สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) สร้างรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) หาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่พัฒนาขึ้นการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R & D) ดำเนินการ 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญ และการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรและกลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประจำปีการศึกษา 2559 จำนวน 4,834 คน จากโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 20 จังหวัดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 361 คน ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของ Krejcie and Morganใช้แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 2 การร่างและสร้างรูปแบบ ประกอบด้วย การร่างรูปแบบ การสร้างและยืนยันรูปแบบโดยผู้เชี่ยวชาญจำนวน 10 คน ระยะที่ 3 การจัดสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบของการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 6 องค์ประกอบ คือ ด้านการกำหนดระเบียบปฏิบัติในชั้นเรียนด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญด้านการจัดบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียนด้านการจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพด้านการจัดทำข้อมูลสารสนเทศด้านการออกแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมการจัดห้องเรียน
2. รูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือประกอบด้วย 1) หลักการ 2) วัตถุประสงค์ 3) เนื้อหา ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดระเบียบปฏิบัติในชั้นเรียนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การจัดบรรยากาศที่ดีในชั้นเรียน การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การจัดทำข้อมูลสารสนเทศ การออกแบบการเรียนรู้และนวัตกรรมการจัดห้องเรียน 4) กระบวนการ ซึ่งประกอบด้วย การศึกษาดูงาน การอบรมเชิงปฏิบัติการ การฝึกปฏิบัติการ การนิเทศ กำกับ ติดตาม และ5) การวัดและประเมินผล
3. ผลของการหาประสิทธิผลของรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือพบว่า 3.1 ความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญ พบว่า คู่มือการใช้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยรวมอยู่ในระดับมาก 3.2 ผลการยืนยันความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการประเมินของผู้เชี่ยวชาญในจัดการสนทนากลุ่มย่อย (Focus Group Discussion) พบว่า คู่มือการใช้ และรูปแบบการบริหารจัดการชั้นเรียนแนวใหม่ โรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือด้านความเป็นประโยชน์และด้านความเป็นไปได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก
The purposes of this research were to 1) examine the components of modern classroom management pf schools under the Local Administration Organization (LAO) in the northeastern region ; 2) construct a model for modern classroom management of schools under the LAO in the northeastern region; and 3) examine the effectiveness of the developed model. The research methodology employed was a Research and Development (R&D) comprising three phases. The first phase was related to examining components of modern classroom management through document inquiries, in-depth interviews of experts, and a survey research. In accordance to Krejcie and Morgan table, the samples of 361 teachers were drawn from the total of 4,834 teachers teaching in the 2016 academic year from 20 schools under LAO in the northeastern region. The research instrument utilized a five-point rating scale questionnaire. The data analysis was done through frequency, percentage mean and standard deviation. The second phase was a draft and establishment of the model, coordinated this draft with the revisions and confirmation of ten experts. In the last phase, a focus group discussion of nine experts was conducted. The data was analyzed by mean and standard deviation.
he findings were as follows:
1. The six components of modern classroom management of schools under the LAO in the northeastern region were: provision of classroom operational rules, learner-centered instructional practices, positive classroom atmosphere, physical environment management, data and information management, instructional design and innovative classroom arrangement.
2. The model of modern classroom management of schools under the LAO in northeastern region comprised 1) principles, 2) objectives, 3) contents, 4) procedures, and 5) measurement and evaluation.
3. The effect of the effectiveness of the developed model revealed that:
3.1 The appropriateness for the user guidelines of the developed model, based on experts’ reviews, as a whole was rated at the highest level. In addition, the developed model as a whole was rated at a high level.
3.2 The effects after the confirmation of the appropriateness of the developed model which was done through the experts’ focus group discussion revealed that the user guidelines, and the developed model in terms of utilization and feasibility, as a whole, was rated at a high level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 140.05 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 398.79 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 43.01 KB |
4 | บทคัดย่อ | 88.54 KB |
5 | สารบัญ | 179.56 KB |
6 | บทที่ 1 | 221.98 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,462.69 KB |
8 | บทที่ 3 | 201.46 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,054.30 KB |
10 | บทที่ 5 | 410.13 KB |
11 | บรรณานุกรม | 139.80 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 133.59 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 14,291.39 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 838.25 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 1,991.99 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 8,765.34 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 64.29 KB |