ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21
Expectations of Stakeholders on Desirable Characteristics of School Administrators in the National Educational Reform Period under the Office of Secondary Education Service Area 21
ผู้จัดทำ
ฐิติมา ทะเริงรัมย์ รหัส 59421229208 ระดับ ป.โท ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรมหาบัณฑิต (ค.ม.) สาขาวิชา การบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2561
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ไชยา ภาวะบุตร, ดร.เทพรังสรรค์ จันทรังษี
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อเปรียบเทียบคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดโรงเรียน และเพศ พร้อมทั้งเพื่อหาแนวทางการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21

กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยในครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนมัธยมสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 21 ปีการศึกษา2560 รวมจำนวน 391 คน จำแนกเป็นกลุ่มผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 90 คน ครูผู้สอน จำนวน 155 คน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 56 คน และผู้ปกครองนักเรียน 90 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.270-0.776 และค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม เท่ากับ .966 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (ar{x}), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) สถิติทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples สถิติทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัย พบว่า

1. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 21 ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก

2. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง โดยรวม พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

3. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำแนกตามขนาดของโรงเรียน พบว่า ผู้บริหาร ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียน ในโรงเรียนขนาดใหญ่/ใหญ่พิเศษมีความคิดเห็นมากกว่าผู้บริหาร ครูผู้สอน ประธานคณะกรรมการสถานศึกษา และผู้ปกครองนักเรียนในโรงเรียนขนาดเล็กและโรงเรียนขนาดกลาง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียน ตามความคาดหวังของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจำแนกตามเพศ พบว่า โดยรวมและรายด้าน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

5. แนวทางในการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้บริหารโรงเรียนในยุคปฏิรูปการศึกษาได้มาโดยการสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ 10 คนเสนอแนะไว้ 2 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความเป็นผู้นำทางวิชาการ เช่น เป็นผู้มีความรู้ความสามารถในการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา บริหารหลักสูตรโดยคำนึงถึงเป้าหมายในการพัฒนาผู้เรียนในแต่ละระดับ และด้านคุณธรรม จริยธรรม เช่น ผู้บริหารต้องมีวิธีการเสริมสร้างขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงาน กำหนดนโยบายกลยุทธ์และใช้ทรัพยากรของสถานศึกษาอย่างคุมค่า

Abstract

The purposes of this research were to study desirable characteristics of school administrators in the national education reform period based on stakeholders’ expectations; to compare school administrators’ desirable characteristics based on expectations of stakeholders, classified by position, school size, and gender; and to establish the guidelines for developing school administrators’ desirable characteristics in the education reform period under the Office of Secondary Educational Service Area 21.

The samples in this research consisted of 90 school administrators, 155 teachers, 56 chairmen of the basic educational institution committee, 90 parents, yielding 391 respondents from secondary schools under the Office of Secondary Educational Service Area 21 in the academic year 2017. The research instrument was a set of questionnaires with the discrimination index ranging from 0.270 and 0.776 and the validity of .966. The statistics for data analysis were mean (ar{x}), standard deviation (S.D), t-test (Independent Samples), F-test and One-Way ANOVA Analysis.

The research findings were as follows:

1. The school administrators’ desirable characteristics in the national education reform period under the Office of Secondary Educational Service Area 21 based on stakeholders’ expectations were at a high level in overall and each aspect.

2. The school administrators’ desirable characteristics on stakeholders’ expectations, classified by position were different at a statistical significance of the .01 level in overall and each aspect.

3. The school administrators’ desirable characteristics based on stakeholders’ expectations, classified by school size indicated that the research respondents from large or very large schools had more expectations than those of respondents from small schools at a statistical significance of the .01 level

4. The school administrators’ desirable characteristics based on stakeholders’ expectations, classified by gender were different at a statistical significance of the .01 level in overall and each aspect.

5. The guidelines for developing school administrators’ desirable characteristics in the national education reform period were derived from ten experts’ interviews with two recommendations concerning academic leadership aspect in terms of having knowledge and competencies in school curriculum development, managing school curriculum with a focus on student development in each education level; and moral and ethics aspects in terms of involving morale empowerment and moral support; and setting strategic policies and effective use of resources in schools.

คำสำคัญ
คุณลักษณะอันพึงประสงค์, ผู้บริหารโรงเรียน
Keywords
Desirable Characteristics, School Administrators
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 137.30 KB
2 ใบรับรองวิทยานิพนธ์ 634.47 KB
3 ประกาศคุณูปการ 109.97 KB
4 บทคัดย่อ 161.03 KB
5 สารบัญ 245.31 KB
6 บทที่ 1 296.04 KB
7 บทที่ 2 816.70 KB
8 บทที่ 3 351.49 KB
9 บทที่ 4 729.30 KB
10 บทที่ 5 311.93 KB
11 บรรณานุกรม 240.87 KB
12 ภาคผนวก ก 173.27 KB
13 ภาคผนวก ข 2,698.32 KB
14 ภาคผนวก ค 335.19 KB
15 ภาคผนวก ง 288.81 KB
16 ภาคผนวก จ 155.09 KB
17 ภาคผนวก ฉ 204.18 KB
18 ภาคผนวก ช 108.28 KB
19 ภาคผนวก ซ 345.47 KB
20 ประวัติย่อของผู้วิจัย 117.15 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
22 มีนาคม 2562 - 15:32:30
View 848 ครั้ง


^