สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะ 3) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ 4) ศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มี 4 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาสมรรถนะ 2) ศึกษาความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะ 3) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรม และ 4) ทดลองและศึกษาผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม โดยใช้รูปแบบ One Group Pretest-Posttest Design ใช้ทดลองกับกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นครูสอนระดับชั้นประถมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรฝึกอบรม แบบวัดสมรรถนะด้านความรู้ ทักษะการปฏิบัติ และเจตคติ และแบบประเมินความพึงพอใจของครูต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าทดสอบที (Dependent Samples t–test, One Sample t–test) ค่าความต้องการจำเป็นโดยวิธี Priority Needs Index แบบปรับปรุง (PNIModified) กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คำนวณโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป
ผลการวิจัยพบว่า
1. สมรรถนะที่พัฒนาขึ้นทุกสมรรถนะมีคุณลักษณะที่ต้องการเสริมสร้าง ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย 10 สมรรถนะ 28 ตัวบ่งชี้ ดังนี้
1.1 สมรรถนะด้านความรู้ จำนวน 5 สมรรถนะ 16 ตัวบ่งชี้
1.2 สมรรถนะด้านทักษะการปฏิบัติ จำนวน 4 สมรรถนะ 9 ตัวบ่งชี้
1.3 สมรรถนะด้านเจตคติ จำนวน 1 สมรรถนะ 3 ตัวบ่งชี้
2. ความต้องการจำเป็นเกี่ยวกับสมรรถนะอยู่ในระดับมากที่สุด
3. หลักสูตรที่พัฒนาขึ้นเป็นหลักสูตรฝึกอบรมที่ยึดสมรรถนะเป็นฐานของการพัฒนาสมรรถนะด้านการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ กิจกรรมการฝึกอบรมมี 4 ขั้นตอน คือ 1) แบ่งปันประสบการณ์ 2) สะท้อนและอภิปรายความคิด 3) สรุปเป็นความคิดรวบยอด และ 4) ประยุกต์ใช้แนวคิด โดยมีเนื้อหา 7 หน่วยการเรียนรู้ ใช้เวลาในการฝึกอบรม 45 ชั่วโมง ซึ่งหลักสูตรฝึกอบรมนี้มี 9 องค์ประกอบ คือ 1) ความเป็นมาและความสำคัญ 2) วิสัยทัศน์ 3) หลักการ 4) วัตถุประสงค์ 5) สมรรถนะสำคัญ 6) โครงสร้าง 7) แนวทางการฝึกอบรม 8) สื่อและอุปกรณ์ และ 9) การวัดและประเมินผล
4. ผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรม พบว่า
4.1 สมรรถนะด้านความรู้ของครู หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80
4.2 สมรรถนะด้านทักษะการปฏิบัติของครู หลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับดีมาก และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.3 สมรรถนะด้านเจตคติของครู หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4.4 ความพึงพอใจของครูต่อการใช้หลักสูตรฝึกอบรมอยู่ในระดับมากที่สุด และสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ที่ค่าเฉลี่ย 3.51 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The purposes of this study were: 1) to investigate competencies of learning management based on the constructivist concepts, 2) to examine need of competencies, 3) to develop a training curriculum, and 4) to examine results of experiment in using the training curriculum. The study procedure comprised 4 steps: 1) investigate competencies, 2) examine need of competencies, 3) develop a training curriculum, and 4) experiment and examine the result of experimenting with implementation of the training curriculum using a one-group pretest-posttest design. A sample was 40 teachers in schools under the Office of Nakhon Phanom Primary Education Service Area 2. Both quantitative and qualitative data were analyzed. The instruments used in study were the training curriculum and usage manual, measurement forms of competencies in knowledge, performance skill, and attitude as well as a form for assessment of teachers’ satisfaction with using the training curriculum. Statistics used in data analysis through a computer package were mean, standard deviation, t-test for dependent samples, one sample t-test, and modified priority needs index for finding values of needs of which the significant values were determined at the .05 level.
The findings revealed as follows:
1. All of the developed competencies had a characteristic of enhancement at the highest level, which were composed of 10 competencies and 28 indicators as follows:
1.1 Five knowledge competencies with 16 indicators
1.2 Four performance skill competencies with 9 indicators
1.3 One attitude competency with 3 indicators
2. The need of competencies was at the highest level.
3. This training curriculum used competencies to develop competencies of learning management based on the constructivist concepts. The activities of curriculum comprised 4 steps: 1) experience, 2) reflection and discussion, 3) conclusion into concept, and 4) application. There were 7 learning units in 45 hours. The training curriculum had 9 components: 1) background and significance, 2) vision, 3) principles, 4) objectives, 5) important competencies, 6) structure, 7) training guidelines, 8) media and equipment, and 9) measurement as well as evaluation.
4. The results of experiment in using the training curriculum were as follows:
4.1 Teachers’ knowledge competency after training was significantly higher than before training at the .05 level and passed the criterion set at 80 out of 100.
4.2 Teachers’ performance skill competency after training was at the highest level and significantly higher than the criterion set at the mean score of 3.51 at the .05 level.
4.3 Teachers’ attitude competency after training was significantly higher than that before training at the .05 level.
4.4 Teachers’ satisfaction with implementing the training curriculum was at the highest level and significantly higher than the criterion set at the mean score of 3.51 at the .05 level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 93.01 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 246.33 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 66.55 KB |
4 | บทคัดย่อ | 116.73 KB |
5 | สารบัญ | 152.84 KB |
6 | บทที่ 1 | 335.91 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,039.99 KB |
8 | บทที่ 3 | 467.56 KB |
9 | บทที่ 4 | 781.64 KB |
10 | บทที่ 5 | 240.58 KB |
11 | บรรณานุกรม | 200.68 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 3,841.37 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 447.09 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 698.23 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 605.91 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 648.81 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 628.38 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 77.48 KB |