ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างขวัญกำลังใจของบุคลากรกับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3
The Relationship between Personnel Morale and School Effectiveness under the Office of Sakon Nakhon Education Service Area 3
ผู้จัดทำ
เอกพงศ์ วงศ์สุริยวรรณ รหัส 55421229324 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.ปาริชาติ โน๊ตสุภา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับขวัญกำลังใจของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 2)ศึกษาระดับ ประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 3) เปรียบเทียบความคิดเห็นบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 ที่มีต่อขวัญกำลังใจ โดยจำแนกตามสถานภาพ เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน 4) เปรียบเทียบความคิดเห็นของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนครเขต 3 ที่มีต่อประสิทธิผลโรงเรียนโดยจำแนกตามสถานภาพ เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน 5) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างขวัญกำลังใจกับประสิทธิผลโรงเรียน ตามความคิดเห็นบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 และ 6) เสนอแนวทางส่งเสริมขวัญกำลังใจของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยใช้รูปแบบการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ มีจำนวน 352 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 94 คน และครูผู้สอน จำนวน 258 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างขวัญกำลังใจของบุคลากรกับประสิทธิผลโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยแบบสอบถามเกี่ยวกับขวัญกำลังใจของบุคลากรในโรงเรียนมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.236 – 0.633 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.856 ส่วนแบบสอบถามเกี่ยวกับประสิทธิผลโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.213 – 0.538 มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.812 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ร้อยละ ค่าทีแบบอิสระ (Independent Sample t-test) ค่าสถิติ F – test และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. ขวัญกำลังใจของบุคลากรและประสิทธิผลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ มาก 

2. บุคลากรในโรงเรียนที่มีสถานภาพ เพศ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อขวัญกำลังใจของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวม ไม่แตกต่างกัน

3. บุคลากรในโรงเรียนที่มีสถานภาพ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของโรงเรียน ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวม ไม่แตกต่างกัน ส่วนบุคลากรที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยบุคลากรเพศชายมีความคิดเห็น ด้านการบริหารวิชาการ การบริหารงบประมาณ และการบริหารงานทั่วไป สูงกว่าเพศหญิง

4. ขวัญกำลังใจโดยภาพรวมกับประสิทธิผลโรงเรียน โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กันในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01  

5. แนวทางส่งเสริมขวัญกำลังใจของบุคลากรในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 พบว่ามี 3 ด้าน คือ ด้านความรู้สึกรับผิดชอบต่อหน้าที่ด้านความรู้สึกประสบผลสำเร็จและด้านความสัมพันธ์ในโรงเรียน

Abstract

The purposes of this survey research aimed to 1) examine the level of personnel morale in schools under the Office of Sakon Nakhon Education Service Area 3,  2) explore the level of school effectiveness, 3) compare personnel’s opinions toward morale classified by status, gender, work experience and school size, 4) compare personnel’s opinions toward school effectiveness classified by status, gender, work experience and school size, 5) investigate the relationship between morale and school effectiveness  based on personnel’s opinions, and 6)  propose the guidelines to promote personnel morale in schools under the Office of Sakon Nakhon Education Service Area 3. The 352 samples were 94 school administrators and 258 teachers. Instruments utilized in this research were questionnaires concerning the relationship between personnel morale and school effectiveness in schools under the Office of Sakon Nakhon Education Service Area 3 consisting of the questionnaires concerning personnel morale with the discrimination between 0.236 – 0.633 and the reliability of 0.856; and the questionnaires concerning school effectiveness with the discrimination between 0.213 – 0.538 and the reliability of 0.812. The statistics used in data analysis were frequency, mean, standard deviation, percentage, Independent Sample t-test, F – test and Correlation of Pearson. 

The findings of this research were as follows:

1. The personnel morale and school effectiveness in schools under the Office of Sakon Nakhon Education Service Area 3 was found at a high level as a whole.

2. School personnel with different status, gender, work experience and school size revealed their opinions toward school personnel morale, as a whole, with no differences.

3. School personnel classified by work experience and school size, as a whole, had no different opinions towards school effectiveness. In addition, school personnel classified by gender, as a whole, showed significant difference at the 0.05 level; males had a higher level of opinions than females in terms of academic affairs, and budgetary administration and general administration.

4. The relationship between morale and school effectiveness found that as a whole there was a positive relationship with the statistically significance level of 0.01.

5. The proposed guidelines to promote personnel morale in schools under the Office of Sakon Nakhon Education Service Area 3 involved three aspects: Senses of responsibility, Success and School Relationship.

คำสำคัญ
ขวัญกำลังใจ, ประสิทธิผลโรงเรียน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 96.01 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 575.88 KB
3 ประกาศคุณูปการ 84.73 KB
4 บทคัดย่อ 95.43 KB
5 สารบัญ 144.24 KB
6 บทที่ 1 292.04 KB
7 บทที่ 2 561.63 KB
8 บทที่ 3 299.27 KB
9 บทที่ 4 366.53 KB
10 บทที่ 5 352.26 KB
11 บรรณานุกรม 267.73 KB
12 ภาคผนวก ก 76.46 KB
13 ภาคผนวก ข 2,252.56 KB
14 ภาคผนวก ค 72.75 KB
15 ภาคผนวก ง 1,538.13 KB
16 ภาคผนวก จ 141.58 KB
17 ภาคผนวก ฉ 102.15 KB
18 ภาคผนวก ช 108.71 KB
19 ภาคผนวก ซ 546.70 KB
20 ประวัติย่อของผู้วิจัย 72.57 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
16 มกราคม 2561 - 14:08:36
View 1007 ครั้ง


^