สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน โรงเรียนเพียงหลวง ๑๐ ในทูลกระหม่อมหญิงอุบลรัตนราชกัญญา สิริวัฒนาพรรณวดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2 2) หาแนวทางในการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนเพียงหลวง ๑๐ และ 3) ศึกษาผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนเพียงหลวง๑๐ใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัยครั้งนี้ คือ กลุ่มผู้ร่วมวิจัย จำนวน 4คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูลจำนวน 21 คน เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต และแบบประเมินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้สถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าร้อยละความก้าวหน้าการตรวจสอบข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยได้ทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพและปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน
1.1 สภาพของการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่าครูจัดการเรียนรู้แบบโครงงานน้อยมอบหมายงานให้นักเรียนไปทำงานส่งในแต่ละภาคเรียน แต่ไม่ได้ให้คำปรึกษา หรือทำการสอนแบบโครงงานนอกเวลาสอนเป็นบางส่วนและการจัดการเรียนรู้แบบบรรยายทำให้ผู้เรียนขาดโอกาสในการศึกษา ค้นคว้าจากแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลายทั้งในและนอกห้องเรียนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนจึงไม่สอดคล้องกับความต้องการ ความถนัด และความแตกต่างระหว่างบุคคล
1.2 ปัญหาเกี่ยวกับการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานของครูพบว่าครูไม่มีความรู้ ความเข้าใจ ในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน ขาดความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน และขาดการนิเทศอย่างต่อเนื่อง
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานที่โรงเรียนเพียงหลวง ๑๐ ในวงรอบที่ 1 ใช้แนวทางการพัฒนา 2 แนวทาง ประกอบด้วย 1) การอบรมเชิงปฏิบัติ 2) การนิเทศภายในในวงรอบที่ 2 ใช้แนวทางการพัฒนาการนิเทศการจัดการเรียนรู้แบบกัลยาณมิตร
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูในการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานโรงเรียนเพียงหลวง ๑๐ด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า ก่อนการพัฒนาผู้ร่วมวิจัยมีความรู้ ความเข้าใจ เกี่ยวกับการจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้โครงงานค่อนน้อย โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.33 จากคะแนนเต็ม 20 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 66.65หลังจากได้รับการพัฒนา ผู้ร่วมวิจัย มีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบโครงงานเพิ่มมากขึ้น โดยมีค่าคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.67 คิดเป็นร้อยละ 93.35 ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ในวงรอบที่ 1 พบว่าผลการประเมินโดยรวมอยู่ในระดับพอใช้ (X̅=2.60)แล้วนำไปพัฒนาเพิ่มเติม ในวงรอบที่ 2 พบว่า ผู้ร่วมวิจัย มีผลการประเมินอยู่ในระดับดี (X̅=4.01)และด้านการจัดการเรียนรู้แบบโครงงาน พบว่า ครูมีความมั่นใจในการจัดการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้นสามารถจัดการเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจและสามารถทำโครงงานได้อยู่ในระดับดี
The purposes of this research were to: 1) investigate the states and problems in managingthe project-based learning at Phiang Luang ๑๐ School of Her Royal Highness Princess Ubolratana Rajakanya Sirivadhana Barnavadi under the Office of Nakhon Phanom Primary Educational Service Area2,2) establish the guidelines for developing teachers’ competence in managing the project-based learning, and 3) examine the effects of teachers’ competencedevelopment in managing the project-basedlearning. This studyemployed two spirals of a four-stageparticipatory action research process comprising planning, action, observation, and reflection. The target group consisted of four co-researchers and 21informants.The research Instruments comprised an interview form,atest,an observation form, and anassessment form. The statistics applied for analyzing quantitative datawerepercentage,mean, standard deviation and percentage of progress. Content analysis was also employed to analyze qualitative data in forms of content classification and descriptive analysis.
Thefindings of this study wereas follows:
1. The effects of the states and problems in managing the project-based learningrevealed that:
1.1 The states of the project-based learning management indicated that there was limited use of project-based learningapproach in classroom practice.
The students’ assignments were distributed as homework to be done for the period in each semester but without recommendations. Some teachers implemented the project-based learning outside the classroom, and employed the lecture-style teaching making the learners lack educational opportunities through the search for knowledge from diverse learning resources. Consequently, the teachers’ learning management was inconsistent with the learners’ needs, aptitude and individual difference.
1.2 The problems in managing the project-based learningrevealed that the teachers faced a lack of knowledge, understanding, and self-confidence in managing the project-based learningbecause they were not provided withcontinuous supervision.
2. The guidelines for developing teachers’competence onthe project-based learning management at Phiang Luang๑๐ Schoolin the first spiral employedtwo means involving: 1) a training workshop, 2) an internal supervision, whereas amicable supervision was appliedin the second spiral.
3. The effects after the teachers’ competence development onthe projectbased learning management at Phiang Luang๑๐ School discovered that:the pre- interventionmean scores of the co-researchers obtained were quite low in terms of knowledge and understanding,with the average score of 13.33 out of 20 or 66.65 percent.After the intervention, the co-researchers gainedhigher level of knowledge and understanding at 18.65 or 93.35 percent. However, in the first spiral, the teachers’ written lesson plans were evaluated and resulted at a fair level (X̅=2.60). In the second spiral, the written lesson plans were developed, resulting in a good level (X̅=4.01).In terms of project-based learning management, teachers gained more self-confidence and could manage the learning procedures efficiently affecting the students’ knowledge and understanding to conduct project at a good level.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 69.82 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 68.34 KB |
3 | บทคัดย่อ | 155.18 KB |
4 | สารบัญ | 78.02 KB |
5 | บทที่ 1 | 177.13 KB |
6 | บทที่ 2 | 1,662.01 KB |
7 | บทที่ 3 | 210.91 KB |
8 | บทที่ 4 | 2,647.65 KB |
9 | บทที่ 5 | 229.55 KB |
10 | บรรณานุกรม | 117.57 KB |
11 | ภาคผนวก ก | 67.50 KB |
12 | ภาคผนวก ข | 102.73 KB |
13 | ภาคผนวก ค | 283.87 KB |
14 | ภาคผนวก ง | 230.93 KB |
15 | ภาคผนวก จ | 927.62 KB |
16 | ภาคผนวก ฉ | 4,369.67 KB |
17 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 66.82 KB |