สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชนสู่ความเป็นเลิศ 2) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชนสู่ความเป็นเลิศ และ 3) ยืนยันรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชน สู่ความเป็นเลิศที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัย เป็น 4 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การสร้างกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วย การวิเคราะห์เอกสาร และงานวิจัย การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 6 คน และการศึกษาโรงเรียนเอกชนที่มีความเป็นเลิศ 3 ขนาด ได้แก่ ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยสอบถามผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 17 คน ใช้เทคนิคเดลฟายแบบปรับปรุง 3 รอบ และระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้อำนวยการโรงเรียนเอกชนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีผลการประเมินรอบสอง จาก สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา ในระดับดีและดีมาก จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ระยะที่ 4 การยืนยันรูปแบบ โดยการจัดประชุมผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชนสู่ความเป็นเลิศ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย 7 องค์ประกอบ คือ 1) การนำองค์การ 2) การวางแผนกลยุทธ์ 3) การมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน 4) การวัดการวิเคราะห์ และการจัดการความรู้ 5) การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล 6) การจัดการกระบวนการ และ 7) ผลลัพธ์การดำเนินการ
2. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชนสู่ความเป็นเลิศ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นมีความเหมาะสม โดยรวมในระดับมาก เมื่อจัดลำดับความเหมาะสมขององค์ประกอบทั้ง 7 ดังนี้ การวางแผนกลยุทธ์, การนำองค์การ, การมุ่งเน้นทรัพยากรบุคคล, การจัดการกระบวนการ, ผลลัพธ์การดำเนินการ, การวัด การวิเคราะห์และการจัดการความรู้ และ การมุ่งเน้นผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชนตามลำดับ
3. รูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชนสู่ความเป็นเลิศ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ยืนยันโดยการประชุมกลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 8 คน มีความคิดเห็นสอดคล้องกันว่ารูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนอนุบาลเอกชนสู่ความเป็นเลิศ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความเหมาะสม
The objectives of this study were 1) to develop a private elementary school administration model towards excellence; 2) to examine the developed model and 3) to verify the developed model. The study was divided into 4 phases. The first phase was the construction of research conceptual framework from the analysis of relevant documents and studies, an interview with 6 experts and the study of outstanding small-sized, medium-sized and large-sized private schools. The second phase was the model development by consulting 17 experts with the application of Modified Delphi Technique for 3 times. The third phase was the examination of the developed model with the empirical data. The subjects were directors of basic education level private schools who received a "Good" and "Very Good" level in the second assessment of the Office for National Education Standards and Quality Assessment, totally 206. The tool used in data collection was a 5-level rating scale questionnaire. Percentage, mean and standard deviation were used in data analysis. The fourth phase was the model verification by expert group meeting of 8 experts.
The findings were as follows.
1. The author's private elementary school administration model towards excellence in the North-eastern region consisted of 7 components, which were 1) organization leading 2) strategy planning; 3) students, parents and community focus; 4) assessment, analysis and knowledge management; 5) human resources focus; 6) process management focus; and 7) operational outcome.
2. The overall suitability of the author's private elementary school administration model towards excellence in the North-eastern region was at a high level. The suitability of each components could be prioritized as follows: strategy planning; organization leading; human resources focus; process management; operation outcome; assessment, analysis and knowledge management; and students, parents and community focus.
3. The verification of the author's private elementary school administration model towards excellence in the North-eastern region was done by an expert group meeting of 8 experts. The experts agreed that the model developed by the author was suitable for implementation.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 87.19 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 114.23 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 74.32 KB |
4 | บทคัดย่อ | 105.74 KB |
5 | สารบัญ | 157.80 KB |
6 | บทที่ 1 | 166.00 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,127.32 KB |
8 | บทที่ 3 | 519.24 KB |
9 | บทที่ 4 | 878.94 KB |
10 | บทที่ 5 | 290.77 KB |
11 | บรรณานุกรม | 207.94 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 186.53 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 127.68 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 120.29 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 291.41 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 192.96 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 594.22 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 496.30 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 80.22 KB |