สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 3; 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของผู้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุมระหว่างก่อนและหลังการใช้ชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น 3) เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของผู้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นหลังการใช้ชุดฝึกอบรมเสร็จสิ้นระหว่างผู้นำนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม และ 4) เปรียบเทียบพฤติกรรมจิตสาธารณะของผู้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นในกลุ่มทดลองระหว่างหลังการใช้ชุดฝึกยุติและหลังการฝึกอบรมสิ้นสุดแล้ว 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนบ้านเซือม อาเภออากาศอานวย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 50 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 25 คน ใช้วิธีสุ่มแบบหลายขั้นตอน แบบแผนการทดลองใช้ แบบสองกลุ่มวัดก่อนและหลังการทดลอง เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ประกอบด้วย ชุดฝึกอบรมเพื่อพัฒนาจิตสาธารณะของผู้นำนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 10 กิจกรรม และแบบวัดจิตสาธารณะของผู้นำนักเรียน จำนวน 25 ข้อ ซึ่งมีค่าอานาจจาแนกระหว่าง 0.28 - 0.67 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที่
ผลการวิจัยพบว่า
1. ชุดฝึกอบรมพัฒนาจิตสาธารณะด้วยกระบวนการเรียนรู้จากประสบการณ์ของผู้นำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.37/80.04 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ประกอบด้วย 3 ด้าน มี 10 กิจกรรม คือ ด้านการช่วยเหลือผู้อื่น จำนวน 3 กิจกรรม ด้านการเสียสละต่อสังคม มี 3 กิจกรรม และด้านการมุ่งมั่นพัฒนาสังคม มี 4 กิจกรรม ซึ่งในแต่ละกิจกรรมมี 9 องค์ประกอบ ได้แก่ ชื่อชุดฝึกอบรม หัวข้อเนื้อหา แนวคิด วัตถุประสงค์ กิจกรรมหรือวิธีการดาเนินการ ภาระงาน หรือชิ้นงาน สื่อ อุปกรณ์ แหล่งเรียนรู้ ระยะเวลาที่ใช้ฝึกอบรม และการประเมินผล
2. ผู้นำนักเรียนที่อบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีพฤติกรรมจิตสาธารณะหลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้นำนักเรียนกลุ่มควบคุมที่สอนตามหลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการมีพฤติกรรมจิตสาธารณะก่อนและหลังการสอนไม่แตกต่างกัน
3. ผู้นำนักเรียนที่อบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้นมีพฤติกรรมจิตสาธารณะสูงกว่าผู้นำนักเรียนที่เรียนตามกิจกรรมในหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผู้นำนักเรียนที่อบรมโดยใช้ชุดฝึกอบรมที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีพฤติกรรมจิตสาธารณะหลังการฝึกอบรมสิ้นสุดและหลังการฝึกอมรมสิ้นสุด 1 เดือน ไม่แตกต่างกัน
This study aimed to 1) create and analyze the efficiency of a public mind development instruction package by using experiential learning process of student leaders at a lower secondary level under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3; 2) public minded behaviors of lower secondary student leaders both from the experimental and control groups before and after the implementation 3) compare public minded behaviors of lower secondary student leaders after the implementation of the developed instruction package between the experimental group and control group and 4) compare public minded behaviors of lower secondary student leaders in the experimental group after the implementation, and one month after the end of the implementation period. The participants comprised 50 lower secondary student leaders of Baan Seuam School, Arkat Amnuay District, under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3. By using multi-stage sampling, the samples were divided into two groups, namely the experimental group and control group with 25 members in each group. The type of experimental design used was two groups pretest-posttest design. Research instruments employed were a public mind development instruction package of ten activities and a 25-item test on student leaders' public mind with discrimination value between 0.28-0.67, and reliability value at 0.85. Statistics employed in data analysis were mean, standard deviation and t-test.
The findings were as follows:
1. Public mind development instruction package using the experiential learning process for student leaders at a lower secondary level under the Office of Sakon Nakhon Primary Educational Service Area 3, created by the author, had the efficiency of 85.37/80.04, which was higher than the standard criterion at 80/80. The developed package comprised three aspects with ten activities, namely 1) Helping Others comprising three activities; 2) Dedication to Society comprised three activities; 3) Commitment to Improving Society comprising four activities. Each set had nine components, namely the title, contents, concepts, objectives, activities or processes, tasks, media, learning materials, learning resources, instruction duration, and evaluation.
2. Public minded behaviors of student leaders after the implementation was statistically higher than before the instruction at the .05 level of significance. There was no difference in public minded behaviors of the control group before and after instruction.
3. Student leaders, who were instructed with the developed instruction package, had higher public minded behaviors than those who were in the control group at a statistical significance at the .05 level.
4. There was no difference in the public minded behaviors of student leaders who were instructed with the developed instruction package after the end of the instruction, and one month after the implementation period.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 194.80 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 87.63 KB |
3 | บทคัดย่อ | 129.08 KB |
4 | สารบัญ | 329.80 KB |
5 | บทที่ 1 | 290.70 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,639.04 KB |
7 | บทที่ 3 | 392.18 KB |
8 | บทที่ 4 | 1,092.37 KB |
9 | บทที่ 5 | 293.57 KB |
10 | บรรณานุกรม | 293.56 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 134.21 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 197.30 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 3,654.30 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 317.08 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 158.85 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 118.88 KB |
17 | ภาคผนวก ช | 546.05 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 82.95 KB |