ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Quality of Work Life of Personnel in the Shelters of Children and Family in the Northeast Region
ผู้จัดทำ
ปกิตตา ปาระพิมพ์ รหัส 56426423127 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ชนินทร์ วะสีนนท์, ดร.ปูริดา วิปัชชา
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็น บุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัวในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด จำนวน 254 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว

ผลการวิจัยพบว่า

1. คุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม มีคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับมาก รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล มีคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับมาก ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอ มีคุณภาพชีวิตการทำงานในระดับปานกลาง

2. การเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล สามารถสรุปผลได้ดังนี้

2.1 จำแนกตามคุณลักษณะด้านเพศ พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ทั้งในภาพรวมและรายด้าน ทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน

2.2 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอายุ พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ในภาพรวม ด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอ  ด้านความก้าวหน้าในงาน ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล   ด้านการบูรณาการทางสังคม ด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัวและด้านลักษณะงานที่เป็นประโยชน์ต่อสังคมมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.3 จำแนกตามคุณลักษณะด้านระดับการศึกษา พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ในภาพรวม ด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล ด้านการบูรณาการทางสังคม และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว  มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

2.4 จำแนกตามคุณลักษณะด้านรายได้ พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงานของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ในภาพรวม และทุกด้าน ยกเว้นด้านความก้าวหน้าในงาน มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 

2.5 จำแนกตามคุณลักษณะด้านอายุงาน พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ในภาพรวม ด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอ  ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.6 จำแนกตามคุณลักษณะด้านตำแหน่ง พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ในภาพรวม ด้านค่าตอบแทนในการทำงานที่เพียงพอ ด้านสภาพแวดล้อมในการทำงาน  และด้านความสมดุลระหว่างงานกับชีวิตส่วนตัว มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

2.7 จำแนกตามคุณลักษณะด้านจังหวัด พบว่า คุณภาพชีวิตการทำงาน  ของบุคลากรบ้านพักเด็กและครอบครัว ทั้งในภาพรวม และรายด้าน ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

This study aimed to investigate quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family in the Northeast region. A sample used in study was 254 personnel of the Shelters of Children and Family in 20 provinces in the Northeast region. A questionnaire was the instrument for collecting data and statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test and one-way ANOVA.

The findings revealed as follows.

1. Quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family as a whole was at moderate level. Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of ‘characteristics that are beneficial to society’ which had quality of work life at high level. The secondary aspects were of ‘development of personnel capability’ which had quality of work life at high level and of ‘adequate compensation for work’ which had quality of work life at moderate level.

2. The comparison of quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family by personal background can be concluded as follows.

2.1 As classified by sex, it was found that the quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family as a whole and each aspect showed no difference.

2.2 As classified by age, it was found that the quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family as a whole and each of the following aspects showed a significant difference at the .05 level. They are the aspects of: ‘compensation for work being enough,’ ‘career advancement,’ ‘development of individual capability,’ ‘social integration,’ ‘balance between work and personal life,’ and ‘job characteristics that are beneficial to society.’

2.3 As classified by educational attainment, it was found that quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family as a whole and each of the following aspects showed a significant difference at the .05 level. They are the aspects of: ‘compensation for work being enough,’ ‘work environment,’ ‘development of individual capability,’ ‘social integration,’ and ‘balance between work and personal life.’

2.4 As classified by income, it was found that quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family as a whole and each aspect excepting the aspect of career advancement showed a significant difference at the .05 level.

2.5 As classified by work experience, it was found that quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family as a whole and each of the following aspects showed a significant difference at the .05 level. They are the aspects of: ‘compensation for work being enough,’ ‘work environment,’ ‘development of individual capability,’ and ‘balance between work and personal life.’

2.6 As classified by position, it was found that quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family as a whole and each of the following aspects showed a significant difference at the .05 level. They are the aspects of: ‘compensation for work being enough,’ ‘work environment,’ and ‘balance between work and personal life.’

2.7 As classified by province, it was found that quality of work life of personnel in the Shelters of Children and Family as a whole and each aspect showed a significant difference at the .05 level.

คำสำคัญ
คุณภาพชีวิตการทำงาน, บ้านพักเด็กและครอบครัว
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 142.21 KB
2 ประกาศคุณูปการ 46.21 KB
3 บทคัดย่อ 93.53 KB
4 สารบัญ 100.65 KB
5 บทที่ 1 144.98 KB
6 บทที่ 2 253.74 KB
7 บทที่ 3 88.33 KB
8 บทที่ 4 588.18 KB
9 บทที่ 5 144.56 KB
10 บรรณานุกรม 152.86 KB
11 ภาคผนวก ก 236.97 KB
12 ภาคผนวก ข 50.02 KB
13 ภาคผนวก ค 150.69 KB
14 ภาคผนวก ง 114.52 KB
15 ภาคผนวก จ 54.99 KB
16 ภาคผนวก ฉ 379.01 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 61.23 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
20 ธันวาคม 2560 - 10:43:37
View 550 ครั้ง


^