ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานในโรงเรียนผาเทิบวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
The Development of Teachers’ Potential on Project Based Learning Management at Phaterbwittaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 22
ผู้จัดทำ
ธีระศักดิ์ คนตรง รหัส 59421229103 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ดร.วรกัญญาพิไล แกระหัน
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูโรงเรียนผาเทิบวิทยา 2) หาแนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ในโรงเรียนผาเทิบวิทยา และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูในจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ในโรงเรียนผาเทิบวิทยา ดำเนินการวิจัยปฏิบัติการ โดยดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัยประกอบด้วยผู้วิจัยและผู้ร่วมวิจัย จำนวน 19 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 54 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสังเกต แบบประเมิน แบบทดสอบ และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า

1. สภาพและปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูโรงเรียนผาเทิบวิทยา พบว่า 1) สภาพที่พบคือ ครูจัดการเรียนรู้แบบบรรยาย ไม่เน้นการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน 2) ปัญหาการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า ครูขาดความรู้ความเข้าใจ ขาดทักษะในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และการนิเทศภายในยังไม่เป็นระบบ

2. แนวทางการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ในโรงเรียนผาเทิบวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ประกอบด้วย 1) การประชุมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงาน และ 3) การนิเทศภายใน

3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ในโรงเรียนผาเทิบวิทยา พบว่า 1) ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานเพิ่มมากขึ้น หลังจากการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โดยมีผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ครูมีความสามารถในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) นักเรียนมีพฤติกรรมการเรียนรู้ในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 4) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purposes of this research were to: 1) investigate the conditions and problems on learning management based on the project-based learning approach (PBL) of teachers at Phaterbwittaya school; 2) establish the guidelines for developing teachers’ potential on learning management based on PBL approach; and 3) follow up the effects after the intervention. The 2- spiral participatory action research was employed consisted of planning, action, observation, and reflection. The target group comprised a total of 19 educators, including the researcher and co-researchers, and 54 informants. The instruments were an observation form, an assessment form, a test, and an interview form. The statistics for data analysis included percentage, mean, and standard deviation. The contents were presented in the descriptive report.

The findings of the research were as follows:

1. The conditions and problems on learning management based on PBL approach of teachers at Phaterbwittaya School revealed that 1) in terms of conditions; teachers used a lecture method instead of the project-based learning approach, 2) In terms of problems, teachers apparently lacked knowledge, understanding and skills on learning management based on PBL approach, and the internal supervision was not performed systemically.

2. The guidelines for developing teachers’ potential on learning management based on PBL approach at Phaterbwittaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 22 included 1) a workshop, 2) a field trip, and 3) an internal supervision.

3. Regarding the effects after the intervention, it was revealed that 1) teachers who attended the workshop gained better knowledge on on learning management based on PBL approach as a whole at a high level, 2) teachers were able to write lesson plans based on PBL approach as a whole at a high level, and 3) students’ learning behaviors concerning learning management based on PBL approach as a whole were at a high level, and 4) the level of student satisfaction toward learning management based on PBL approach was at a high level.

คำสำคัญ
การจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน, การพัฒนาศักยภาพครู
Keywords
Project-based learning approach, Teachers’ Potential Development
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 121.20 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 633.75 KB
3 ประกาศคุณูปการ 74.35 KB
4 บทคัดย่อ 117.17 KB
5 สารบัญ 160.26 KB
6 บทที่ 1 235.55 KB
7 บทที่ 2 997.06 KB
8 บทที่ 3 329.05 KB
9 บทที่ 4 701.99 KB
10 บทที่ 5 238.78 KB
11 บรรณานุกรม 196.92 KB
12 ภาคผนวก ก 120.14 KB
13 ภาคผนวก ข 1,674.66 KB
14 ภาคผนวก ค 977.90 KB
15 ภาคผนวก ง 403.39 KB
16 ภาคผนวก จ 901.10 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 104.89 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 มีนาคม 2562 - 15:01:54
View 815 ครั้ง


^