สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาทิศทางการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย ในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560 – 2569) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบ Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) โดยดำเนินการ 3 รอบ จากผู้เชี่ยวชาญ 3 กลุ่มคุณสมบัติ ประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารการศึกษาหรือผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย จำนวน 7 คน กลุ่มผู้ที่มีประสบการณ์ตรงทางการนิเทศการศึกษาปฐมวัย จำนวน 7 คน และกลุ่มนักการศึกษาทางการศึกษาปฐมวัย จำนวน 7 คน รวมผู้เชี่ยวชาญ 21 คน การเก็บข้อมูลในรอบที่ 1 ใช้วิธีการสัมภาษณ์ด้วยคำถามปลายเปิด รอบที่ 2 และรอบที่ 3 ใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลโดยพิจารณาจากผลค่ามัธยฐาน (Median: Mdn) ค่าความสอดคล้องพิจารณาจากส่วนต่างระหว่างฐานนิยมกับมัฐยฐาน (Mo-Mdn) และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ (Interquartile Range: IR) แล้วนำประเด็นย่อยมาจัดกลุ่มเป็นทิศทางการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560 – 2569)
ผลการวิจัย พบว่า ทิศทางการนิเทศเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัยในทศวรรษหน้า (พ.ศ. 2560 – 2569) มีดังนี้
1. ด้านหลักการนิเทศ ควรยึดหลักสำคัญคือ หลักการพัฒนาวิชาชีพ มุ่งเน้น การช่วยเหลือครูและผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาสอดคล้องกับปรัชญาการศึกษาปฐมวัย
2. ด้านจุดมุ่งหมายการนิเทศ มีทิศทางคือ เพื่อช่วยแก้ไขปัญหาต่างๆ ที่สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยไม่สามารถจะแก้ไขได้ตามลำพัง ช่วยให้ครูพัฒนาการจัดการเรียนรู้ ส่งเสริมให้ครูมีความรู้และรู้สึกภาคภูมิใจในวิชาชีพ และช่วยสร้างคุณลักษณะความเป็นผู้นำให้แก่ครู
3. ด้านบทบาทผู้นิเทศ มีทิศทางที่สอดคล้องกันทั้งสามฝ่าย คือ บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย บทบาทหน้าที่ของศึกษานิเทศก์ และบทบาทหน้าที่ของครู
4. ด้านขอบข่ายของการนิเทศ มีทิศทางคือ การพัฒนาครูและบุคลากรทางการศึกษา
5. ด้านรูปแบบของการนิเทศ มีทิศทางคือ การนิเทศควรใช้นวัตกรรมและเทคโนโลยีหลากหลายประเภท การนิเทศเป็นรายบุคคล และการนิเทศด้วยวิธีการให้ศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง
6. ด้านเทคนิคการนิเทศ มีทิศทางคือ การเป็นวิทยากรให้ความรู้หรือเชิญวิทยากรอื่นมาช่วย การใช้สถานพัฒนาเด็กปฐมวัยและห้องเรียนเป็นฐานในการนิเทศ และส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ เหมาะสมกับบริบทของสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย
7. ด้านการประเมินผลการนิเทศ มีทิศทางคือ การกำหนดกิจกรรมการประเมินผลไว้ในแผนการนิเทศการศึกษา การกำหนดบุคลากรเพื่อทำหน้าที่ประเมินผลไว้อย่างชัดเจนเหมาะสมและการกำหนดระยะเวลาในการประเมินผลไว้อย่างชัดเจน
The purpose of this research were to examine the supervision direction for quality development of early childhood education in the next decade (B.E. 2560 - 2569). The research methodology employed the Ethnographic Delphi Futures Research (EDFR) technique. Data collection comprised three rounds which involved consulting seven education administrators or administrators of early childhood development institutions, and seven early childhood educators, yielding a total of 21 experts. Data from Round 1 were done through interviews using open-ended questions. In Round 2 and Round 3, the sets of the 5-point scale questionnaire were administered. The obtained data were analyzed and synthesized by considering the results from a median (Mdn). The consistency was considered from the difference between mode and median (Mo-Mdn) and Interquartile Range (IR). Data collected were then used to formulate the supervision direction for developing quality of early childhood education in the next decade (B.E. 2560 - 2569).
The findings revealed that the supervision direction of quality development of early childhood in the next decade (B.E. 2560 - 2569) comprised:
1. Principles for supervision should emphasize professional development to support teachers and administrators at Early Childhood Development Institutions (ECDIs) to improve quality of education management in accordance with the philosophy of early childhood education.
2. Supervision objectives should be directed toward solving occurring problems at the ECDIs, which cannot solve their problems alone, supporting teachers for knowledge development and taking pride in their profession, and building teacher leadership attributes.
3. Supervisory roles should correspond to the three key roles of management, including administrators of ECDIs, supervisors and teachers.
4. Scopes of educational supervision should be directed toward enhancing teacher and education personnel development.
5. Supervision model should involve supervision conducted by using various innovations and technologies, individualized supervision, and self-study supervision.
6. Supervision Techniques involve being a guest speaker or inviting other speakers, using ECDIs and classroom for supervision, supporting learner-centered instruction to fit the context of ECDIs.
7. Supervisory Evaluation should involve setting evaluation activities within educational supervision plan; designating personnel to perform evaluation tasks clearly and appropriately; and setting specified time period for evaluation.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 91.10 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 553.81 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 75.91 KB |
4 | บทคัดย่อ | 289.13 KB |
5 | สารบัญ | 235.41 KB |
6 | บทที่ 1 | 279.27 KB |
7 | บทที่ 2 | 2,560.85 KB |
8 | บทที่ 3 | 289.96 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,254.42 KB |
10 | บทที่ 5 | 241.63 KB |
11 | บรรณานุกรม | 279.51 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 169.96 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 480.48 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 200.25 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 186.74 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 466.97 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 626.38 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 370.01 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 1,849.53 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 92.87 KB |