ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
สมรรถนะของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Teacher Competencies Affecting Learning Skills of Learners in Schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21
ผู้จัดทำ
ชัยเมธี ใจคุ้มเก่า รหัส 59421229209 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.เทพรังสรรค์ จันทรังษี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาการเรียนรู้ของผู้เรียนโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 เปรียบเทียบสมรรถนะของครูผู้สอน และทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียนและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ศึกษาความสัมพันธ์ของสมรรถนะของครูผู้สอนและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน ศึกษาอำนาจพยากรณ์ของสมรรถนะของครูผู้สอนที่มีผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน และหาแนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 335 คนจำแนกเป็นผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 90 คน และครูผู้สอน จำนวน 245 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของครูผู้สอนและทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียนสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOWA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. สมรรถนะของครูผู้สอน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอนโดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

3. สมรรถนะของครูผู้สอน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียนและครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. สมรรถนะของครูผู้สอนกับทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โดยรวม พบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

6. สมรรถนะของครูผู้สอนอย่างน้อย 1 ด้าน มีอำนาจพยากรณ์ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนโดยรวมได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 2 ด้าน ได้แก่ การวัดและประเมินผล (X3) และด้านการพัฒนาตนเอง (X4)

7. แนวทางการพัฒนาสมรรถนะของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 มีจำนวน 2 ด้าน ที่ต้องได้รับการพัฒนา ประกอบด้วย 1) ด้านการวัดและประเมินผล เช่น ครูควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางในการวัดและประเมินผล การออกแบบเครื่องมือวัดผลให้สอดคล้องกับเป้าหมายคุณภาพของผู้เรียน และมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีการวัดผลประเมินผลตามแนวของหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 2) ด้านการพัฒนาตนเอง เช่นสนับสนุนส่งเสริมครูให้ได้รับการฝึกอบรม ให้ครูได้มีการพัฒนาการทำผลงานทางวิชาการ และสร้างขวัญกำลังใจส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้รับการเข้าศึกษาต่อ

Abstract

The purposes of this research were: to study teacher competencies affecting learners’ learning skills in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21; to compare teacher competencies and learners’ learning skills as perceived by school administrators and teachers with different position, school size and work experience; to examine the relationship between teacher competencies and learners’ learning skills; to determine the predictive power of teacher competencies toward learners’ learning skills; and to establish the guidelines for developing teacher competencies affecting learners’ learning skills. The samples were 90 school administrators and 245 teachers making to the total sample of 335 respondents from schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21 in the 2017 academic year.The instrument for data collection was a set of 5-level rating scale questionnaires. Statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test (Independent Samples), F-test (One-Way ANOVA), Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The results of this research were as follows:

1. The teacher competencies as perceived by school administrators and teachers in schools under the Office of the Secondary Education Service Area 21 as a whole were at a high level.

2. Learning skills of learners in schools under the Office of the Secondary Education Service Area 21 as perceived by administrators and teachers as a whole were at a high level.

3. Teacher competencies as perceived by school administrators and teachers with different position, school size, and work experience as a whole were different at a statistical significance of the 0.01 level.

4. Learning skills of learners as perceived by school administrators and teachers with different position, school size, and work experience as a whole were different at a statistical significance of the 0.01 level.

5. There was a positive relationship between teacher competencies and learning skills of learners at a statistical significance of the 0.01 level.

6. At least one aspect of perceived teacher competencies had predictive power to learners’ learning skills in overall. Two perceived aspects in terms of Measurement and Evaluation (x3) and Self-development (x4) reached a statistical significance level of 0.01.

7. The guidelines for developing teacher competencies affecting learning skills of learners in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21 comprised two needing improvement aspects: Measurement and Evaluation aspect concerning knowledge and understanding about the guidelines of measurement and evaluation, designing measurement tools in accordance with learner qualities, knowledge and understanding about measurement and evaluation approaches based on the basic education curriculum; and Self-development aspect in terms of providing support to enhance teacher professional development through workshops, giving teachers opportunities to develop the academic work activity, and building up morale support for teachers to further study.

คำสำคัญ
สมรรถนะของครู, ทักษะการเรียนรู้ของผู้เรียน
Keywords
Teacher Competency, Learning Skills of Learners
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 95.19 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 466.78 KB
3 ประกาศคุณูปการ 91.93 KB
4 บทคัดย่อ 116.58 KB
5 สารบัญ 204.31 KB
6 บทที่ 1 302.36 KB
7 บทที่ 2 770.73 KB
8 บทที่ 3 336.26 KB
9 บทที่ 4 983.86 KB
10 บทที่ 5 346.97 KB
11 บรรณานุกรม 207.84 KB
12 ภาคผนวก ก 118.07 KB
13 ภาคผนวก ข 7,676.55 KB
14 ภาคผนวก ค 341.92 KB
15 ภาคผนวก ง 319.51 KB
16 ภาคผนวก จ 169.92 KB
17 ภาคผนวก ฉ 113.57 KB
18 ภาคผนวก ช 92.70 KB
19 ภาคผนวก ซ 310.62 KB
20 ประวัติย่อของผู้วิจัย 106.62 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
28 มีนาคม 2562 - 15:34:44
View 838 ครั้ง


^