สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ของปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูและประสิทธิผลโรงเรียนหาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูที่มีต่อประสิทธิผลโรงเรียน และหาแนวทางการพัฒนาปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ ปีการศึกษา 2560 จำนวน 328 คน โดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง 0.60 – 0.88 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่า t (t-test) แบบ Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว F-test (One way ANOVA) การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบ Pearson’s Product Moment Coefficient และการวิเคราะห์สมการพหุคูณแบบขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ โดยรวมอยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูในโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามเพศ วิทยฐานะ และขนาดของโรงเรียนโดยรวมไม่แตกต่างกัน
4. ประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามเพศและวิทยฐานะ ไม่แตกต่างกัน
5. ประสิทธิผลโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบึงกาฬ จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
6. ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูมีความสัมพันธ์ทางบวกกับประสิทธิผลการดำเนินงานของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
7. ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูจำนวน 4 ปัจจัย ได้แก่ ด้านเงินเดือนและค่าจ้าง ด้านสัมพันธภาพกับบุคลากร ด้านนโยบายและการบริหาร และการได้รับความสำเร็จ สามารถร่วมพยากรณ์ประสิทธิผลโรงเรียนได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 42.80 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของ การพยากรณ์ ± 0.32477
8. ปัจจัยแรงจูงใจในการทำงานของครูที่ส่งผลต่อประสิทธิผลโรงเรียนที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านเงินเดือนและค่าจ้าง ด้านสัมพันธภาพกับบุคลากร ด้านนโยบายและการบริหาร และการได้รับความความสำเร็จ โดยผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาไว้ด้วย
The purposes of this research were to study, compare, determine the relationship between factors of teachers’ workmotivation and school effectiveness, identify the predictive power of factors of teachers’ work motivation affecting school effectiveness, and establish the guidelines for developing work motivation factors of teachers in primary schools under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area. The samples, obtained through multi-stage random sampling, were 328 teachers working in primary schools under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area in the academic year 2017. The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires with an item discrimination between .60to .88 and the reliability of .98. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, percentage, t-test (Independent Samples), F-test (One-Way ANOVA), Pearson’s Product Moment Coefficient and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The results of this research were as follows:
1. The workmotivation factorsof teachersworking in primary schools under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area as a whole wereat a high level.
2. The effectiveness of primary schools under the Office of Buengkan Primary Educational Service Areaas a whole was at a high level.
3. The workmotivation factors of teachers working in primary schools under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area classified by gender, academic rank and school size as a whole showed no difference.
4. The effectiveness of primary schools under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area classified by gender and academic rank showed no difference.
5. The effectiveness of primary schools under the Office of Buengkan Primary Educational Service Area classified by school size as a whole was at a statistical significance of the .01 level.
6. The work motivation factors of teachers showed positive relationship with school effectiveness at a statistical significance of the .01 level.
7. The workmotivation factors of teachers involved four factors: salary and wages, relationshipwith personnel, policy and administration, and career success. It was also found that the said factors were able to predict school effectiveness at a statistical significance of the .01 level with the predictive power of 42.80 percent and Standard Error of Estimate of ± 0.32477.
8. The four factors of teachers’ work motivation which affected school effectiveness were identified as in need of improvement, including salary and wages, relationship with personnel, policy and administration, and career success. The researcher also proposed the development guidelines in this research.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 152.82 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 357.21 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 68.13 KB |
4 | บทคัดย่อ | 114.49 KB |
5 | สารบัญ | 155.47 KB |
6 | บทที่ 1 | 301.66 KB |
7 | บทที่ 2 | 774.23 KB |
8 | บทที่ 3 | 423.78 KB |
9 | บทที่ 4 | 924.14 KB |
10 | บทที่ 5 | 393.58 KB |
11 | บรรณานุกรม | 259.91 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 573.47 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 172.09 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 331.00 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 181.08 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 385.58 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 378.85 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 162.92 KB |