สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล 2) ตรวจสอบความสอดคล้องกลมกลืนของโมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมของปัจจัย เชิงสาเหตุของการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานปีการศึกษา 2558 จำนวน 390 โรงเรียนกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการแบบบันทึก แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถามโดยมีความเชื่อมั่นเท่ากับ .98 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิงโดยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยเชิงสาเหตุของการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปรได้แก่ 1) สมรรถนะขององค์การ 2) ภาวะผู้นำทางวิชาการของครูและตัวแปรแฝงภายใน 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) การจัดการเรียนรู้ 2) บรรยากาศของโรงเรียน และ 3) การจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล
2. โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงสาเหตุของการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีฃความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไคสแควร์มีค่าเท่ากับ 42.25 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.50, df = 43) ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) = 0.00 ค่าดัชนีวัดความกลมกลืน (GFI) = 0.99 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) = 0.98
3. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางตรง พบว่า มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ปัจจัย คือ สมรรถนะองค์การ (K1) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 1.19 รองลงมา คือ การจัดกระบวนการเรียนรู้ (E1) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.25 บรรยากาศของโรงเรียน (E2) และภาวะผู้นำทางวิชาการของครู (K2) ซึ่งมีค่าอิทธิพลเท่ากับ -0.30, -0.30 ตามลำดับ
4. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลทางอ้อม พบว่า มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผล ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4 ปัจจัย คือ โดยภาพรวม พบว่า ปัจจัยด้านสมรรถนะองค์การ (K1) ส่งผ่านปัจจัยด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ (E1) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.33 นอกจากนี้ยังส่งผ่านปัจจัยด้านบรรยากาศของโรงเรียน (E2) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.80 ส่วนปัจจัยด้านภาวะผู้นำทางวิชาการของครู (K2) ส่งผลทางอ้อมต่อประสิทธิผลการศึกษาปฐมวัย (E3) ผ่านปัจจัยด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ (E1) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.36 นอกจากนี้ยังส่งผ่านปัจจัยด้านบรรยากาศของโรงเรียน (E2) มีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.04
5. ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลรวม พบว่า มีปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยที่มีประสิทธิผลในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า ปัจจัยด้านสมรรถนะองค์การ (K1) มีค่าอิทธิพลมากที่สุดเท่ากับ 1.19
The purposes of this research were to: 1) study causal factors of effective early childhood education management, 2) examine the concordance between the casual structural relationship model of effective early childhood education management and the empirical data, and 3) examine the direct, indirect and total influences of casual factors of effective early childhood education management. The samples, obtained through a multi-stage random sampling technique, comprised 390 schools under the Office of the Basic Education Commission in the 2015 academic year. Data collection tools consisted of written records, interview forms, and a set of questionnaires with the validity of .98. The collected data were analyzed using descriptive statistics. The inference statistics were performed through statistical software packages and LISREL program.
The findings were as follows:
1. The casual factors of effective early childhood education management involved two exogenous latent variables: 1) Organizational Competencies, and 2) Instructional Leadership of Teachers; and three endogenous latent variables: 1) Instructional Management, 2) School Atmosphere, and 3) Effective Early Childhood Education Management.
2. The casual structural relationship model of effective early childhood education management in schools was consistency with the empirical data. Model validation of the best fitted model provided the Chi squares = 42.25 showing no difference (p-value = 0.50, df = 43), the root mean square error of approximation (RMSEA) = 0.00, goodness-of-fit index (GFI) = 0.99, and adjusted-goodness–of-fit index (AGFI) = 0.98.
3. The four casual factors that influenced on only direct way toward effective early childhood education management in schools were: Organizational Competencies (K1) with influencing value of 1.19, followed by Instructional Management (E1) with influencing value of 0.25, School Atmosphere and Instructional leadership of Teaches with influencing value of -0.30 and -0.30 respectively.
4. The four casual factors influencing on only indirect way toward effective early childhood education management in schools under the Office of the Basic Education Commission as a whole were Organizational Competencies (K1) transferring through Instructional Management (E1) with influencing value of 0.33, and School Atmosphere (E2) with influencing value of 0.80. In addition, Instructional Leadership of Teachers (K2) had indirect effect toward Effectiveness of Early Childhood Education (E3) transferring through Instructional Management (E1) with influencing value of 0.36, and School Atmosphere (E2) with influencing value of 0.04.
5. The casual factor showing total effect toward effective early childhood education management in schools under the Office of the Basic Education Commission was Organizational Competencies (K1) with the highest level of influencing value of 1.19.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 123.83 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 426.26 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 103.44 KB |
4 | บทคัดย่อ | 195.78 KB |
5 | สารบัญ | 230.97 KB |
6 | บทที่ 1 | 377.20 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,653.34 KB |
8 | บทที่ 3 | 309.39 KB |
9 | บทที่ 4 | 963.33 KB |
10 | บทที่ 5 | 381.68 KB |
11 | บรรณานุกรม | 341.97 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 503.92 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 213.90 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 380.51 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 315.19 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 223.78 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 255.95 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 691.23 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 123.93 KB |