ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
The Causal Relationship Model of Administration-related Factors Affecting the Excellence of Schools under the Office of the Basic Education Commission in the North-eastern Region of Thailand
ผู้จัดทำ
ชัยวัฒน์ วาทะวัฒนะ รหัส 56632233110 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง, รองศาสตราจารย์ ดร.ทนงศักดิ์ คุ้มไข่น้ำ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบและตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และการศึกษาโรงเรียนดีเด่น ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.36-0.86 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.99 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครูวิชาการ และครูผู้สอนในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 510 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างรูปแบบเชิงสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยทางการบริหารที่ส่งผลต่อความเป็นเลิศของโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ ภาวะผู้นำทางวิชาการกลยุทธ์องค์การ การจัดการกระบวนการ การจัดกระบวนการเรียนรู้ และความเป็นเลิศของโรงเรียน   

2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  โดยมีค่าสถิติ ดังนี้ ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 57.77 ที่องศาอิสระ (df) เท่ากับ 90ค่าความน่าจะเป็น (p-value) เท่ากับ 0.996 ค่าไค-สแควร์สัมพัทธ์ (chi2/df) เท่ากับ 0.64  ค่าประมาณความคลาดเคลื่อนของรากกำลังสองเฉลี่ย (RMSEA) เท่ากับ 0.00 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้อง (GFI) เท่ากับ 0.99 ค่าดัชนีวัดความสอดคล้องที่ปรับแล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.98 ค่าขนาดตัวอย่างวิกฤติ (CN) เท่ากับ 1073.97 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องเปรียบเทียบ (CFI) เท่ากับ 1 และค่ารากของค่าเฉลี่ยกำลังสองของความคลาดเคลื่อนมาตรฐาน (RMR) เท่ากับ 0.0057 ปัจจัยทางการบริหารทั้ง 4ปัจจัย สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของความเป็นเลิศของโรงเรียนได้
ร้อยละ 49 โดยการจัดการกระบวนการมีอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหาร และการจัดกระบวนการเรียนรู้ นอกจากนี้ ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารมีอิทธิพลทางอ้อมต่อความเป็นเลิศของโรงเรียนมากที่สุด รองลงมาคือ กลยุทธ์องค์การ และการจัดการกระบวนการ

Abstract

The objectives of this study were to develop and examine the goodness-of-fit between the developed causal relationship model of administration-related factors affecting the excellence of schools under the Office of the Basic Education Commission in the North-eastern Region of Thailand with the empirical data. There were 2 phases in this study. Research conceptual framework was built in the first phase by an analysis of relevant documents and researches, an interview with experts and a study of outstanding schools. The second phase was a research hypothesis examination. Data was collected by using a 5-level rating scale questionnaire with discrimination value between 0.36-0.86 and overall reliability value at 0.99. The sample group consisted of 510 school directors, academic teachers and teachers in primary schools under the Office of the Basic Education Commission in the North-eastern Region of Thailand. Data was analyzed by determining the frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product moment correlation coefficient. Confirmatory factor analysis and goodness-of-fit examination between the hypothetical model and empirical data was also conducted.

The study yielded the following results.

1. The developed causal relationship model of administration-related factors affecting the excellence of schools under the Office of the Basic Education Commission in the North-eastern Region of Thailand comprises 5 factors, which are academic leadership, organizational strategy, process management, learning process management and school excellency.

2. The developed model shows goodness-of-fit with the empirical data with statistics as follows: chi-square = 57.77, df = 90, p-value = 0.996, chi2/df = 0.64, RMSEA =0.00, GFI=0.99, AGFI - 0.98, CN = 1073.97, CFI=1 and MR=0.0057. The 4 Administration-related factors can altogether explain the variance of school excellency at 49 percent. Process management has the highest direct effect on school excellency, followed by academic leadership of school directors and learning process management. On the other hand, academic leadership of school directors has the highest indirect effect on school excellency, followed by organizational strategy and process management.

คำสำคัญ
ปัจจัยทางการบริหาร, ความเป็นเลิศของโรงเรียน, ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
Keywords
Administration-related Factors, School Excellency, Causal Relationship
ไฟล์วิทยานิพนธ์
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 เมษายน 2562 - 11:24:54
View 1196 ครั้ง


^