สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และแนวทางการพัฒนาความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครูผู้สอนในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 363 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร 89 คน ครูผู้สอน 274 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าสถิติที (t - test) ชนิด Independent Samples การทดสอบเอฟ (F - test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - Way ANOVA) การวิเคราะห์ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายแบบเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามขนาดโรงเรียน โดยรวม และรายด้านไม่มีความแตกต่างกัน
4. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการ และความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน จำแนกตามประสบการณ์ในการทำงาน โดยรวมไม่มีความแตกต่างกัน
5. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการกับการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยการบริหารงานวิชาการที่มีอำนาจพยากรณ์ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร และครูผู้สอน โดยรวมพบว่ามี จำนวน 5 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ ด้านการแนะแนว และนิเทศการศึกษา ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพในสถานศึกษา ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนการพัฒนาสื่อ และการพัฒนา และส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น และด้านการส่งเสริมชุมชน และองค์กรอื่นๆ ให้พัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการ
7. ในการวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางพัฒนาความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ คือควรพัฒนาปัจจัยการบริหารงานวิชาการที่มีอำนาจพยากรณ์ความสำเร็จในการจัดการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญทั้งโดยรวม จำนวน 5 ปัจจัย คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา และหลักสูตรท้องถิ่น ด้านการจัดการเรียนการสอนในสถานศึกษาพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพในสถานศึกษา ด้านการคัดเลือกหนังสือแบบเรียนการพัฒนาสื่อและการพัฒนา และส่งเสริมให้มีแหล่งเรียนรู้ ด้านการแนะแนว และนิเทศการศึกษา และด้านการส่งเสริมชุมชน และองค์กรอื่นๆ ให้พัฒนาความเข้มแข็งทางวิชาการ
The purposes of this research were to investigate, compare and find out relationship, predicting power and guidelines in the development between Child -Centered Learning in Schools under the office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 1. Samples consisted of 89 school administrators. and 274 teachers – a total of 363 participants.
An instrument used was a questionnaire. Statistics employed included percentage, mean, standard deviation, The test statistics (t - test) of Independent Samples Test F. (F - test) analysis, ANOVA (One - Way ANOVA) to analyze the correlation is a Pearson (Pearson's Product Moment. Correlation) and multiple regression analysis (Stepwise multiple regression Analysis).
The findings were as follows:
1. The factors on academic affairs management and Child-Centered Learning, according to their administrators and teachers were at the high level in general.
2. The factors on academic affairs management and Child - Centered Learning, according to their administrators and teachers in general, and each dimension, are not different.
3. The factors on academic affairs management and Child – Centered Learning according to their administrators and teachers according to the school size in general and each dimension, are not different.
4. The factors on academic affairs management and Child - Centered Learning according to their administrators and teachers according to the experience overall, is not significant differences in general.
5. The factors on academic affairs management and Child - Centered Learning according to their administrators and teachers have relationship in a positive way. The level of statistically significant at .01 level.
6. The factors on academic affairs management, the predictive power of success in Child - Centered Learning according to their administrators and teachers in general found that five aspects of the amount predicted the success in learning the learner is essential. There was a statistically significant level .01 are the guidance and supervision, the teaching learning process in educational development and research to improve the quality of education, the teaching learning process in educational development and research and improve the quality of education. The selected textbooks media development and development and encourage learning, development curriculum and local programs and the promotion of community and other organizations to develop a strong academic.
7. In purposes of this research have to present how successful development of the Child - Centered Learning is development the factors on academic affairs management to has the predictive power of success in Child - Centered Learning in general. There are five aspects that should be included in the school curriculum development and local curriculum, the teaching learning in school learning process development and research to improve the quality of education, the selection of textbook development, media development. And encourage learning the guidance and supervision and the promotion of community and other organizations to develop a strong academic
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 102.55 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 225.84 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 44.54 KB |
4 | บทคัดย่อ | 108.69 KB |
5 | สารบัญ | 158.90 KB |
6 | บทที่ 1 | 192.43 KB |
7 | บทที่ 2 | 554.43 KB |
8 | บทที่ 3 | 266.80 KB |
9 | บทที่ 4 | 835.68 KB |
10 | บทที่ 5 | 347.55 KB |
11 | บรรณานุกรม | 147.48 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 12,093.31 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 309.04 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 81.23 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 226.99 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 118.78 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 105.61 KB |
18 | ภาคผนวก ฉ | 115.13 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 79.81 KB |