ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ปัจจัยการดำเนินงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Performance Factors Affecting the Effectiveness of Schools’ Internal Quality Assurance Based on the Basic Educational Standards under the Office of Secondary Educational Service Area 22
ผู้จัดทำ
ศิริรัตน์ โนจิตร รหัส 58421229124 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร. ละม้าย กิตติพร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางการพัฒนา ปัจจัยการดำเนินงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา หัวหน้างานวิชาการ  ครูผู้ที่รับผิดชอบงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ครูผู้สอน และประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 363 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าความเชื่อมั่น 0.99 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ (%) ค่าคะแนนเฉลี่ย (X̅) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One-Way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของ เพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ส่วนการหาแนวทางพัฒนาใช้วิธีการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ

ผลการวิจัย พบว่า

1. ปัจจัยการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 22 โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. ปัจจัยการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียนต่างกันโดยรวมไม่แตกต่างกัน

4. ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ประสบการณ์ในตำแหน่ง และขนาดของโรงเรียนต่างกัน โดยรวมไม่แตกต่างกัน

5. ปัจจัยการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา กับประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. ปัจจัยการดำเนินงานประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานมี 3 ปัจจัย ได้แก่การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองครอบครัวและชุมชน การมีอุดมการณ์และเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันและการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูง ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 70.90 และมีความคลาดเคลื่อน ± .27237

7. การวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้เสนอแนวทางการส่งเสริมปัจจัยการดำเนินงานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ตามความคิดเห็นผู้เชี่ยวชาญใน 3 ปัจจัยได้แก่ การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองครอบครัวและชุมชน  การมีอุดมการณ์และเป้าหมายที่ชัดเจนร่วมกันและการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพสูง

Abstract

The purposes of this research were to investigate, to compare, to find out the relationship and the predictive power, and to establish the development guidelines for performance factors affecting the effectiveness of schools’ internal quality assurance based on the basic educational standards under the Office of the Secondary Educational Service Area 22. In total, 363 samples took part in this research including school administrators, heads of academic affairs, teachers in charge of internal quality assurance, teachers and chairs of the basic education institution committee under the Office of the Secondary Educational Service Area 22. The instrument used for collecting data was a set of rating- scale questionnaire with 0.99 reliability value. The data analysis was done through a computer software program. Statistics employed to analyze data were percentage, mean, standard deviation, One-Way ANOVA, Pearson's Product Moment Correlation, and One - Way ANOVA and stepwise multiple regression analysis. The qualitative data was employed through experts’ interviews to establish the development guidelines.

The findings were as follows:

1. The performance factors for schools’ internal quality assurance under the Office of the Secondary Educational Service Area 22 as a whole were at a high level.

2. The effectiveness of schools’ internal quality assurance based on the basic education standards as a whole was at a high level.

3. The performance factors for schools’ internal quality assurance classified by different position, position experience, and school size as a whole were no different.

4. The effectiveness of schools’ internal quality assurance based on the basic education standards classified by position and school size as a whole showed no different.

5. The performance factors for schools’ internal quality assurance and the effectiveness of schools’ internal quality assurance based on the basic education standards as a whole had positive relationship with statistical significance at the .01 level.

6. The performance factors for schools’ internal quality assurance were able to predict the effectiveness of schools’ internal quality assurance based on the basic education standards. The performance factors involved three factors: parent-community involvement, common ideology and clear goals, and high-quality teaching and learning management at a statistical significance level of .01 with predictive power of 70.90 percent and the standard error of prediction ± .27237.

7. In this research, based on the experts’ reviews, the researcher proposed the guidelines to promote the performance factors affecting effectiveness of schools’ internal quality assurance based on the basic education standards under the Office of the Secondary Educational Service Area 22, involving three factors: parent-community involvement, common ideology and clear goals, and high-quality teaching and learning management.

คำสำคัญ
ปัจจัยการดำเนินงาน, ประสิทธิผล, การประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 103.03 KB
2 ประกาศคุณูปการ 68.75 KB
3 บทคัดย่อ 101.30 KB
4 สารบัญ 254.96 KB
5 บทที่ 1 297.13 KB
6 บทที่ 2 720.08 KB
7 บทที่ 3 369.17 KB
8 บทที่ 4 843.50 KB
9 บทที่ 5 335.02 KB
10 บรรณานุกรม 227.67 KB
11 ภาคผนวก ก 6,450.16 KB
12 ภาคผนวก ข 387.79 KB
13 ภาคผนวก ค 265.80 KB
14 ภาคผนวก ง 397.85 KB
15 ภาคผนวก จ 209.11 KB
16 ภาคผนวก ฉ 343.22 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 153.99 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
14 ธันวาคม 2560 - 09:22:00
View 1281 ครั้ง


^