สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาปัจจัยเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ศึกษาประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน 3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน 4) ค้นหาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวพยากรณ์ที่ดีของประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน และ 5) หาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือ ผู้บริหารสถานศึกษา และครูผู้สอน จำนวน 352 คน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลครั้งนี้เป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่าประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ การวิเคราะห์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson's Product Moment Correlation) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Stepwise Multiple Regression Analysis) ส่วนการหาแนวทางพัฒนาใช้วิธีการศึกษาข้อมูลเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ
ผลการวิจัย พบว่า
1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ที่เลือกมาศึกษาทุกปัจจัย มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก
2. ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน อยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีความสัมพันธ์กันทางบวกกับประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ทุกด้าน โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก และมีความสัมพันธ์ทางบวก (rxy = 0.740) เมื่อพิจารณารายด้าน ปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการ และประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน ทั้ง 7 ด้าน มีความสัมพันธ์กัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษามีอำนาจพยากรณ์ประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอนในโรงเรียน มี 5 ปัจจัย เรียงตามลำดับการมีอำนาจพยากรณ์สูงสุดลงไปตามลำดับ คือ ด้านการพัฒนาหลักสูตรและการสอน รองลงมาคือ ด้านการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการพัฒนาวิชาชีพ ด้านการพัฒนานักเรียน และด้านการเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ โดยสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของประสิทธิผลการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สอน โดยรวมได้ร้อยละ 54.40 และมีความคลาดเคลื่อนมาตรฐานของการพยากรณ์ ± .258
5. แนวทางการพัฒนาปัจจัยภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา ตามความเห็นของผู้เชี่ยวชาญ มีความสอดคล้องกับข้อค้นพบเชิงปริมาณและให้มีการดำเนินการพัฒนาภาวะผู้นำทั้ง 5 ด้าน ได้แก่ การพัฒนาหลักสูตรและการสอน การพัฒนาวิชาชีพของบุคลากร การพัฒนานักเรียน การเป็นผู้นำที่มีประสิทธิภาพ และการประเมินคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
The purposes of this research were: to study instructional leadership of school administrators; 2) to investigate the effectiveness of instructional management of teachers; 3) analyze the relationship between factors of instructional leadership of school administrators and the effectiveness of instructional management; 4) to find out the factors of instructional leadership of school administrators that could be good predictors for effectiveness of instructional management; and 5) to establish the guidelines for developing instructional leadership of school administrators. The samples were 352 administrators and teachers in schools under the Office of the Secondary Educational Service Area 22. The research instrument for data collection was a set of 5 - level rating scale questionnaires developed by the researcher. Statistics employed to analyze data were percentage, mean, standard deviation, Pearson's Product Moment Correlation and Stepwise Multiple Regression Analysis. The establishment of the proposed guidelines was done through qualitative data based on experts’ interviews.
The findings of this research were as follows:
1. All factors of instructional leadership of school administrators have been operated at a high level.
2. The effectiveness of instructional management of teachers was at a high level.
3. The factors of instructional leadership of school administrators and the effectiveness of instructional management had a positive relation (rxy = 0.740) at a high level with a .01 significance level in all aspects. When considering each aspect, the factors of instructional leadership and the effectiveness of instructional management of all seven aspects had a relationship at a level of statistical significance of 01.
4. The factors of instructional leadership of school administrator had the predictive power on the effectiveness of instructional management involving five factors which were ranged from the highest to the lowest predictive power respectively: the curriculum and instruction development, followed by the evaluation of school educational quality, the professional development, the student development, and the effective leaders. The five variables were able to explain the variance of the effective instructional management of teachers, as a whole with 54.40 percent and the standard error of prediction of ± .258.
5. The guidelines for developing factors on instructional leadership of school administrators, obtained through the experts’ opinions, had a congruence with a quantitative data and had been implemented the following five aspects: the curriculum and instruction development, personnel professional development, student development, being effective leaders, and evaluation of school education quality.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 73.83 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 350.74 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 68.37 KB |
4 | บทคัดย่อ | 102.83 KB |
5 | สารบัญ | 231.48 KB |
6 | บทที่ 1 | 241.99 KB |
7 | บทที่ 2 | 625.91 KB |
8 | บทที่ 3 | 173.50 KB |
9 | บทที่ 4 | 581.32 KB |
10 | บทที่ 5 | 198.77 KB |
11 | บรรณานุกรม | 194.29 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 317.57 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 3,099.88 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 117.73 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 224.71 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 284.61 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 110.79 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 82.00 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 77.47 KB |