สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจและปัจจัยค้ำจุนกับประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่ง แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย บุคลากรในแผนกโยธาธิการและขนส่งและบุคลากร ในห้องการโยธาธิการและขนส่ง จำนวน 97 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการเปิดตารางของ Krejcie and Morgan เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient) กำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณลักษณะส่วนบุคคลของกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย คิดเป็นร้อยละ 84.53 มีอายุระหว่าง 31 – 40 ปี คิดเป็นร้อยละ 40.20 มีสถานภาพสมรส คิดเป็นร้อยละ 69.07 มีระดับการศึกษาระดับปริญญาตรี คิดเป็นร้อยละ 72.16 มีระยะเวลาการปฏิบัติงานระหว่าง 6 – 15 ปี คิดเป็นร้อยละ 38.14 มีระดับเงินเดือนระหว่าง 1,626,001 – 2,000,000 กีบ คิดเป็นร้อยละ 36.08 และมีระดับตำแหน่ง 6 ขึ้นไป คิดเป็นร้อยละ 62.88
2. ผลการวิเคราะห์iระดับปัจจัยจูงใจในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่ง แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความสำเร็จในงาน มีปัจจัยจูงใจในการดำเนินงานในระดับมากและด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านความก้าวหน้า และส่วนปัจจัยค้ำจุนในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่ง แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านสัมพันธภาพกับผู้บังคับบัญชาเพื่อนร่วมงานและผู้ใต้บังคับบัญชา รองลงมาคือ ด้านนโยบายและการบริหารงาน และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการจ่ายค่าตอบแทน
3. ผลการวิเคราะห์ระดับประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่ง แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ การบรรลุเป้าหมายขององค์การ รองลงมาคือ การใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า และส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ การมีส่วนร่วมในองค์การ
4. ผลการทดสอบสมมุติฐานความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยจูงใจกับประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่ง แขวงบอลิคำไซ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการดำเนินงานของ แผนกโยธาธิการและขนส่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูงและมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.695) ส่วนความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยค้ำจุนกับประสิทธิผลในการดำเนินงาน พบว่า โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลในการดำเนินงานของแผนกโยธาธิการและขนส่ง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับสูงมากและมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = 0.844)
The purpose of this study was to investigate the relationship between the motivation factors and hygiene factors and the performance effectiveness of the Department of Public Works and Transport, Bolikhamxay province, Lao People Democratic Republic. This study is a qualitative research. A sample used in study comprised 97 personnel in the Department of Public Works and Transport and in the Office of Public Works and Transport, of which its size was derived from the Krejcie and Morgan (1970) table. The instrument used was a 5-rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation and Pearson’s product moment correlation coefficient based on the .05 statistical significance.
Findings of the study revealed as follows:
1. Most of the respondents were males or 84.53%; 40.20% were in the 31-40 age range; 69.07% were married; 72.16% graduated with a bachelor degree; 38.14% had work experience in the 6-15 year range; 36.08% had a salary in the 1,626,001-2,000,000 Kip range; and 62.88% had their position at level 6 or above.
2. The analysis result of motivation factor in performance of the Department of Public Works and Transport, Bolikhamxay province, Lao PDR was found that the aspect that gained the highest mean score was of success in the job which was at high level. The aspect that gained the lowest mean score was of advancement. The hygiene factor in performance as a whole was at high level. Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of relationship with super-ordinates, co-workers and subordinates, followed by the aspect of policy and administration. The aspect that gained the lowest mean score was of compensation payment.
3. The analysis result of performance effectiveness as a whole of the Department of Public Works and Transport, Bolikhamxay province, Lao PDR was at high level. Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of achieving organizational goals, followed by using resources wisely. The aspect that gained the lowest mean score was of participation in the organization.
4. The hypothesis testing result of the relationship between the motivation factor and the performance effectiveness of the Department of Public Works and Transport, Bolikhamxay province Lao PDR found that the overall motivation factor in performance had a highly and significantly positive relationship with the overall performance effectiveness of the Department of Public Works and Transport at the .05 level (r = 0.695); whereas the relationship between the hygiene factor and the performance effectiveness found that they were highly and positively correlated at the .05 level of significance (r = 0.844).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 96.97 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 48.70 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 69.58 KB |
4 | บทคัดย่อ | 101.10 KB |
5 | สารบัญ | 129.23 KB |
6 | บทที่ 1 | 161.76 KB |
7 | บทที่ 2 | 417.95 KB |
8 | บทที่ 3 | 152.33 KB |
9 | บทที่ 4 | 342.88 KB |
10 | บทที่ 5 | 133.07 KB |
11 | บรรณานุกรม | 158.88 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 298.92 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 532.22 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 152.92 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 71.87 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 78.26 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 149.82 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 82.51 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 72.90 KB |