สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา เปรียบเทียบ ความสัมพันธ์ อำนาจพยากรณ์ และหาแนวทางแก้ปัญหาปัจจัยความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน และรองผู้อำนวยการโรงเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 244 คน ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 83 คน และรองผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 161 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งแบ่งเป็น 2 ด้าน คือ ด้านที่ 1 ปัจจัยความเครียดในการปฏิบัติงานมีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.45 ถึง 0.90 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.985 และด้านที่ 2 ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียน มีค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.66 ถึง 0.92 ค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.990 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว การทดสอบ t-test ชนิด Independent samples และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 อยู่ในระดับน้อย
2. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 อยู่ในระดับมาก
3. ปัจจัยความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำแนกตามตำแหน่งทางการบริหาร และประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และจำแนกตามเพศ โดยรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 จำแนกตามเพศ ตำแหน่งทางการบริหาร ประสบการณ์การเป็นผู้บริหาร และขนาดของโรงเรียน โดยรวมทุกด้าน ไม่แตกต่างกัน
5. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหาร โดยรวม มีความสัมพันธ์เชิงลบกับประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ตัวแปรปัจจัยความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 พบว่า จำนวน 2 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 โดยรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน และด้านสิ่งแวดล้อม
7. แนวทางการแก้ปัญหาปัจจัยความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานโรงเรียนของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา ในสำนักงานศึกษาธิการภาค 11 ที่ควรได้รับการพัฒนา จำนวน 2 ด้าน คือ คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ดำเนินการโดย สำรวจความต้องการ วางแผนและดำเนินการพัฒนา ปรับปรุงสถานที่ทำงานให้เอื้อต่อการทำงาน ประเมินความพึงพอใจ และสรุปผลการพัฒนา และด้านความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน ดำเนินการโดย ศึกษาภูมิหลังของบุคลากรเป็นรายบุคคล จัดโครงสร้างให้เหมาะสม พัฒนาบุคลากร นิเทศงานแบบกัลยาณมิตร ผู้บริหารควรมีการสื่อสารเป้าหมายของการบริหารให้มีความชัดเจน ใช้หลักการบริหารแบบมีส่วนร่วม สร้างบรรยากาศในองค์กรให้เป็นองค์กรแห่งความสุข
The purposes of this research were to examine, compare, find out the relationship and predictive power, and establish the guidelines for managing work-related stress factors of school administrators and school administrative effectiveness. The samples consisted of 83 school directors, and 161 deputy directors, yielding a total of 244 participants in the 2016 academic year from secondary schools under the Regional Education Office No. 11. The research instrument for data collection was a 5-rating scale questionnaire categorizing into two parts: Part I concerning work-related stress factors, which had the discriminative power ranged from 0.45 to 0.90 and the reliability value of 0.985; Part II was related to school administrative effectiveness, which had the discriminative power ranged from 0.66 to 0.92 and the reliability value of 0.990. Statistics for data collection included percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation, F-test (One – Way ANOVA), Independent samples t-test and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. Work-related stress factors of secondary school administratorsunder the Regional Education Office No. 11, were at a low level.
2. School administrative effectiveness of secondary school administrators under the Regional Education Office No. 11, were at a high level.
3. Work-related stress factors of secondary school administrators, classified by administrative position and experience, were not different in overall. When classified by school sizes, they were found of being significantly difference at the .01 level in overall. As classified by gender, work-related stress factors were different at a statistical significance of .05 level in overall.
4. The administrative effectiveness of secondary school administrators, classified by gender, administrative position, administrative experience and school sizes, as a whole was not different in all aspects.
5. The work-related stress of administrators as a whole had a negative relationship with school administrative effectiveness of administrators at a statistical significance of .01 level.
6. The two variables of work-related stress factors of secondary school administrators were able to predict administrative effectiveness in secondary schools at the statistical significance of .01 level in overall, including the relationship with colleagues and workplace environment.
7. The researcher proposed the guidelines for managing work-related stress factors of administrators affecting school administrative effectiveness of administrators in secondary schools under the Regional Education Office No. 11. The two aspects needed improvement were: 1) In terms of workplace environment, the activities should adhere to the following procedures, namely needs survey, planning and implementation, workplace improvement to facilitate working, satisfaction assessment, and a summary of results, 2) In terms of relationship with colleagues, the activities should be implemented, namely background study of individual personnel, appropriate structures, personnel development, and friendly supervision. Administrators should communicate clear management goals, employ principles of participatory management, and create happy organization atmosphere.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 105.00 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 610.50 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 80.80 KB |
4 | บทคัดย่อ | 118.66 KB |
5 | สารบัญ | 291.28 KB |
6 | บทที่ 1 | 271.22 KB |
7 | บทที่ 2 | 2,203.46 KB |
8 | บทที่ 3 | 524.24 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,000.50 KB |
10 | บทที่ 5 | 405.52 KB |
11 | บรรณานุกรม | 249.93 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 4,709.48 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 657.02 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 145.85 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 491.53 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 183.86 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 119.25 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 390.47 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 1,196.60 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 94.09 KB |