สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร 2) หาแนวทางและดำเนินการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และ 3) ติดตามผลการพัฒนาศักยภาพของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ โดยใช้กระบวนการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม (Participatory Action Research) ดำเนินการ 2 วงรอบ แต่ละวงรอบประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ กลุ่มเป้าหมายของการวิจัย ประกอบด้วยผู้วิจัย และผู้ร่วมวิจัย จำนวน 20 คน และกลุ่มผู้ให้ข้อมูล จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบทดสอบ แบบสังเกต แบบประเมินและแบบนิเทศ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การตรวจสอบข้อมูล เชิงคุณภาพทำการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนำเสนอข้อมูลเชิงพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า
1. สภาพและปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส อำเภอวานรนิวาส จังหวัดสกลนคร
1.1 สภาพการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กจัดประสบการณ์การเรียนรู้แบบเดิมตามบทบาทหน้าที่ของครูผู้ดูแลเด็ก ขาดการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การบันทึกหลังการจัดประสบการณ์การเรียนรู้และการประเมินพัฒนาการเด็กในแต่ละกิจกรรมการเรียนรู้ไม่เป็นปัจจุบัน จึงทำให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานที่ 2 ที่ว่าครูผู้ดูแลเด็กมีความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ
1.2 ปัญหา พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ทำให้ขาดการจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การดำเนินการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการประเมินผลพัฒนาการเด็กในแต่ละกิจกรรมไม่เป็นปัจจุบัน ส่งผลให้การประเมินพัฒนาการเด็กไม่ต่อเนื่อง
2. แนวทางการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส ในวงรอบที่ 1 มี 2 แนวทาง คือ การประชุมเชิงปฏิบัติการ และการนิเทศภายใน ในวงรอบที่ 2 มี 1 แนวทาง คือ การนิเทศภายใน
3. ผลการพัฒนาศักยภาพครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลวานรนิวาส พบว่า ด้านความรู้ ความเข้าใจ จากคะแนน 30 คะแนน ครูผู้ดูแลเด็กมีความรู้ ความเข้าใจในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้เท่ากับ 24.8 คิดเป็นร้อยละ 82.67 สามารถจัดทำแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้โดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅= 3.79) และผลการนิเทศภายในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูผู้ดูแลเด็กโดยรวมอยู่ในระดับมาก (X̅= 3.65) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผล ควรได้รับการปรับปรุงและพัฒนาในวงรอบที่ 2 ซึ่งผลการพัฒนาพบว่า อยู่ในระดับมาก ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการใช้สื่อและแหล่งเรียนรู้ (X̅ = 4.48) ด้านการวัดและประเมินผล (X̅ = 4.31) และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ (X̅ = 4.30)
The purposes of this research were: 1) to investigate conditions and problems of child care teachers in managing learning experiences for Early Childhood Development Centers under the Wanon Niwat Subdistrict Administrative Organization, Wanon Niwat district, Sakon Nakhon province, 2) to establish guidelines and operate the potential development of child care teachers on learning experience management, and 3) to follow up the effects after the intervention. The research was carried out using the Participatory Action Research involving two spirals. Each spiral comprised four steps: planning, acting, observing, and reflecting. The target group comprised a group of a researcher and 20 co-researchers, and 16 informants. The tools used were an interview form, a test, an observation form, an assessment form and a supervision form. Quantitative data analysis was conducted using mean, percentage, and standard deviation. The examination of qualitative data was conducted through content analysis and classification of contents. The presentation of data was then made in descriptive analysis.
The findings were as follows:
1. The conditions and problems of child care teachers in managing learning experiences for Early Childhood Development Centers under the Wanon Niwat Subdistrict Administrative Organization, Wanon Niwat district, Sakon Nakhon province revealed that:
1.1 The conditions of learning experience management showed that child care teachers organized traditional learning experiences for children as being assigned on their roles. The teachers neither created lesson plans, nor kept written records after completing learning experience management. In addition, the assessment for child development in each activity was not updated. Consequently, the learning experience management did not meet the second Standard Criterion addressing that ‘child care teachers must be able to manage effective learning experiences and learner-centered approach’.
1.2 The problems were found that most of child care teachers lacked the accurate knowledge and understanding on learning experience management, which caused limited written lesson plans, practices, and outdated assessment in each activity. Consequently, these problems affected a discontinuous assessment for child development.
2. The proposed guidelines for developing the potential of child care teachers on learning experience management were: in the first spiral comprising two approaches, namely a workshop, and an internal supervision; and in the second spiral involving an internal supervision.
3. The effects after the implementation revealed that the child care teachers gained knowledge and understanding on learning experience management about 24.8 points out of 30 or 82.67%. They were able to create lesson plans for learning experience management, as a whole at a high level
(X̅= 3.79); and the effects after the internal supervision, as a whole was at a high level (X̅= 3.65). When considering in each aspect, the aspects of using media and learning sources, organizing learning activities, and evaluation and measurement must be improved. Thus, the second spiral was conducted and resulted that the mean scores of all three aspects increased at a high level, namely the aspect of using media and learning sources (X̅= 4.48), the aspect of measurement and evaluation (X̅= 4.31), and the aspect of organizing learning activities (X̅ = 4.30).
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 71.13 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 573.47 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 64.82 KB |
4 | บทคัดย่อ | 210.18 KB |
5 | สารบัญ | 147.55 KB |
6 | บทที่ 1 | 286.25 KB |
7 | บทที่ 2 | 850.57 KB |
8 | บทที่ 3 | 372.14 KB |
9 | บทที่ 4 | 585.33 KB |
10 | บทที่ 5 | 400.86 KB |
11 | บรรณานุกรม | 274.49 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 211.62 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 490.19 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 315.40 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 363.48 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 261.68 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 476.77 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 711.57 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 206.92 KB |