ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ โรงเรียนโพธิแสนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
Development of Teachers' Potential on the Integrated Learning Management at Phothisaen Witthaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 23
ผู้จัดทำ
ณัฐริกา อุปพงษ์ รหัส 59421229227 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ดร.ละม้าย กิตติพร, ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วมครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1)  ศึกษาสภาพและปัญหาด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการของครูโรงเรียนโพธิแสนวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา  เขต 23  2)  หาแนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ และ 3)  ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ กระบวนการในการดำเนินการวิจัย  ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การวางแผน (Planning) 2) การปฏิบัติการ (Action) 3) การสังเกตการณ์  (Observation)  และ 4) การสะท้อนกลับ  (Refection) กลุ่มเป้าหมาย คือ ครูโรงเรียนโพธิแสนวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 จำนวน 41 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์  แบบบันทึกการประชุม  แบบสอบถาม  และแบบบันทึกผลการนิเทศ ติดตามผล  การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์  ได้แก่ ร้อยละ  ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

ผลการวิจัย  พบว่า

1.  สภาพและปัญหาการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  โรงเรียนโพธิแสนวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23  ดังนี้ 

1.1  สภาพ  ครูยังยึดการสอนที่เน้นเนื้อหาให้แก่นักเรียน  ไม่เชื่อมโยงเนื้อหาเป็นความรู้แบบองค์รวม  ไม่ให้โอกาสนักเรียนได้ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย  จัดการเรียนรู้ไม่สอดคล้องกับความสนใจ ความต้องการ ความถนัดและความแตกต่างระหว่างบุคคล  เน้นการท่องจำเนื้อหาในแบบเรียน ไม่ฝึกให้นักเรียนคิดวิเคราะห์ สังเคราะห์ และประยุกต์เอาความรู้ไปใช้และแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน  นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนลดลงและไม่กระตือรือร้นไม่สนใจการเรียน

1.2  ปัญหา  ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  ทำให้ไม่สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการให้บรรลุเป้าหมายได้ นักเรียนยังขาดทักษะในการแสวงหาความรู้  ไม่กล้าแสดงออก  ไม่ร่วมแสดงความคิดเห็น  ไม่สามารถสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง

2.  แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  โรงเรียนโพธิแสนวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23  ใช้แนวทางการพัฒนา 3  แนวทาง  คือ การศึกษาดูงาน  การประชุมเชิงปฏิบัติการ  และการนิเทศภายใน วงรอบที่ 2  แนวทางการพัฒนาโดยการนิเทศแบบสอนแนะ

3.  ผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ  โรงเรียนโพธิแสนวิทยา  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23  พบว่า  ครูมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเพิ่มมากขึ้น  สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบูรณาการได้ดีครบทุกขั้นตอน จัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสนใจ  ความต้องการและความถนัดของผู้เรียน   มีการใช้สื่อประกอบการเรียนรู้ที่หลากหลาย  นักเรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้  กล้าแสดงออกและสามารถสรุปองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง  ผลการพัฒนาศักยภาพครูด้านการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการโดยรวมอยู่ในระดับมาก

Abstract

The purpose of this Participatory Action Research were: 1) to examine conditions and problems of the integrated learning management of teachers at Phothisaen Witthaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 23, 2) to establish the guidelines for developing teachers’ potential on the integrated learning management, 3) to monitor the effects after the intervention.  The research methodology comprised four stages of planning, action, observation, and reflection. The target group consisted of 41 teachers from Phothisaen Witthaya School under the Office of Secondary Educational Service Area 23. The research instruments included a form of interview, a written record of a meeting, a questionnaire, a form of supervision and monitoring. Quantitative data were analyzed by percentage, mean, and standard deviation.

The findings were as follows:

1. The conditions and problems concerning teachers’ potential development on integrated learning management revealed that:

1.1 In terms of conditions, teachers predominantly utilized traditional teaching approaches with a focus on content knowledge which did not connect to the holistic knowledge. Students inevitably learn the subjects by rote learning. In addition, students had limited opportunities to access a wide range of learning resources. It can be concluded that the implementation of learning management did not meet students’ interest, needs, aptitude and individual differences. The findings also indicated that the students lacked thinking skills - analysis, synthesis, and daily life application. As a result, the students did not actively participate in the classroom and tended to have lower levels of academic achievement.

1.2 In terms of problems, teachers lacked knowledge and understanding about integrated learning management. This became clear that teachers were unable to organize the integrated learning activities to achieve the setting goals. Students also lacked information-seeking skills, and had no confidence to express opinions and abilities to summarize bodies of knowledge.

2. The guidelines for developing teachers’ potential on the integrated learning management of teachers at Phothisaen Witthaya School involved three approaches: a field trip, a workshop, and an internal supervision. The second spiral was done through coaching supervision.

3. The effects after the invention showed that: The teachers’ potential development on the integrated learning management as a whole was at the high level.  Teachers gained better knowledge and understanding about integrated learning management. In addition, teachers were able to perform the integrated learning management to meet individual student’s interests, needs and aptitude. The use of various instructional media was also found. Students improved their searching skills, became more courage to express their ideas, and demonstrated their abilities to summarize bodies of knowledge.

คำสำคัญ
การพัฒนาศักยภาพครู, การจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการ
Keywords
Teachers' Potential Development, Integrated Learning Management
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 60.51 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 340.22 KB
3 ประกาศคุณูปการ 41.00 KB
4 บทคัดย่อ 75.71 KB
5 สารบัญ 84.67 KB
6 บทที่ 1 143.89 KB
7 บทที่ 2 757.27 KB
8 บทที่ 3 216.67 KB
9 บทที่ 4 460.86 KB
10 บทที่ 5 194.44 KB
11 บรรณานุกรม 109.83 KB
12 ภาคผนวก ก 340.94 KB
13 ภาคผนวก ข 329.16 KB
14 ภาคผนวก ค 1,750.73 KB
15 ภาคผนวก ง 62.11 KB
16 ภาคผนวก จ 376.45 KB
17 ภาคผนวก ฉ 1,522.37 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 64.31 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 มีนาคม 2562 - 15:21:49
View 650 ครั้ง


^