ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ
A Development of Teamwork Indicators of Teachers in Schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office
ผู้จัดทำ
อมรรัตน์ สิงห์โต รหัส 58421236117 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ดร.อภิสิทธิ์ สมศรีสุข, รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ และเพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียนที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการมี 2 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้ การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องและระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้าง    ตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน โดยการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน โดยมีการเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอน จำนวน 500 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตรวัดประเมินค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง ระหว่าง 0.601.00 มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง  0.22–0.89 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของคอนบาค เท่ากับ 0.978 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติและโปรแกรมลิสเรล

ผลการวิจัย พบว่า

1. ตัวบ่งชี้การทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบหลัก 20 องค์ประกอบย่อย และ 70 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น 1) องค์ประกอบการมีส่วนร่วม มีตัวบ่งชี้จำนวน 20 ตัวบ่งชี้   2) องค์ประกอบการมีเป้าหมายเดียวกัน มีตัวบ่งชี้ จำนวน 12 ตัวบ่งชี้ 3) องค์ประกอบ   การติดต่อสื่อสาร มีตัวบ่งชี้ จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ 4) องค์ประกอบความไว้วางใจ มีตัวบ่งชี้จำนวน 13 ตัวบ่งชี้ และ 5) องค์ประกอบการมีปฏิสัมพันธ์ มีตัวบ่งชี้ จำนวน 6 ตัวบ่งชี้

2. โมเดลโครงสร้างการทำงานเป็นทีมของครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมี  ค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 76.55 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 77 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (P-value) เท่ากับ 0.49307 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ 0.98 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ 0.96 ค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ 0.000 ค่าดัชนีที่แสดงขนาดของกลุ่มตัวอย่างที่ยอมรับ (CN) เท่ากับ 693.91 (Chi-square = 76.55, df = 77, ค่า P = 0.49307, ค่า GFI = 0.98, ค่า AGFI = 0.96, ค่า RMSEA = 0.000, CN = 693.91) และค่าน้ำหนักองค์ประกอบทั้ง 70 ตัวบ่งชี้ มีค่าระหว่าง 0.55–0.81

Abstract

The objectives of this study were to develop teamwork indicators of teachers in schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office and to examine the goodness-of-fit between the developed structural model of teamwork indicators and the empirical data. The study was conducted in 2 phases. The first phase was the development of indicators by analyzing relevant documents and researches, while the second phase was the examination of the developed structural model by confirmatory factor analysis. Data was collected from the sample group of 500 teachers, selected with multi-stage sampling. Data collection tool was a 5-level rating scale questionnaire with IOC between 0.60-1.00, discrimination value between 0.22-0.89 and the overall reliability value determined by Cronbach's coefficient alpha method at 0.978. Statistical software and LISREL program were employed in data analysis.

The findings were as follows:

1. The teamwork indicators of teachers in schools under Buengkan Primary Educational Service Area Office comprised 5 major components, 20 sub-components and 70 indicators. The 5 major components and the number of their indicators were as follows: 1) participation: 20 indicators; 2) the sharing of the same goal: 12 indicators; 3) communication: 19 indicators; 4) trust: 13 indicators and 5) interaction: 6 indicators.

2. The developed model had a goodness-of-fit with the empirical data with chi-square = 76.55, df = 77, p-value = 0.49307, GFI = 0.98, AFGI = 0.96, RMSEA = 0.000, CN = 693.91. The factor loading of the 70 indicators was between 0.55-0.81.

คำสำคัญ
การทำงานเป็นทีม, การพัฒนาตัวบ่งชี้
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 118.14 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 435.60 KB
3 ประกาศคุณูปการ 38.24 KB
4 บทคัดย่อ 84.01 KB
5 สารบัญ 121.69 KB
6 บทที่ 1 185.18 KB
7 บทที่ 2 892.47 KB
8 บทที่ 3 252.98 KB
9 บทที่ 4 1,068.85 KB
10 บทที่ 5 200.84 KB
11 บรรณานุกรม 242.53 KB
12 ภาคผนวก ก 62.29 KB
13 ภาคผนวก ข 2,696.20 KB
14 ภาคผนวก ค 117.27 KB
15 ภาคผนวก ง 125.64 KB
16 ภาคผนวก จ 160.88 KB
17 ภาคผนวก ฉ 552.22 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 55.06 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
3 ธันวาคม 2560 - 17:28:52
View 1520 ครั้ง


^