ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านงิ้วศิริราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 1
Development of the Teachers' Competency in Learning Management in the Learning Substance of Thai at Ban Ngio Siriratbamrung School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1
ผู้จัดทำ
สุทธิพงษ์ เวียงพรมมา รหัส 57421229125 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.หาญชัย อัมภาผล, ดร.นภาพร พันธ์ชัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านงิ้วศิริราษฎร์บำรุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 2) หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยการวิจัยปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม มีขั้นตอนการดำเนินงาน 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติการ (Action) การสังเกตการณ์ (Observation) และการสะท้อนกลับ (Reflection) จำนวน 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย ประกอบด้วย กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 7 คน คือ ผู้วิจัยและครูผู้สอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านงิ้วศิริราษฎร์บำรุง กลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 63 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน วิทยากรในการประชุมเชิงปฏิบัติการ จำนวน 2 คน ครูผู้สอนกลุ่มสาระอื่นๆ จำนวน 2 คน นักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียน จำนวน 29 คน ผู้ปกครองนักเรียนที่มีปัญหาการอ่านและการเขียน จำนวน 29 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์ และแบบประเมิน การวิเคราะห์เชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพ ผู้วิจัยได้วิเคราะห์เนื้อหาจัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอโดยความเรียง นำเสนอผลการวิจัยเชิงพรรณนาวิเคราะห์

 

ผลการวิจัยพบว่า

1. สภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครู กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โรงเรียนบ้านงิ้วศิริราษฎร์บำรุง สรุปผลการวิจัยได้ดังนี้

1.1 สภาพในการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูมีการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการจัดการเรียนรู้ สื่อการเรียนการสอนที่มีผลต่อการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน พัฒนาการเรียนรู้ให้เหมาะสมกับผู้เรียนในแต่ละระดับการศึกษา จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเสริมในสาระการเรียนรู้ภาษาไทย รวมถึงจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน

1.2 ปัญหาในการจัดการเรียนรู้ของครู พบว่า ครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้ไม่น่าสนใจ ขาดความหลากหลายในการจัดการเรียนรู้ ขาดครูที่จบการศึกษาในสาขาวิชาภาษาไทยโดยตรง ครูขาดการนิเทศ กำกับ ติดตาม ส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2-6 มีปัญหาในการอ่านและการเขียนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย จำนวน 29 คน

2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ใช้แนวทางในการพัฒนา 4 แนวทาง คือ 1) การศึกษาดูงานโรงเรียนต้นแบบ 2) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 3) การนิเทศภายใน และ 4) การนิเทศแบบให้คำชี้แนะ

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยพบว่า ครู จำนวน 7 คน มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยได้เหมาะสมคิดเป็นร้อยละ 100 ส่วนด้านการจัดการเรียนรู้ พบว่า นักเรียน จำนวน 29 คน ที่มีปัญหาการอ่านและการเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สามารถอ่านและเขียนได้ถูกต้องร้อยละ 100 

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate the conditions and problems of the teachers' learning management in the Learning Substance of Thai at Ban Ngio Siriratbamrung School under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1, 2) seek for guidelines of the teachers' competence in learning management in the Learning Substance of Thai, 3) follow up the effects of the teachers' potential in learning management in the Learning Substance of Thai. Participatory action research of 2 spirals comprising 4 stages: planning, action, observation and reflection was employed. The population included the researcher group consisting of 7 teachers in the Learning Substance of Thai. The 63 respondents including the school director, 2 resource persons of the workshop, 2 teachers from other learning substances, 29 students with problems in reading and writing Thai as well as 29 parents/guardians of those students. Tools used were a form of observation, a form of interview and a form of evaluation as well. The analysis of quantitative data was done through mean, percentage and standard deviation. Qualitative data were analyzed in forms of content classification and descriptive analysis.

 

The findings of this study were as follows:

1. The conditions and problems on the learning management in the Learning Substance of Thai of the teachers at Ban Ngio Siriratbamrung School could be concluded that: 

1.1 The states of learning management on the Learning Substance 

of Thai revealed that the teachers developed the curriculum and learning process, instructional media that affected the learners’ desirable characteristics along with learning development suitable for the learners at each level. In addition, the supplementary teaching in the Learning Substance of Thai as well as the care taking system for the learners was conducted.  

1.2 In case of the problems regarding learning management, it was found that the teachers could not create interesting as well as diverse activities for the students. Some of the teachers did not graduate in the field of the Thai Language. There was also a lack of control, monitoring, promotion and support in the systematic and continuous procedure of learning. 29 students in Prathom Suksa 2-6 also encountered a problem in the reading and writing skill in the Learning Substance of Thai also.

2. The guidelines of the development of the teachers’ potentiality on the learning management in the Learning Substance of Thai were composed of 4 means: 1) a study tour at a model school, 2) a workshop, 3) internal supervision, and 4) coaching supervision. 

3. The effects of the teachers’ potential development in managing learning in the Learning Substance of Thai indicated that 7 teachers gained suitable knowledge, understanding and skills in writing the lesson plans in the Learning Substance of Thai at 100 percent. In terms of the learning management, it was determined that the 29 students with the problems in reading and writing Thai could read and write Thai correctly at 100 percent.

คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดการเรียนรู้
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 98.19 KB
2 ประกาศคุณูปการ 71.37 KB
3 บทคัดย่อ 124.44 KB
4 สารบัญ 175.12 KB
5 บทที่ 1 168.34 KB
6 บทที่ 2 1,194.03 KB
7 บทที่ 3 336.64 KB
8 บทที่ 4 621.47 KB
9 บทที่ 5 292.28 KB
10 บรรณานุกรม 249.29 KB
11 ภาคผนวก ก 558.26 KB
12 ภาคผนวก ข 263.09 KB
13 ภาคผนวก ค 185.49 KB
14 ภาคผนวก ง 1,089.43 KB
15 ภาคผนวก จ 516.73 KB
16 ภาคผนวก ฉ 1,117.61 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 153.85 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 มกราคม 2561 - 13:45:41
View 589 ครั้ง


^