ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ
A Causal Relationship Model of Effectiveness of Student Affairs Administration at a Faculty Level in Rajabhat Universities
ผู้จัดทำ
สุมัทนา หาญสุริย์ รหัส 56620248118 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำ
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัตน์, รองศาสตราจารย์ ดร.สายันต์ บุญใบ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ 2) ตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และ 3) ศึกษาทิศทางและขนาดของปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ บุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ในหน่วยงานระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 200 คณะ ในแต่ละคณะของมหาวิทยาลัยประกอบด้วย คณบดี รองคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษาประจำคณะ เป็นผู้ตอบแบบสอบถาม รวมทั้งสิ้น 600 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรลวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติเชิงพรรณนาและสถิติอ้างอิง

ผลการวิจัยพบว่า

1. ปัจจัยเชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วยตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปรได้แก่ 1) สมรรถนะของคณะ 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร และตัวแปรแฝงภายใน 3 ตัวแปร ได้แก่ 1) การจัดกิจกรรมนักศึกษา 2) บรรยากาศของคณะ และ 3) ประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษา     

2. โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พิจารณาได้จากค่าไคสแควร์มีซึ่งมีค่าเท่ากับ 37.75 และไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.48df=38) ซึ่งเป็นการยืนยันว่ารูปแบบเชิงสมมติฐานมีความสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ นอกจากนี้ยังมีค่าที่ระบุความกลมกลืนอื่นๆ เช่น  ค่าดัชนีความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.00  ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.99 และค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืนที่ปรับแก้ (AGFI) เท่ากับ 0.97

3. ผลการวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้งอิทธิพลทางตรง อิทธิพลทางอ้อม อิทธิพลรวม พบว่า ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางตรงสูงสุด ได้แก่ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร มีค่าอิทธิพลทางตรงสูงสุด เท่ากับ 0.42 ปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด ได้แก่ สมรรถนะของคณะ ส่งผ่านปัจจัยการจัดกิจกรรมนักศึกษา มีค่าอิทธิพลทางอ้อมสูงสุด เท่ากับ 0.89 และปัจจัยที่มีอิทธิพลรวมสูงสุด ได้แก่ สมรรถนะของคณะ มีค่าอิทธิพลรวม เท่ากับ 0.63 โดยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ทั้ง 4 ปัจจัย คือ สมรรถนะของคณะ ภาวะผู้นำของผู้บริหาร การจัดกิจกรรมนักศึกษา และบรรยากาศของคณะ ปัจจัยทั้งหมดสามารถร่วมกันอธิบายประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษาในระดับคณะของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ได้ร้อยละ 57

Abstract

The purposes of this research aimed to : 1) study causal factors of the effectiveness of student affairs administration at a faculty level in Rajabhat Universities; 2) verify the consistency of the developed causal relationship model of the effectiveness of student affairs administration with empirical data, and 3) study the direction and size of causal factors of the effectiveness of student affairs administration. The questionnaire was administered to 600 personnel, including deans, vice-deans for academic affairs and faculty advisors, drawn from 200 faculties in Rajabhat Universities nationwide in the academic year 2016. The samples were obtained through Proportional Stratified Random Sampling. Data collection was carried out by using both the interview and the questionnaire. The statistics used for data analysis were descriptive and inferential methods. The computer software program and Linear Structural Relationship (LISREL) programs were also applied to analyze the data.

The findings revealed that:

1. The causal factors of the effectiveness of student affair administration at a faculty level in Rajabhat Universities consisted of two external latent variables: 1) Faculty Capacity, and 2) Administrator Leadership. The three internal latent variables comprised: 1) Student Activities, 2) Faculty Atmosphere and 3) Effectiveness of Student Affairs Administration.

2. The developed causal relationship model of the effectiveness of student affair administration at a faculty level in Rajabhat Universities was well fitted with the empirical data with a Chi-square of 37.75, but found no significant differences (P –value = 0.48, df= 38). These data provided evidence that the hypothesized causal relationship model was created consistently with the empirical data. The following statistics were also applied for assessing the goodness-of-fit, such as Root Mean Square Error of Approximation (RMSEA) = 0.00, Goodness of Fit (GFI) = 0.99, and Adjust Goodness of Fit Index (AGFI) = 0.97.

3. The results revealed that the factors influencing the effectiveness of student affairs administration at a faculty level in Rajabhat Universities had direct, indirect and total effects. The results further indicated that Administrator Leadership had the highest direct effect at the strength of 0.42, while Faculty Capacity affecting through Student Activities had the highest indirect effect at the strength of 0.89. In addition, Faculty Capacity had the total effect at the strength of 0.63. The four factors affecting the effectiveness of student affairs administration at a faculty level in Rajabhat Universities involved Faculty Capacity, Administrator Leadership, Student Activities, and Faculty Atmosphere. The said factors were able to explain the effectiveness of student affairs administration at a faculty level in Rajabhat Universities at 57 percent.

คำสำคัญ
โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ, ประสิทธิผลการบริหารงานกิจการนักศึกษา
Keywords
Causal Relationship Model, Student Affairs Administration
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 289.61 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 672.99 KB
3 ประกาศคุณูปการ 71.91 KB
4 บทคัดย่อ 158.90 KB
5 สารบัญ 267.67 KB
6 บทที่ 1 468.59 KB
7 บทที่ 2 3,439.40 KB
8 บทที่ 3 391.73 KB
9 บทที่ 4 1,184.43 KB
10 บทที่ 5 443.95 KB
11 บรรณานุกรม 413.70 KB
12 ภาคผนวก ก 208.11 KB
13 ภาคผนวก ข 1,210.85 KB
14 ภาคผนวก ค 562.74 KB
15 ภาคผนวก ง 425.52 KB
16 ภาคผนวก จ 254.60 KB
17 ภาคผนวก ฉ 796.10 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 104.02 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 เมษายน 2562 - 14:01:27
View 961 ครั้ง


^