ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23
A Development of Good Governance Indicators of Basic Education Institutions under the Secondary Educational Service Area Office 23
ผู้จัดทำ
ยงจิตร สัพโส รหัส 57421236129 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา นวัตกรรมการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
รองศาสตราจารย์ ดร.วาโร เพ็งสวัสดิ์, ดร.สิงห์ประเสริฐ นาคโคตรคำ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์และเพื่อจัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน การดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การพัฒนาตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยการวิเคราะห์ สังเคราะห์เอกสารงานวิจัย จัดทำกรอบแนวคิดและร่างตัวบ่งชี้ ระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่พัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างผู้อำนวยการและครู โดยผู้วิจัยได้ส่งแบบสอบถามไปยังกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 439 คน และได้รับแบบสอบถามที่มีความสมบูรณ์กลับคืน จำนวน 415 คน คิดเป็นร้อยละ 94.53 และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่าง .80–1.00 ค่าอำนาจจำแนกรายข้อระหว่าง .43-.84 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ โดยวิธีสัมประสิทธิ์แอลฟาของ Cronbach เท่ากับ .98 ระยะที่ 3 การจัดทำคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

ผลการวิจัยสรุป ได้ดังนี้

1. ตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 6 องค์ประกอบหลัก 24 องค์ประกอบย่อย 74 ตัวบ่งชี้ จำแนกเป็น หลักความโปร่งใส จำนวน 19 ตัวบ่งชี้ หลักความรับผิดชอบ จำนวน 18 ตัวบ่งชี้ หลักการมีส่วนร่วม จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ หลักนิติธรรม จำนวน 9 ตัวบ่งชี้ หลักคุณธรรม จำนวน 11 ตัวบ่งชี้และหลักความคุ้มค่า จำนวน 8 ตัวบ่งชี้ 

2. โมเดลโครงสร้างตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยมีค่าไค-สแควร์ (Chi-square) เท่ากับ 76.70 ค่าองศาอิสระ (df) เท่ากับ 64 ค่านัยสำคัญทางสถิติ (p-value) เท่ากับ .13 ค่าดัชนีวัดระดับความกลมกลืน (GFI) เท่ากับ .98 ค่าดัชนีวัดระดับความสอดคล้องที่ปรับแก้แล้ว (AGFI) เท่ากับ .93 และค่าความคลาดเคลื่อนในการประมาณค่าพารามิเตอร์ (RMSEA) เท่ากับ .02

3. คู่มือการใช้ตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มี 4 องค์ประกอบ คือ 1) หลักการและเหตุผล 2) วัตถุประสงค์ 3) องค์ประกอบหลัก องค์ประกอบย่อยและตัวบ่งชี้การบริหารกิจการที่ดีของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 4) แนวทางการใช้ตัวบ่งชี้ มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ทั้ง 4 องค์ประกอบ เมื่อพิจารณาภาพรวมความเหมาะสมของคู่มือการใช้ตัวบ่งชี้ทั้งฉบับ  มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (ar{x} = 4.01, S.D. = .66)

Abstract

The objectives of this study were to develop the good governance indicators of basic education institutions, to examine the congruence of the developed structural model of good governance indicators of basic education institutions with the empirical data and to develop a manual on the implementation of good governance indicators of basic education institutions. The study was divided into 3 phases. The first phase was the development of good governance indicators by analyzing and synthesizing relevant documents and researches as well as building a draft conceptual framework and drafting the indicators. The second phase was the congruence examination of the developed structural model of good governance indicators with the empirical data. The sample group consisted of 439 school directors and teachers, to whom the author had sent a questionnaire for data collection and received 415 fully completed questionnaire back, which was equal to 94.53 percent of the overall number of sample group. The statistical software was employed in data analysis while the tool used in data collection was a 5-level rating scale questionnaire with IOC between .80-1.00, discrimination value of each item between .43-.84 and overall reliability value calculated by using Cronbach's alpha coefficient was at .98. The third phase was the development of manual on the implementation of good governance indicators of basic educational institutions.

The study results can be concluded as follows.

1. The good governance indicators of basic education institutions comprises 6 main components, 24 sub-components and 74 indicators, which can be classified into the following categories: 19 indicators on transparency, 18 indicators on responsibility, 9 indicators on participation, 9 indicators on the rule of law, 11 indicators on virtue and 8 indicators on cost effectiveness.

2. There is congruence between developed structural model of good governance indicators of basic education institutions and the empirical data with chi-square = 76.70, df = 64, p-value = .13, GFI = .98, AGFI = .93 and RMSEA = .02.

3. The developed manual on the implementation of good governance indicators of basic education institutions consists of 4 components, which are 1) rationale; 2) objectives; 3) main components, sub-components and indicators on good governance of basic education institutions; 4) guidelines on indicator implementation. The appropriateness of the 4 components are all at the highest level. When considering the overall appropriateness of the manual, the mean of the appropriateness is at a high level (ar{x} = 4.01, S.D. = .66). 

คำสำคัญ
ตัวบ่งชี้, การบริหารกิจการที่ดี, สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords
Indicators, Good Governance, Basic Education Institution
ไฟล์วิทยานิพนธ์
วันที่นำเข้าข้อมูล
5 เมษายน 2562 - 20:18:47
View 775 ครั้ง


^