ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร
Good Governance Based Administration Affecting Administrative Effectiveness of Schools under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area
ผู้จัดทำ
ขจรศักดิ์ ว่องไว รหัส 60421229144 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2562
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์, ดร.ระภีพรรณ ร้อยพิลา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาเปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ ระหว่างการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลและประสิทธิผลการบริหารในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร และหาแนวทางพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน ปีการศึกษา 2561 จำนวน 301 คน แบ่งออกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน 111 คน และครูผู้สอน 190 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในครั้งนี้ เป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง 0.72 – 0.92 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One – way ANOVA) การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis)

ผลการวิจัยพบว่า

1. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล และประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก

2. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า

2.1 สถานภาพแตกการดำรงตำแหน่งต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ไม่แตกต่างกัน

2.2 ขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ไม่แตกต่างกัน

2.3 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล ไม่แตกต่างกัน

3. ประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพ ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน พบว่า

3.1 สถานภาพแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน

3.2 ขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน

3.3 ประสบการณ์ในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน ไม่แตกต่างกัน

4. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลกับประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้สอน มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลประกอบด้วย หลักการกระจายอำนาจ หลักภาระรับผิดชอบ หลักความเสมอภาค หลักการมีส่วนร่วม หลักการตอบสนอง หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักประสิทธิผล หลักนิติธรรม และหลักความโปร่งใส มีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 - .01

6. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาล หลักการกระจายอำนาจ หลักภาระรับผิดชอบ หลักความเสมอภาค หลักการมีส่วนร่วม หลักการตอบสนอง หลักมุ่งเน้นฉันทามติ หลักประสิทธิผล หลักนิติธรรม และหลักความโปร่งใส ไว้ด้วย

Abstract

The purposes of this research were to: examine, compare, determine the relationship and the predictive power between good governance based administration and administrative effectiveness of schools under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area, and establish the guidelines for developing good governance based administration. The samples consisted of 111 school administrators and 190 teachers, yielding a total of 301 participants in the 2018 academic year. The instrument for data collection was a set of 5 – level rating scale questionnaires with the discrimination power ranging between 0.72 – 0.92 and the reliability of 0.97. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t – test (Independent Samples), F – test (One – way ANOVA), Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.

The findings were as follows:

1. Good governance based administration and school administrative effectiveness, as perceived by school administrators and teachers, were at a high level.

2. Good governance based administration in schools, as perceived by school administrators and teachers classified by position attained, school sizes, and work experience, was not different.

3. School administrative effectiveness, as perceived by school administrators and teachers classified by position attained, school sizes, and work experience, was not different.

4. Good governance based administration and school administrative effectiveness as perceived by school administrators and teachers had a positive relationship at the .01 statistical significance level.

5. Good governance based administration involved the following principles: Decentralization, accountability, equity, participation, responsiveness, consensus orientation, efficiency, rule of law, and transparency, which had a predictive power on school administrative effectiveness at .05 to .01 levels of  statistical significance.

6. The purposed guidelines for developing good governance based administration, including the following principles: decentralization, accountability, equity, participation, responsiveness, consensus orientation, efficiency, rule of law, and transparency.

คำสำคัญ
การบริหารตามหลักธรรมาภิบาล, ประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียน
Keywords
Good Governance Based Administration, School Administrative Effectiveness
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 99.35 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 456.12 KB
3 ประกาศคุณูปการ 72.08 KB
4 บทคัดย่อ 301.17 KB
5 สารบัญ 377.87 KB
6 บทที่ 1 352.77 KB
7 บทที่ 2 1,032.79 KB
8 บทที่ 3 541.47 KB
9 บทที่ 4 1,722.13 KB
10 บทที่ 5 642.59 KB
11 บรรณานุกรม 406.37 KB
12 ภาคผนวก ก 296.51 KB
13 ภาคผนวก ข 12,850.21 KB
14 ภาคผนวก ค 442.48 KB
15 ภาคผนวก ง 460.95 KB
16 ภาคผนวก จ 222.91 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 104.23 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
7 มิถุนายน 2562 - 11:56:07
View 1371 ครั้ง


^