สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยใช้วิธีพหุกรณีศึกษา (Multi-Case Studies) มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ปฏิบัติเป็นเลิศ 2) ศึกษาการบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ปฏิบัติเป็นเลิศจากโรงเรียนที่ศึกษา 3 โรงเรียนผู้ให้ข้อมูลสำคัญมี 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้ทรงคุณวุฒิ ที่เป็นผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 9 คน จากเขตตรวจราชการที่ 12 และ 2) จากโรงเรียนที่ศึกษาใช้วิธีการพรรณนาเกี่ยวกับปรากฏการณ์และวิเคราะห์เนื้อหา วิเคราะห์เอกสาร เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ แบบบันทึก แบบประเมิน แบบบันทึกสังเกต และแบบสำรวจเอกสาร (Document Survey Form) และการสนทนากลุ่มย่อย ซึ่งผู้วิจัยได้แบ่งการวิจัยเป็น 3 ระยะ คือ 1) การสร้างและตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ 2) การเก็บรวบรวมข้อมูล และ 3) การวิเคราะห์ข้อมูล
ผลการวิจัย พบว่า
1. องค์ประกอบการบริหารโรงเรียนที่ปฏิบัติเป็นเลิศ พบว่า มี 3 ด้าน คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วม พบว่า ในการจัดการศึกษาเกิดจากการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการสร้างเครือข่ายในการทำงานเพื่อพัฒนาผู้เรียน มีทักษะการดำรงชีวิตได้เต็มศักยภาพ เพื่อให้เกิดคุณภาพ สร้างความศรัทธาในการบริหารโรงเรียนให้เป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ สร้างความพึงพอใจให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการจัดการศึกษา 2) ด้านการสร้างโอกาสทางการศึกษา พบว่า งบประมาณและทรัพยากรมีอย่างเพียงพอเพื่อนำไปใช้พัฒนาผู้เรียนทั้งด้านวิชาการและทักษะชีวิต นักเรียนได้เลือกกิจกรรมที่ตนเองสนใจ ตามความสามารถที่หลากหลายและแตกต่างกัน ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางเรียนในระดับสูงขึ้น ใช้เทคโนโลยีวิเคราะห์นักเรียนเป็นรายบุคคล มีการนิเทศการจัดการเรียนการสอนที่สม่ำเสมอเพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้ครูในการจัดการเรียนรู้ที่เป็นเลิศเพื่อคุณภาพนักเรียน และ 3) ด้านคุณภาพการศึกษา พบว่า การนำแผนไปใช้พัฒนามีความครอบคลุมอย่างเป็นระบบในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน นักเรียนได้เรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริงด้วยวิธีการที่หลากหลายทั้งด้านวิชาการและทักษะอาชีพ ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ ผู้ปกครองและชุมชนให้การยอมรับและพึงพอใจ จนทำให้โรงเรียนมีเอกลักษณ์โดดเด่นเป็นโรงเรียนที่มีผลจากการปฏิบัติเป็นเลิศและเกิดคุณภาพอย่างยั่งยืน
2. การบริหารโรงเรียนประถมศึกษาที่ปฏิบัติเป็นเลิศ พบว่า ผู้บริหารมีการบริหารโรงเรียนตามขอบข่ายภารกิจ คือ งานบริหารวิชาการ งานบริหารงบประมาณ งานบริหารบุคคลและงานบริหารทั่วไป เป็นนักคิดเชิงระบบ โดยอุทิศตนเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อเป้าหมายของโรงเรียน แสดงให้เห็นความตั้งใจ สามารถจัดการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการพัฒนาการใช้เทคโนโลยีและเผยแพร่ผลงานให้บรรลุตามวิสัยทัศน์ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีนวัตกรรมเพื่อปรับปรุงและพัฒนางานตามแผนปฏิบัติการที่กำหนดไว้ ดูแลเอาใจใส่สมาชิกของทีมงานที่มีผลต่อความก้าวหน้าของนักเรียนและของโรงเรียน มีระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาที่เข้มแข็งทำให้การทำงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและราบรื่น เกิดความรักและความพอใจที่จะช่วยเหลือกัน แสดงให้เห็นถึงความเฉลียวฉลาด ความตั้งใจเพื่อการบรรลุเป้าหมายและเพื่อให้ได้ผลผลิตผลลัพธ์เป็นไปตามแผนงาน ยึดหลักการบริหารมุ่งเน้นผลสัมฤทธิ์และแบบมุ่งเน้นผลงานมาใช้บริหารจัดการอย่างเพียงพอเพื่อให้งานบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ตามภารกิจของโรงเรียน แสดงให้เห็นความตั้งใจว่าสามารถบริหารด้วยวิธีปฏิบัติเป็นเลิศให้บรรลุเป้าหมายได้
The qualitative research was conducted and an embedded multiple-case study design aiming to 1) study the components of the excellent administrative performance of primary schools, 2) examine the excellent administrative performance from three selected primary schools. The key informants involved two groups including 1) a panel of experts consisting of nine school administrators working under the Official Inspection Region 12, 2) the phenomenon of selected schools was studied and presented in a descriptive content analysis and document analysis. The research instruments were interview forms, written recording forms, evaluation forms, observation forms, document survey forms, and group discussion. The research methodology was divided into three phases: 1) Construction and validation of research instruments, 2) Data collection, and 3) Data analysis.
The findings were as follows:
1. The components of the excellent administrative performance of primary schools comprised three aspects: 1) Participation involved stakeholders’ participation in educational management, building networks for student development in terms of the potential of life skills, student quality to create faith toward school administration as learning organization, building stakeholders’ satisfaction in educational management; and 2) Educational opportunity involved adequate provision of finance and resources for student development in terms of academic and life skills. The students had opportunities to select school activities which suit individual interests and abilities. In addition, the student-centered school focus encouraged learners to improve better learning achievements. In addition, the following findings were pointed out: using technology to analyze individual student, and ongoing supervision to foster teacher inspiration in organizing excellent instructional management for student quality; 3) Education quality involved the following practices, namely putting in place a systematic school planning for student quality development, and engaging students in opportunities to learn by doing through various academic and employability skills development approaches. The implementation of the previously mentioned practices resulted in the improvement of students’ academic performances. The results also revealed that parents and community were well satisfied and endorsed the school’s significant work performance, which established outstanding school identity and thriving sustainability.
2. The excellent administration of primary schools revealed that administrators performed in accordance with the school tasks in terms of academic, finance, personnel, and general administration. The research results also illustrated school administrators as systematic thinkers demonstrating their dedicated professionals and intentions to education management to achieve school goals effectively, support for stakeholder participation for technology adoption to facilitate the wider distribution of academic work to accomplish visions, support adopted innovative technology for task refinement and development as set plans, provision of care for team members working toward student and school progress, provision of effective internal quality assurance in school to facilitate a smooth flow of work performance and to create companionate love and work satisfaction at work, where school members helped one another, intelligence and intentions for achieving the goals related to the outcomes that were clearly defined in school plans, focus on principles of result-based management, and performance-based management for administrative management to accomplish the defined objectives of school missions, and intentions to administrate toward achievement of the goals by means of the excellent approaches
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 94.91 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 1,934.22 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 84.38 KB |
4 | บทคัดย่อ | 135.97 KB |
5 | สารบัญ | 173.60 KB |
6 | บทที่ 1 | 219.16 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,744.25 KB |
8 | บทที่ 3 | 345.85 KB |
9 | บทที่ 4 | 2,681.76 KB |
10 | บทที่ 5 | 282.19 KB |
11 | บรรณานุกรม | 272.04 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 135.12 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 5,794.48 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 261.47 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 907.67 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 5,798.82 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 93.39 KB |