ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานกับความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการ ตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร
The Relationship between Job Factor and Job Stress of Police Officers of Sakon Nakhon Provincial Police Division
ผู้จัดทำ
ชาญชัย ทิพย์เนตร รหัส 57426423107 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต (รป.ม.) สาขาวิชา รัฐประศาสนศาสตร์
ปี พ.ศ.
2560
ที่ปรึกษา
ผศ.ดร.จิตติ กิตติเลิศไพศาล, ผศ.ดร.ละมัย ร่มเย็น
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร 2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานกับความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร 3) เปรียบเทียบความเครียดในการปฏิบัติงาน ของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ข้าราชการตำรวจในสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร จำนวน 330 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ค่าที (t-test) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One -Way ANOVA) หรือ F-test หากพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จะทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ ด้วยวิธีทดสอบแบบ Least Significant Difference (LSD)

ผลการวิจัย พบว่า

1. ระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง

2. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านงานกับความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ (r = .478**) เป็นความสัมพันธ์เชิงบวก และขนาดของความสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง

3. เปรียบเทียบความเครียดในการปฏิบัติงานของข้าราชการตำรวจ สังกัดกองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดสกลนคร ตามคุณลักษณะส่วนบุคคล พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านเพศ อายุ ระยะเวลาในการปฏิบัติงาน สถานภาพการสมรส ระดับชั้นยศ ระดับการศึกษา และรายได้ต่อเดือน ที่แตกต่างกัน มีความเครียดในการปฏิบัติงานไม่แตกต่างกัน ปัจจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านตำแหน่ง และสายงานที่ปฏิบัติงาน ที่แตกต่างกันมีความเครียดในการปฏิบัติงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทดสอบความแตกต่างเป็นรายคู่ พบว่า ปัจจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านตำแหน่ง รองสารวัตรหรือเทียบเท่า (= 2.93) มีความเครียดในการปฏิบัติงาน มากกว่า ผู้บังคับหมู่ (= 2.62) และรองสารวัตรหรือเทียบเท่า (= 2.45) มีความเครียดในการปฏิบัติงาน ทางด้านจิตใจ มากกว่า ผู้กำกับการหรือเทียบเท่าขึ้นไป (= 1.62) และปัจจัยเกี่ยวกับคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านสายงานที่ปฏิบัติ พบว่า งานสืบสวน (= 3.00) มีความเครียดในการปฏิบัติงาน มากกว่า งานป้องกันปราบปราม (= 2.61) และ งานสอบสวน (= 3.00) มีความเครียดในการปฏิบัติงาน มากกว่า งานป้องกันปราบปราม (= 2.61)

Abstract

The purposes of this study were: 1) to investigate the degree of job stress of police officers of Sakon Nakhon Provincial Police Division, 2) to examine the relationship between the job factor and the job stress of police officers of Sakon Nakhon Provincial Police Division, and 3) to compare the job stress of police officers of Sakon Nakhon Provincial Police Division as classified by personal background. The sample used in this study was 330 police officers of Sakon Nakhon Provincial Police Division. The instrument used in data collection was a 5-rating scale questionnaire. Statistics used in data analysis were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, t-test and one-way ANOVA. In case a significant difference was found at the .05 level, a pairwise comparison would be conducted using the least significant difference (LSD) method.

Findings of the study were as follows:

1. The overall job stress of police officers in Sakon Nakhon Provincial Police Division was at moderate level.

2. The job factor and the job stress of police officers in Sakon Nakhon Provincial Police Division were positively correlated at the .01 level with the correlation coefficient of .478 ** (r value) at moderate relationship degree,

3. As compared by personal backgrounds of those whose sexes, ages, work experiences, marital statuses, ranks and titles, educational attainments, and incomes per month were different, the job stress of police officers of Sakon Nakhon Provincial Police Division was found not different. As for the personal backgrounds of position and line of action, the job stress among the police officers was found significantly different at the .05 level. By pairwise comparison, the position of Deputy Inspector or equivalent (= 2.93) encountered the job stress more than Squad Leader (= 2.62), while Deputy Inspector or equivalent (= 2.45) had the emotional job stress more than Deputy Superintendent or equivalent (= 1.62). As for the background of the line of action, it was found that the job stress among the police officers who had a line of investigation (= 3.00) was found at higher level than that encountered by those who had a line of prevention and suppression (= 2.61); while line of inquiry (= 3.00) was higher in stress than line of prevention and suppression (= 2.61).

คำสำคัญ
ความเครียด, ตำรวจ, ปัจจัยด้านงาน
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 183.23 KB
2 ประกาศคุณูปการ 56.98 KB
3 บทคัดย่อ 167.82 KB
4 สารบัญ 191.11 KB
5 บทที่ 1 243.37 KB
6 บทที่ 2 746.18 KB
7 บทที่ 3 256.45 KB
8 บทที่ 4 534.67 KB
9 บทที่ 5 211.68 KB
10 บรรณานุกรม 233.03 KB
11 ภาคผนวก ก 164.59 KB
12 ภาคผนวก ข 556.98 KB
13 ภาคผนวก ค 282.13 KB
14 ภาคผนวก ง 302.52 KB
15 ภาคผนวก จ 1,362.49 KB
16 ประวัติย่อของผู้วิจัย 160.62 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
4 ธันวาคม 2560 - 16:05:04
View 1115 ครั้ง


^