ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน : พหุกรณีศึกษา
Transformational Leadership of School Administrators In Lab School Project : Multi-Case Study
ผู้จัดทำ
ชำนาญ คำปัญโญสีโนทัย รหัส 543H97104 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิจิตรา วงศ์อนุสิทธิ์, ดร.บุญมี ก่อบุญ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษาปรากฏการณ์ของลักษณะและเงื่อนไขการเกิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่ที่ศึกษาแบบเจาะจง 3  ประเภท ซึ่งเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาค-ตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ขึ้นไป โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดกลาง และโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่ ที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนในฝัน ผู้วิจัยศึกษาและเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตและจดบันทึก การวิเคราะห์เอกสาร และการสนทนากลุ่มย่อยโดยการเก็บข้อมูลจากบุคลากรหลักในโรงเรียนและผู้เกี่ยวข้องใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อเป็นการยืนยันความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรงของข้อมูล จากแหล่งและชนิดของข้อมูลรวมทั้งความถูกต้องที่เชื่อถือได้

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. คุณลักษณะภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน ประกอบด้วย 1) ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีวิสัยทัศน์มีความคิดก้าวไกล มีบุคลิกภาพที่ดี มีความรู้และทักษะ มีความสามารถพิเศษ มีความเชี่ยวชาญ มีความรู้ด้านเทคโนโลยี มีพฤติกรรมเป็นนักพัฒนาแบบประชาธิปไตย มีอุดมการณ์ที่แน่วแน่ มีความชัดเจนในเป้าประสงค์ พันธกิจ มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี เป็นแบบอย่างที่ดี และเป็นที่ยอมรับนับถือ 2) ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ มีความมุ่งมั่นจริงใจ มีคุณธรรมจริยธรรม โปร่งใส สร้างความเชื่อมั่น  มีผลงานเชิงประจักษ์ มีการพัฒนาตนเอง เปลี่ยนวิกฤตเป็นโอกาส สร้างความคาดหวัง สร้างความท้าทาย คิดในแง่บวก สร้างเจตคติที่ดี ส่งเสริมความสามารถ สร้างความศรัทธา ร่วมสร้างภาพอนาคต ส่งเสริมผลงานที่เป็นเลิศ พัฒนางานใหม่ๆ สร้างทีมงาน  จุดประกายความคิด 3) ด้านการกระตุ้นทางปัญญา มีความคิดสร้างสรรค์ พัฒนายุทธศาสตร์เชิงนวัตกรรม  พัฒนาระบบการคิด พัฒนาทักษะกระบวนการใหม่ๆ สนับสนุนการเรียนรู้ทุกที่ ทุกเวลา เน้นประสิทธิภาพของงาน ปลุกระดมจินตนาการ 4) ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล เน้นพัฒนาศักยภาพคน เป็นพี่เลี้ยงและที่ปรึกษา เปิดโอกาสการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ  ตระหนักถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล เปิดโอกาสผู้มีความสามารถ  สนับสนุนความเจริญก้าวหน้า  พัฒนาสู่ความเป็นเลิศ 

2. เงื่อนไขการเกิดภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน ประกอบด้วย 1) ด้านพระราชบัญญัติการศึกษา พบว่า โรงเรียนต้องจัดระบบการบริหารจัดการให้สอดคล้องกับการปฏิรูปการศึกษา เพื่อประโยชน์ของผู้เรียนเป็นสำคัญ ให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุด 2) นโยบายการศึกษา พบว่า โรงเรียนต้องถือนโยบายการศึกษาของกระทรวง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อพัฒนาโรงเรียน ให้เป็นไปตามนโยบายและเชื่อมโยงเข้าสู่มาตรฐาน คุณภาพของโรงเรียนในฝัน 3) มาตรฐานและคุณภาพด้านการศึกษา พบว่า โรงเรียนจะมีคุณภาพต้องจัดการศึกษาให้เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพการศึกษา 4) มาตรฐานและคุณภาพโรงเรียนในฝัน พบว่า การบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนในฝัน จะต้องบริหารให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดจึงจะผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนในฝัน 5) การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่  พบว่า เป็นสิ่งที่ผู้บริหารต้องมีความเชี่ยวชาญและความรู้ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง 6) ประสบการณ์ด้านการบริหารจัดการ พบว่า  การใช้ศาสตร์และศิลป์ที่หลากหลายสามารถพัฒนาการบริหารให้มีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผล

Abstract

The purpose of this research was to examine the phenomenon of characteristics and conditions of transformational leadership of school administrators in Lab School Project. Three participating areas,selected through a purposive sampling technique,were enlisted inLab School Projectunder the Office of Primary and Secondary Educational service Areas in the Northeast comprising: a large-sized secondary schooland over, a medium-sizedsecondary school, and a large-sized primary school. All data were collected by the research herself through in-depth interviews, observation and written records, document analysis, and focus group of key school personnel and stakeholders. Triangulation was employed to confirm reliability and validation of data drawn from different types of data sources. 

The findings were as follows.

1. The characteristics of transformational leadership of school administrators in Lab School Project comprised: 1) Idealized Influence involving having wider vision, good personality traits, knowledge and skills, special skills, specialization, technologyknowledge, becoming a developer with democratic practices, strong ideological orientation, clearer goals and missions, good interpersonal skills, being a good and respected role model; 2) Inspirational Motivation comprising strong determination, honesty, having moral and ethics, transparency, building trustworthiness, having substantial empirical performance, self-development, strengthening resilience, creating expectation, building challenges, positive thinking, creating better attitudes, abilities enhancement, building faithfulness, working together to createfuture image, promoting excellent performance and work, creating new work practices, team building, and provoking thinking; 3) Intellectual Stimulation comprised having creative thinking,  developing innovative strategies, thinking systems, new process skills, supporting anywhere-anytime learning,  work effectiveness focus, strengthening imagination; and 4) Individual Consideration comprised developing human competency, being a mentor and counselor, creating opportunities for new learning, recognizing individualized awareness, providing chances for capable people, supporting individual growth, developing excellence in practice. 

2. The conditions of school administrators’ transformational leadership in Lab School Project revealed that: 1) In terms of the Education Act, schools are required to manage school administration in line with education reform for the benefit of studentseffectively and efficiently; 2) In terms of Education Policy, schools should follow the policy of the Ministry of Education, the Office of the Basic Education Commission, the Office of Educational Service Area  to improving school quality and standards of Lab School Project; 3) In terms of Education Standard and Quality, schools are required to manage quality education in accordance with the standard of quality education provision;  4) In terms of the standard and quality of LabSchool Project,  the education management of schools enlisted in Lab School Project should be administered for all assigned standards for passing the Lab School Project assessment; 5) In terms of New innovation and Technology Changes, school administrators are required to specialize in and develop technology knowledge  and new innovation to balance changes; 6) In terms of administration experiences, the application of various sciences and arts must be able to help develop effective and efficient administrative management.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในฝัน, พหุกรณีศึกษา
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 79.40 KB
2 ประกาศคุณูปการ 47.12 KB
3 บทคัดย่อ 75.14 KB
4 สารบัญ 153.48 KB
5 บทที่ 1 134.87 KB
6 บทที่ 2 1,032.38 KB
7 บทที่ 3 143.22 KB
8 บทที่ 4 2,796.37 KB
9 บทที่ 5 1,424.86 KB
10 บทที่ 6 423.94 KB
11 บทที่ 7 123.30 KB
12 บรรณานุกรม 203.39 KB
13 ภาคผนวก ก 214.40 KB
14 ภาคผนวก ข 77.67 KB
15 ภาคผนวก ค 162.55 KB
16 ภาคผนวก ง 63.83 KB
17 ภาคผนวก จ 1,572.53 KB
18 ประวัติย่อของผู้วิจัย 59.40 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
6 มกราคม 2561 - 15:56:39
View 2668 ครั้ง


^