KB
5 บทที่ 1 203.75 KB
6 บทที่ 2 847.67 KB
7 บทที่ 3 178.17 KB
8 บทที่ 4 328.38 KB
9 บทที่ 5 136.06 KB
10 บรรณานุกรม 182.14 KB
11 ภาคผนวก ก 218.11 KB
12 ภาคผนวก ข 231.24 KB
13 ภาคผนวก ค 79.22 KB
14 ภาคผนวก ง 131.45 KB
15 ภาคผนวก จ 573.76 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 79.59 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 ธันวาคม 2560 - 11:28:49
View 533 ครั้ง


^