สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา อิทธิพลของคุณภาพชีวิตการทำงานและความผูกพันต่อองค์การ ที่มีผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอเมืองสกลนคร จังหวัดสกลนคร จำนวน 186 คน ใช้วิธีคำนวณหาขนาดของกลุ่มตัวอย่างของ Krejcie and Morgan (สิน พันธุ์พินิจ, 2554, หน้า 137) การสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .98 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า
1. คุณภาพชีวิตในการทำงาน ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความสมดุลระหว่างภาระงานกับชีวิตส่วนตัว รองลงมาคือ ด้านการได้รับการยอมรับจากเพื่อนร่วมงาน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านค่าตอบแทนที่เพียงพอและยุติธรรม ความผูกพันต่อองค์การ ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านความเต็มใจ ทุ่มเท ความพยายามอย่างเต็มที่เพื่อประโยชน์ขององค์กร รองลงมาคือ ด้านความเชื่อมั่นอย่างสูง ในการยอมรับเป้าหมาย และค่านิยมขององค์กร ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ความต้องการอย่างแรงกล้าในการคงไว้ซึ่งการเป็นสมาชิกภาพในองค์กร และการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ความสำนึกในหน้าที่ รองลงมาคือ ด้านการให้ความช่วยเหลือ ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการให้ความร่วมมือ
2. คุณภาพชีวิตการทำงานโดยภาพรวม ไม่มีความสัมพันธ์กับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยภาพรวม ส่วนความผูกพันต่อองค์การโดยภาพรวม มีความสัมพันธ์กับการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การโดยภาพรวม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีความสัมพันธ์กันในระดับปานกลาง และมีความสัมพันธ์ทางบวก (r = .389)
3. คุณภาพชีวิตการทำงาน ไม่สามารถทำนายการเป็นสมาชิกที่ขององค์การของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความผูกพันต่อองค์การ สามารถทำนายการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การ ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบล ในภาพรวมได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 โดยมีค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์พหุคูณ (R2Adj) เท่ากับ 17.60 คุณภาพชีวิตการทำงาน และความผูกพันต่อองค์การ ร่วมกันทำนายการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้ 15.90 % เมื่อพิจารณาแต่ละตัวแปร พบว่า ความผูกพันต่อองค์การสามารถทำนายการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้มากที่สุด คือ 39.50 % อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .000 ส่วนคุณภาพชีวิตการทำงานสามารถทำนายการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การได้ -13.10 %
The purpose of this study was to investigate the influence of quality of work life and organizational commitment on Organizational Citizenship among personnel of sub-district administration organizations in the Sakon Nakhon district area, Sakon Nakhon province. A sample used in the study was 186 personnel of sub-district administration organizations in the Sakon Nakhon districts area, Sakon Nakhon province. The sample size was determined based on Krejcie and Morgan’s table and the sample was selected by Stratified Random Sampling. The instrument used in data collection was a questionnaire which had a reliability coefficient of .98. Statistics used in data collection were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s product moment correlation coefficient, and multiple regression analysis.
Findings of the study were as follows:
. Quality of work life of personnel in the sub-district administration organizations as a whole was at high level. Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of ‘balance between work load and personal life’, followed by the aspect of ‘acceptance by co-workers’. The aspect that gained the lowest mean score was of ‘adequate and fair remuneration. Organizational commitment of personnel in the sub-district administration organizations as a whole was at high level. Considering it by aspects, the aspect that gained the highest mean score was of ‘willingness, dedication and full effort for the benefit of the organization’, followed by the aspect of ‘high confidence in accepting the goals and values of the organization’. The aspect that gained the lowest mean score was of ‘the strong desire to retain membership in the organization. Organizational Citizenship of personnel in the sub-district administration organizations as a whole was at high level. Considering it by aspect, the aspect that gained the highest mean score was of ‘consciousness of duty’, followed by the aspect of ‘giving assistance’. The aspect that gained the lowest mean score was of ‘cooperation’
2. Quality of work life as a whole had no relationship with being Organizational Citizenship as a whole, whereas organizational commitment as a whole had significant relationship with being Organizational Citizenship as a whole at the .05 level with a positive (r = .389) and moderate level of correlation.
3. Quality of work life could not significantly predict being Organizational Citizenship of personnel in the sub-district administration organizations at the .05 level, whereas organizational commitment could significantly predict being Organizational Citizenship of personnel in the sub-district administration organizations at the .000 level with a multiple correlation coefficient (R2Adj) of 17.60. Quality of work life and organizational commitment could jointly predict 15.90% of being Organizational Citizenship. As each variable was considered, it was found that organizational commitment could significantly predict with the highest 39.50 percent of being Organizational Citizenship at the .000 level; whereas quality of work life could predict -13.10 percent of being Organizational Citizenship.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 100.91 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 51.47 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 39.58 KB |
4 | บทคัดย่อ | 99.06 KB |
5 | สารบัญ | 258.31 KB |
6 | บทที่ 1 | 185.06 KB |
7 | บทที่ 2 | 820.24 KB |
8 | บทที่ 3 | 172.89 KB |
9 | บทที่ 4 | 513.42 KB |
10 | บทที่ 5 | 207.56 KB |
11 | บรรณานุกรม | 225.24 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 2,686.88 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 51.42 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 208.70 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 167.99 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 89.91 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 819.90 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 86.60 KB |