ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครูโดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขาเพื่อเสริมสร้างการมีสติ ความมีเหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยสงฆ์นครพนม
Development of the Instructional Manuals of Psychology for Teachers Using Social Cognitive learning Theory and Trisikkha Principles to Enhance Mindfulness, Rationality and Learning Achievements of Nakhon Phanom Buddhist College’s Second Year Students
ผู้จัดทำ
ฉัตรชัย หมื่นสุข รหัส 57421231120 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การวิจัยและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มารศรี กลางประพันธ์, ดร.สมเกียรติ พละจิตต์
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนาคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา เพื่อเสริมสร้างการมีสติ ความมีเหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สำหรับนิสิตชั้นปีที่ 2 ที่มีประสิทธิผลตามเกณฑ์ 2) เปรียบเทียบการมีสติก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 3) เปรียบเทียบความมีเหตุผล ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการเรียนรู้วิชาจิตวิทยาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา สำหรับนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาจิตวิทยาจิตวิทยาสำหรับครู ก่อนเรียนและหลังเรียนที่ได้รับการสอน โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา ของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 5) เปรียบเทียบการมีสติ ความมีเหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 ที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังได้เรียนรู้ด้วยคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา ร่วมกับหลักไตรสิกขา ประชากรเป็นเป็นนิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 วิทยาลัยสงฆ์นครพนม ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 2 คณะ 3 สาขาวิชา คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา, คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ, คณะสังคมศาสตร์ สาขาวิชารัฐศาสตร์, จำนวน 1 ห้อง นิสิตรวมทั้งสิน 69 รูป/คน กลุ่มตัวอย่าง คือ นิสิตปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา วิทยาลัยสงฆ์นครพนม กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 37 รูป/คน โดยใช้การสุ่มตัวอย่างความน่าจะเป็น (Probability sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 5 ชนิด ประกอบด้วย 1) คู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา จำนวน 9 ชุด 2)แบบทดสอบวัดการมีสติแบบทดสอบแบบปรนัย ชนิด จำนวน 60 ข้อ 3) แบบสอบถามวัดความมีเหตุผล จำนวน 60 ข้อ 4) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 60 ข้อ แบบสอบถามวัดความมีเหตุผล จำนวน 60 ข้อ และ 5) แบบสอบถามวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 60 ข้อ  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานค่าสถิติทดสอบที (t-test Dependent Sample) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One - way ANOVA) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนพหุคูณแบบทางเดียว (One – way MANOVA)

ผลการวิจัยพบว่า

1. ค่าประสิทธิผล (The Effectiveness Index : E.I.) ของคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา มีค่าเท่ากับ 0.69 ความมีเหตุผล มีค่าเท่ากับ 0.70 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีค่าเท่ากับ 0.76 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ .50 ขึ้นไป

2. นิสิตที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา การมีสติหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. นิสิตที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา ความมีเหตุผลหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

4. นิสิตที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

5. นิสิตที่มีแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์แตกต่างกัน (สูง ปานกลาง และต่ำ) หลังได้เรียนรู้ด้วยคู่มือประกอบการสอนวิชาจิตวิทยาสำหรับครู โดยใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญาร่วมกับหลักไตรสิกขา การมีสติ ความมีเหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Abstract

The purposes of the study included the following: 1) to develop the instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles to enhance mindfulness, rationality, and learning achievements of second year students year students at Nakhon Phanom Buddhist College to gain the established effectiveness, 2) to compare second year students’ mindfulness possessed before and after they had been taught h instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles, 3) to compare second year students’ rationality possessed before and after they had been taught through the instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles, 4) to compare second year students’ learning achievements gained before and after they had been taught through the instructional manuals of Psychology for Teacher using social cognitive learning theory and Trisikkha principles, 5) to compare the mindfulness, rationality, and learning achievements of second year students whose achievement motivations differed  (high, moderate, low) after they had been taught through the instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles. The population consisted of 69 second year Buddhist students who were studying in the first semester of 2015 academic year at Nakon Phanom Buddhist College. They could be classified  into two faculties: Faculty of Education (English Instruction and Social Science Departments) and Faculty of Social Science (Political Science Department). The subjects were 37 Social Science students. Probability sampling was adopted to gain these subjects. The instrument used were 1) 9 instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning  theory and Trisikkha principles to enhance mindfulness, rationality, and learning achievements, 2) a test to examine the students’ mindfulness, (60 multiple choice questions), 3) a test to measure the students’ rationality (60 questions), 4) a test to evaluate the students’ learning achievement (60 question), 5) a test to assess the students’ learning achievement motivation (60 questions). The statistics employed for data analysis were percentage, standard deviation, t-test (Dependent Samples), One-way ANOVA and One-way MANOVA.

The study revealed these results:

1. The developed instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles to enhance mindfulness, rationality, and learning achievements of second year students at Nakhon Phonom Buddhist College contained their effectiveness index (E.I.) of 0.69 with the rationality index of 0.70 and learning achievement index 0.76. These indices were higher than the set criteria of 50 percent.

2. After the students had learnt through the instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles, their mindfulness was significantly higher than that of before at .05 statistical level.

3. After the students had learnt through the instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles, their rationality higher than that of before at .05 statistical level.

4. After the students had learnt through the instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles, their learnt learning achievement was significantly higher than that of before at .05 statistical level.

5. After they had been taught through the instructional manuals of Psychology for Teachers using social cognitive learning theory and Trisikkha principles, the second year students whose achievement motivations differed (high, moderate, low) did not significantly have different mindfulness, rationality and learning achievement at .05 statistical level.

คำสำคัญ
คู่มือประกอบการสอน, จิตวิทยาสำหรับครู, ทฤษฎีการเรียนรู้ทางสังคมเชิงพุทธิปัญญา, หลักไตรสิกขา, การมีสติ, ความมีเหตุผล และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
Keywords
Instructional manual. Psychology for Teacher, social cognitive learning theory, Trisikkha principles, mindfulness, rationality, and learning achievements
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 107.00 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 276.44 KB
3 ประกาศคุณูปการ 69.37 KB
4 บทคัดย่อ 136.32 KB
5 สารบัญ 215.07 KB
6 บทที่ 1 391.82 KB
7 บทที่ 2 1,368.40 KB
8 บทที่ 3 658.31 KB
9 บทที่ 4 418.73 KB
10 บทที่ 5 259.96 KB
11 บรรณานุกรม 274.11 KB
12 ภาคผนวก ก 1,186.54 KB
13 ภาคผนวก ข 1,022.81 KB
14 ภาคผนวก ค 870.28 KB
15 ภาคผนวก ง 851.67 KB
16 ภาคผนวก จ 554.81 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 102.86 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
2 เมษายน 2562 - 09:47:17
View 1405 ครั้ง


^