ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยบทบาทการบริหาร เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้น พื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน
A Causal Relationship Model of Factors in Information Technology Management and Communication of Basic Education School Directors on School Effectiveness
ผู้จัดทำ
ทรัพย์หิรัญ จันทรักษ์ รหัส 56632233103 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ไทย สุรกิจบวร, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1. พัฒนาโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน 2. ตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างโมเดลโครงสร้างความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ ดังนี้ การวิจัยระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิดการวิจัย ประกอบด้วยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและการศึกษาโรงเรียนดีเด่นด้าน ICT ระยะที่ 2 การตรวจสอบสมมติฐานการวิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าอำนาจจำแนกระหว่าง 0.21 ถึง 0.81 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .97 กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษา ครู ICT และครูวิชาการในโรงเรียนสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 417 คน  วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน และใช้โปรแกรมสำเร็จรูปในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และตรวจสอบความสอดคล้องของรูปแบบกับข้อมูลเชิงประจักษ์

ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของโรงเรียนประกอบด้วย 5 ปัจจัย คือ วิสัยทัศน์ด้าน ICT ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี การวางแผน ICT การพัฒนาวิชาชีพด้าน ICT และประสิทธิผลของโรงเรียน

2. รูปแบบที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่า Chi-square = 96.99, df = 99, p-value = 0.54 , x2/df = 0.98, RMSEA =0.000,      GFI = 0.97, AGFI = 0.96, CN = 561.26, CFI = 1 และ RMR = 0.0067 ซึ่ง วิสัยทัศน์ด้าน ICT ภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยี การวางแผน ICT และการพัฒนาวิชาชีพด้าน ICT สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลของโรงเรียนได้ร้อยละ 53.00 โดยภาวะผู้นำเชิงเทคโนโลยีมีอิทธิพลทางตรงต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมากที่สุด รองลงมา คือ วิสัยทัศน์ด้าน ICT และการพัฒนาวิชาชีพด้าน ICT ตามลำดับ นอกจากนี้ วิสัยทัศน์ด้าน ICT มีอิทธิพลทางอ้อมและอิทธิพลรวมต่อประสิทธิผลของโรงเรียนมากที่สุดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Abstract

The objectives of this study were 1) to develop a causal relationship model of factors in information technology management and communication of basic education school directors on school effectiveness and 2) to assess the goodness-of-fit between the developed model and the empirical data. The study was conducted in 2 phases. The first phase was the building of research conceptual framework by an analysis of relevant documents and researches, an interview with experts and a study on distinctive schools in ICT. The second phase was the verification of research hypothesis. Data were collected by using a 5-level rating scale questionnaire with discrimination power between 0.21 - 0.81 and overall reliability value at .97. The sample group consisted of 417 school directors, ICT teachers and academic teachers in schools under the Office of the Basic Education Commission. Data analysis was conducted to determine frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson's product moment correlation coefficient. LISREL software was also employed to analyze confirmatory factors and to assess the goodness-of-fit between the model and the empirical data.

The study yielded the following results:

1. The developed causal relationship model of factors in information technology management and communication of basic education school directors on school effectiveness comprised 5 components, namely ICT vision, technology leadership, ICT planning, ICT professional development and school effectiveness.

2. The developed model showed a goodness-of-fit with the empirical data with Chi-square = 96.99, df = 99, p-value = 0.54, x2/df = 0.98, RMSEA =0.000, GFI = 0.97, AGFI = 0.96, CN=561.26, CFI=1 and RMR=0.0067. ICT vision, technology leadership, ICT planning and ICT professional development could altogether explain the variance of school effectiveness at 53 percent. Technology leadership had the highest direct influence on school effectiveness, followed by ICT vision and ICT professional development respectively. ICT vision also had the highest indirect influence and highest total influence on school effectiveness with the .01 level of statistical significance.

คำสำคัญ
ปัจจัยบทบาทการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร, ประสิทธิผลของโรงเรียน, ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ
Keywords
Factors in Information Technology Management and Communication, School Effectiveness, Causal Relationship
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 142.48 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 174.26 KB
3 ประกาศคุณูปการ 106.14 KB
4 บทคัดย่อ 184.47 KB
5 สารบัญ 207.94 KB
6 บทที่ 1 509.55 KB
7 บทที่ 2 3,431.70 KB
8 บทที่ 3 753.45 KB
9 บทที่ 4 1,459.84 KB
10 บทที่ 5 604.32 KB
11 บรรณานุกรม 528.46 KB
12 ภาคผนวก ก 1,539.49 KB
13 ภาคผนวก ข 381.20 KB
14 ภาคผนวก ค 117.06 KB
15 ภาคผนวก ง 351.30 KB
16 ภาคผนวก จ 706.69 KB
17 ภาคผนวก ฉ 311.71 KB
18 ภาคผนวก ช 366.07 KB
19 ภาคผนวก ซ 460.27 KB
20 ภาคผนวก ฌ 358.73 KB
21 ภาคผนวก ญ 711.75 KB
22 ประวัติย่อของผู้วิจัย 297.50 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
21 มีนาคม 2562 - 12:57:58
View 1653 ครั้ง


^