ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2
The Components of Transformation Leadership of Administrators Affecting School Effectiveness under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 2
ผู้จัดทำ
อัฒนศักดิ์ สิทธิ รหัส 59421229111 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ปรีชา คัมภีรปกรณ์, ดร.รัชฏาพร พิมพิชัย
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์หาอำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 375 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 97คน และครูผู้สอน จำนวน 278 คน จาก 97 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัยแบบครึ่งโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) การทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลวิจัย พบว่า

1. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก

2. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารมีความคิดเห็นมากกว่าครูผู้สอน

3. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน

4. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันโดยรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01โดยผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปี มีความคิดเห็นมากกว่าผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 10 – 20 ปี และน้อยกว่า 10 ปี

5. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

6. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน อยู่โดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารมีความคิดเห็นสูงกว่าครูผู้สอน

7. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่อยู่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน โดยรวมและรายด้าน ไม่แตกต่างกัน

8. ประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 โดยผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ทำงานมากกว่า 20 ปี มีความคิดเห็นสูงกว่าผู้บริหารและครูที่มีประสบการณ์ทำงาน 10 – 20 ปี และน้อยกว่า 10 ปี

9. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารและประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์กันทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01

10. องค์ประกอบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 3 ด้าน ได้แก่ด้านระดมความร่วมมือผูกพัน ด้านสร้างวิสัยทัศน์ร่วมเชิงอุดมการณ์ และด้านสร้างแรงบันดาลใจ ที่สามารถพยากรณ์ระดับประสิทธิผลโรงเรียน โดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 65.90 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ±0.22726

11. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนาจำนวน 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านระดมความร่วมมือผูกพัน2) ด้านสร้างวิสัยทัศน์ร่วมเชิงอุดมการณ์ 3) ด้านสร้างแรงบันดาลใจและ 4) ด้านกระตุ้นปัญญาและความคิดสร้างสรรค์

Abstract

The purposes of this research were to investigate, compare, identify The relationship and the predictive power, and establish the guidelines for developing transformation leadership of school administrators affecting school effectiveness. The samples of this research comprised a total of 375 educators, including 97 school administrators and 278 teachers drawn from 97 schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 2 in the academic year 2017. The instruments for data collection comprised a set of 5- level rating scale questionnaires and a semi-structure interview form. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, t-test (Independent samples), F-test (One-Way ANOVA), Pearson’s Product Moment Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results of the study were as follows:

1. The components of transformation leadership of school administrators as perceived by school administrators and teachers as a whole and each aspect were at a high level.

2. The components of transformation leadership of school administrators as perceived by school administrators and teachers as a whole differed significantly at the .01 level. The opinions of school administrators were greater than those of teachers.

3. The components of transformation leadership of school administrators as perceived by school administrators and teachers with different school sizes as a whole and each aspect were not different.

4. The components of transformation leadership of school administrators as perceived by school administrators and teachers classified by work experience as a whole and each aspect were differed significantly at the .01 level. The opinions of administrators and teachers with work experience more than 20 years were greater than those with between 10 and 20 years of work experience, and less than 10 years.

5.-6. The school effectiveness as perceived by school administrators and teachers as a whole and each aspect was at a high level, and differed significantly at the .01 level in overall. The opinions of administrators were higher than those of teachers.

7. The school effectiveness as perceived by school administrators and teachers classified by different school sizes as a whole and each aspect was not different.

8. The school effectiveness as perceived by school administrators and teachers classified by work experience as a whole differed significantly at the .01 level. The opinions of school administrators and teachers with work experience more than 20 years were higher than those with work experience between 10 and 20 years, and less than 10 years.

9. The components of transformation leadership of administrators and school effectiveness as a whole had positive relationships at the .01 level of significance.

10. The three components of the transformation leadership of administrators could predict the school effectiveness at the .01 level of significance with the predictive power of 65.90 percent and Standard Error of Estimate ±0.22726.

11. The transformation leadership needing improvement comprised four aspects: Collaboration; 2) Creation of Shared Ideological Vision; 3) Inspirational Motivation; and 4) Intellectual Stimulation and Creativity.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ประสิทธิผลโรงเรียน
Keywords
Transformation Leadership, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 88.00 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 600.59 KB
3 ประกาศคุณูปการ 63.87 KB
4 บทคัดย่อ 112.12 KB
5 สารบัญ 213.82 KB
6 บทที่ 1 273.07 KB
7 บทที่ 2 1,476.11 KB
8 บทที่ 3 402.08 KB
9 บทที่ 4 1,057.10 KB
10 บทที่ 5 394.41 KB
11 บรรณานุกรม 288.24 KB
12 ภาคผนวก ก 347.36 KB
13 ภาคผนวก ข 301.79 KB
14 ภาคผนวก ค 117.62 KB
15 ภาคผนวก ง 544.04 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 104.19 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 เมษายน 2562 - 10:43:28
View 1262 ครั้ง


^