สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน และ 2) ประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนแต้สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 การวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม มี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นที่ 1 การศึกษาข้อมูล แนวคิด ทฤษฎี เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ขั้นที่ 2 การสร้างหลักสูตรฝึกอบรม ขั้นที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม ระยะที่ 2 การประเมินประสิทธิภาพหลักสูตรฝึกอบรม กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านโนนแต้ อำเภอวานรนิวาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 29 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง การประเมินประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน ใช้วิธีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 คน มุ่งเน้นการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องขององค์ประกอบของหลักสูตร สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติทดสอบที (t-test for dependent samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน มี 4 องค์ประกอบหลัก คือ 1) จุดมุ่งหมาย 2) เนื้อหา 3) กิจกรรมการฝึกอบรมและ 4) การวัดและประเมินผล
2. ประสิทธิภาพของหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียน พบว่า 1) ความรู้ ความเข้าใจ ด้านการแก้ปัญหา ของนักเรียนหลังฝึกอบรมสูงกว่าก่อนฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2) ทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนอยู่ในระดับดีและ 3) ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างทักษะการแก้ปัญหาของนักเรียนโรงเรียนบ้านโนนแต้อยู่ในระดับมากที่สุด
The objectives of this study were to 1) develop a training curriculum on problem-solving skill reinforcement of students and 2) evaluate the efficiency of the developed training curriculum on problem-solving skill reinforcement of students in Baan Non Tae School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3.
The study was divided into 2 phases. Training curriculum development was carried out in Phase 1 within 3 steps. The first step was the studying of relevant information, concepts, theories, documents and research. The information from the first step was used in training curriculum creating in the second step, and the experimental implementation of the developed training curriculum was conducted in the third step. Phase 2 was the evaluation of the developed training curriculum. The sample group consisted of 29 Primary 4-6 students in Baan Non Tae School, Wanon Niwat District, under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 in the second semester of academic year B.E. 2560, selected by purposive sampling. The evaluation approach was the expert evaluation conducted by 5 experts, focusing on the appropriateness and congruence of the components in the developed training curriculum. Statistics used in this study were percentage, mean, standard deviation and t-test for dependent samples.
The founding were as follow.
1. The developed training curriculum on problem-solving skill reinforcement of students in Baan Non Tae School under Sakon Nakhon Primary Educational Service Area Office 3 comprised of 4 main components, namely 1) objectives; 2) content; 3) training activities, and 4) measurement and evaluation.
2. The efficiency of the developed training curriculum were: 1) knowledge and understanding on problem-solving of students after participating in the training curriculum was higher than that prior to the participation with a statistical significance at the .01 level, 2) problem-solving skill of students was at a good level, and 3) student satisfaction towards the developed training curriculum was at the highest level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 101.10 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 407.50 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 29.50 KB |
4 | บทคัดย่อ | 117.67 KB |
5 | สารบัญ | 83.40 KB |
6 | บทที่ 1 | 160.22 KB |
7 | บทที่ 2 | 914.20 KB |
8 | บทที่ 3 | 223.83 KB |
9 | บทที่ 4 | 223.22 KB |
10 | บทที่ 5 | 194.49 KB |
11 | บรรณานุกรม | 141.78 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 68.13 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 1,655.79 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 378.11 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 228.10 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 193.34 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 3,881.62 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 4,040.77 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 61,572.04 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 47.48 KB |