ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22
Transformational Leadership of School Administrators Affecting School Effectiveness under the Office of Secondary Educational Service Area 22
ผู้จัดทำ
ธนากร คุ้มนายอ รหัส 60421229123 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียน 2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขนาดต่างกันและที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งแตกต่างกัน 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลของโรงเรียน 4) เพื่อหาอำนาจพยากรณ์ของภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน และ 5) หาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้บริหารและครูผู้สอนในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 352 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 57 คน และครูผู้สอน จำนวน 295 คน จาก 57 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) การทดสอบค่าที (t-test ชนิด Independent Samples) ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One – Way ANOVA) และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยรวมอยู่ในระดับมาก

2. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีสถานภาพต่างกัน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. ประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีสถานภาพต่างกัน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่ปฏิบัติหน้าที่ในโรงเรียนขนาดต่างกัน โดยรวมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนและประสิทธิผลของโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน ที่มีประสบการณ์ในตำแหน่งต่างกัน โดยรวมและรายด้านทุกด้าน ไม่มีความแตกต่างกัน

6. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน โดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับประสิทธิผลของโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

7. ตัวแปรภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 2 ด้าน  ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลของโรงเรียนได้แก่ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีอำนาจพยากรณ์ร้อยละ 17.70 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ เท่ากับ ± 0.38445

8. ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียน ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล โดยผู้วิจัยได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาไว้ด้วย

Abstract

The purposes of this research were to 1) investigate transformational leadership of school administrators and school effectiveness, 2) compare transformational leadership of school administrators and school effectiveness, classified by different school sizes and work experience,  3) to find out the relationship between transformational leadership of school administrators and school effectiveness, 4) to determine the predictive power of transformational leadership of school administrators affecting school effectiveness, and 5) to establish the guidelines for developing transformational leadership of school administrators affecting school effectiveness. The research sample consisted of 57 administrators and 295 teachers from 57 schools under the Office of Secondary Educational Service Area 22 in the academic year 2018, yielding a total of 352 participants. The instrument for data collection was a set of 5 – level rating scale questionnaires. Statistics employed to analyze data were percentage, mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, Pearson’s Product Moment Correlation, One – Way ANOVA and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. The transformational leadership of school administrators and the school effectiveness as perceived by administrators and teachers as a whole were at a high level.

2. The transformational leadership of school administrators as perceived by administrators and teachers with different status, as a whole differed significantly at the .01 level.

3. The school effectiveness as perceived by administrators and teachers with different status, as a whole differed significantly at the .05 level.

4. The transformational leadership of school administrators and the school effectiveness as perceived by school administrators and teachers from different school sizes, as a whole differed significantly at the .01 level.

5. The transformational leadership of school administrators and the school effectiveness as perceived by administrators and teachers with different working experiences, as a whole and each aspect, were not different in all aspects.

6. The transformational leadership of school administrators as a whole had the positive relationship with the school effectiveness at the .01 level of significance.

7. The two variables of the transformational leadership of school administrators could predict the school effectiveness, including inspirational motivation at the .01 level of significance and the idealized influence at the .05 level of significance, with the predictive power of 17.70 percent and a standard error of estimate at ± 0.38445

8. The transformational leadership of school administrators in need of improvement involved three aspects: inspirational motivation, idealized influence, and individualized consideration. The researchers also provided the development guidelines in this research.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ประสิทธิผลของโรงเรียน
Keywords
Transformational Leadership, School Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 86.93 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 367.31 KB
3 ประกาศคุณูปการ 80.70 KB
4 บทคัดย่อ 131.07 KB
5 สารบัญ 161.26 KB
6 บทที่ 1 294.24 KB
7 บทที่ 2 1,414.39 KB
8 บทที่ 3 243.94 KB
9 บทที่ 4 733.21 KB
10 บทที่ 5 447.27 KB
11 บรรณานุกรม 343.35 KB
12 ภาคผนวก ก 1,037.06 KB
13 ภาคผนวก ข 261.48 KB
14 ภาคผนวก ค 188.13 KB
15 ภาคผนวก ง 333.55 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 93.34 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
19 มกราคม 2563 - 16:01:40
View 884 ครั้ง


^