ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นในโรงเรียนประถมศึกษา : การศึกษาเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
Teacher Leadership in Developing Local Curriculum of Primary Schools : A Grounded Theory Approach
ผู้จัดทำ
สมัย วะชุม รหัส 543H97105 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัฒนา สุวรรณไตรย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.เพลินพิศ ธรรมรัตน์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาลักษณะภาวะผู้นำครู การใช้ภาวะผู้นำครู การดำรงอยู่ของภาวะผู้นำครู และผลที่เกิดจากการใช้ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ในโรงเรียนประถมศึกษา ตามมุมมองของผู้ที่อยู่ในสถานการณ์ของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดใหญ่  ซึ่งเป็นการศึกษาเพื่อหาข้อสรุปเชิงทฤษฎีที่นำไปสู่การสร้างทฤษฏีฐานราก  ผู้วิจัยได้เลือกพื้นที่ที่ศึกษา โดยใช้วิธีการเลือกเชิงทฤษฎี คือเป็นโรงเรียนที่ได้รับการยอมรับในการใช้หลักสูตรท้องถิ่นที่มีคุณภาพ จนได้รับคัดเลือกเป็นโรงเรียนดีศรีตำบล  โรงเรียนวิถีพุทธ โรงเรียนสุจริต และได้รับรางวัลการแข่งขันดนตรีพื้นเมืองอีสานระดับประเทศต่อเนื่อง เป็นการต่อยอดการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพทางด้านดนตรีพื้นเมืองตามหลักสูตรสถานศึกษา สาระการเรียนรู้เกี่ยวกับท้องถิ่น  ผู้วิจัยเข้าไปศึกษาและจัดเก็บข้อมูลด้วยตนเอง โดยการสังเกต การสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร การจดบันทึก และการจัดกลุ่มสนทนา ผู้ให้ข้อมูลหลักประกอบ ด้วยผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษา และครูในโรงเรียนเครือข่าย การวิเคราะห์ข้อมูล ใช้วิธีแปลความและตีความหมายข้อมูล  และใช้เทคนิคการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้า เพื่อเป็นการยืนยันความเชื่อมั่น และความเที่ยงตรงของข้อมูล จากแหล่งที่มา ชนิดของข้อมูล และเวลา เพื่อให้มีความถูกต้องที่เชื่อถือได้

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

1. ลักษณะภาวะผู้นำครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู มีลักษณะภาวะผู้นำประกอบด้วย การมีวิสัยทัศน์พัฒนาตนเอง เชื่อมั่นในตนเองว่าพัฒนาได้ มีการพัฒนาสติปัญญาและความเฉลียวฉลาดทางอารมณ์ มีการพัฒนาด้านสังคม การฝึกอบรมตนเองด้วยการเรียนรู้อยู่เสมอ  ยอมรับและทำตามคำสอนที่ดี มีความเชื่อความศรัทธาในตนเองอย่างมั่นคง ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพอยู่เสมอ  ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน ตลอดจนแสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา 2) การเป็นแบบอย่างทางการสอน มีลักษณะภาวะผู้นำประกอบด้วย ใช้วิธีสอนที่หลากหลาย ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความรู้ในเรื่องที่สอนอย่างดี  พูดจาสื่อความหมายได้ชัดเจน นำนักเรียนบรรลุถึงจิตสำนึกในการทำงานอย่างมีความสุข สร้างคำถามเพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ ประเมินพัฒนาการของผู้เรียนทุกด้านอย่างต่อเนื่อง เป็นแบบอย่างที่ดี  วางแผนการสอนอย่างดี แสดงเจตคติที่ดี ประเมินการเรียนการสอน และสนับสนุนให้นักเรียนมีความพึงพอใจตนเอง 3) การมีส่วนร่วมในการพัฒนา  มีลักษณะภาวะผู้นำประกอบด้วย มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาร่วมกัน มีการทำงานเป็นทีม มีเครือข่ายการปฏิบัติงานร่วมกัน ให้คำปรึกษาและเป็นพี่เลี้ยงครู และมีการปฏิบัติงานร่วมกับผู้ปกครองและชุมชน 4) การเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง มีลักษณะภาวะผู้นำประกอบด้วย เป็นผู้นำ เป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้  เป็นผู้ได้รับการยอมรับ มีความสามารถในการใช้ภาษาติดต่อสื่อสาร  มีทักษะในการสร้างความสัมพันธ์ทีดี มีความสามารถในการทำงานเป็นทีม และเป็นผู้ประสานงานทั้งภายในและนอกองค์การ

2. การใช้ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ประกอบด้วย 9 ลักษณะคือ การเตรียมคน การเตรียมหลักสูตร เตรียมเอกสาร เตรียมสถานที่ เตรียมการนำเสนอผลงาน เตรียมการประชาสัมพันธ์ เตรียมการขอความเห็นชอบและการสนับสนุน  เตรียมกำหนดผู้รับผิดชอบและแต่งตั้งเป็นคณะกรรมการดำเนินการ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน เป็นการใช้ภาวะผู้นำในการทำงานที่มีคุณภาพ แต่ละบุคคลมีความรับผิดชอบและปฏิบัติงานร่วมกัน เพื่อให้ผลงานออกมาดีและมีคุณภาพ และได้รับการยอมรับจากชุมชนและหน่วยงานอื่นๆ อย่างต่อเนื่องตลอดมา

3. การดำรงอยู่ของภาวะผู้นำครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น ประกอบด้วยการปฏิบัติงานในขั้นตอนต่างๆ คือ ร่วมกันวางแผน ร่วมกันปฏิบัติ ร่วมกันตรวจสอบ และร่วมกันปรับปรุงและพัฒนา

4. ผลที่เกิดจากการใช้ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นมีทั้งด้านบวกและด้านลบ ผลในด้านบวก ประกอบด้วยด้านที่เกี่ยวกับนักเรียน ด้านหลักสูตรและงานวิชาการ ด้านการบริหารและการจัดการ ด้านความสัมพันธ์กับผู้ปกครองและชุมชน ด้านบุคลากรและการบริหารงานบุคคล และด้านความดีเด่นของสถานศึกษา ส่วนผลด้านลบ ประกอบด้วยด้านที่เกี่ยวกับนักเรียน ครูและโรงเรียน

Abstract

The purposes of this research were to examine the qualities of teacher leadership, the application of leadership, the retention of leadership values and practices, and the effects after the application of teacher leadership values and practices in developing local curriculum for primary schools, as perceived by groups of people who lived in circumstances of the large primary schools. The research was undertaken to draw theoretical conclusions to develop an inductively derived grounded theory. The researcher selected the study areas based on theoretical sampling, which involved the schools receiving the quality local curriculum school award, which was recognized as the Sri-Tambon Virtue School, the Buddhist Oriented School, the Upright School, and the National Prize for Esan Local Music Performances Competition continuouslyThe sampling schools maintained and extended their quality of teaching and learning in local music in accordance with school curriculum with local learning substances which was a focus of the researchThe researcher studied and collected data through observation, in-depth interviews, document analysis, written field notes and a focus group meeting. The key informants comprised school administrators, teachers, students, parents, members of the school board, and teachers from school networks. Data were analyzed using interpretation followed by theoretical triangulation in order to confirm the reliability and validity of the data.

The findings were as follows:

1The qualities of teacher leadership in developing local curriculum inprimary schools involved: 1) Development of Self and Fellow Teachers, comprising vision for self-development, self confidence in ones abilities, intelligence and emotion intellectual development, social development, self-training through continuous learning, accepting and following good instructions, having self-trust, participating  in academic activities on professional development regularly, being a good role model for learners, and seeking and using information for development; 2) Being a Teaching Role Model consisting of employing various instructional methods, promoting learning atmosphere, promoting self-learning, good knowledge of instruction, having clear communications, supporting student wellbeing, creating questions to enhance learnerslearning, providing continuous assessment covering all aspects of learnersdevelopment, being a good exemplary, good lessons planning, demonstrating positive attitudes, providing teaching and learning evaluation, and supporting learnersself-satisfaction; 3) Development Participation comprised shared vision, team work, collaborative networks, providing advice and  being mentors, working collaboratively with parents and community; 4) Being a transformative leader consisted of being a leader, a learning person, being publicly recognized, being able to use language for communication, having skills in encouraging good relationship, being able to work in team and being a coordinator within and outside organization.

2. The application of teacher leadership in developing local curriculum comprised nine categories of all preparations in terms of human resources, curriculum, documents, venue, presentation, public relations, permission and support, person in charge and operational committee, appointed operational committee.

3. The retention of teacher leadership values and practices in developing local curriculum involved work performance in the collaboration of planning, working, auditing, and refinement and development.

4. The effects after the application of teacher leadership in developing local curriculum revealed both positive and negative aspects: The positive aspect involved students, curriculum and academic affairs, administration and management, relationship between parents and community, personnel an d human resources, and school recognition, whereas negative aspects comprising students, teachers and schools.

คำสำคัญ
ภาวะผู้นำครู, ภาวะผู้นำครูในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น, การวิจัยเพื่อสร้างทฤษฎีฐานราก
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 107.34 KB
2 ประกาศคุณูปการ 43.32 KB
3 บทคัดย่อ 92.91 KB
4 สารบัญ 97.86 KB
5 บทที่ 1 117.03 KB
6 บทที่ 2 575.77 KB
7 บทที่ 3 168.71 KB
8 บทที่ 4 404.61 KB
9 บทที่ 5 335.89 KB
10 บทที่ 6 209.35 KB
11 บรรณานุกรม 218.70 KB
12 ภาคผนวก ก 75.00 KB
13 ภาคผนวก ข 149.11 KB
14 ภาคผนวก ค 166.66 KB
15 ภาคผนวก ง 230.36 KB
16 ภาคผนวก จ 325.64 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 57.28 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
8 ธันวาคม 2560 - 09:17:19
View 2621 ครั้ง


^