สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อศึกษา เปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลภาวะผู้นำครูและภาวะผู้นำครู ตามความคิดเห็นของผู้บริหารและครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร ที่มีประเภทของสถานศึกษา สถานภาพการดำรงตำแหน่ง และประสบการณ์ในการปฏิบัติงานต่างกัน หาความสัมพันธ์และหาอำนาจพยากรณ์ของปัจจัยภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำครู และหาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครูผู้สอน สังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนครปีการศึกษา 2561 จำนวน 260 คน แบ่งออกเป็น ผู้บริหาร จำนวน 59 คน และครูผู้สอน จำนวน 201 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำ มีค่าอำนาจจำแนก 0.951 – 0.953 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.953 และแบบสอบถามภาวะผู้นำครู มีค่าอำนาจจำแนก 0.978 - 0.979 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.979 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที (t-test) ชนิด Independent Samples การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product –Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression Analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก
3. ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร จำแนกตามประเภทของสถานศึกษา และสถานภาพการดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกัน พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ตามลำดับ ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกันโดยรวมพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน
4. ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร จำแนกตามประเภทของสถานศึกษา และสถานภาพการดำรงตำแหน่งที่แตกต่างกัน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนจำแนกตามประสบการณ์ในการปฏิบัติงานที่แตกต่างกัน โดยรวมพบว่า ไม่มีความแตกต่างกัน
5. ปัจจัยกับภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร มีความสัมพันธ์ในทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
6. ปัจจัยที่ส่งผลต่อภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนคร ที่นำมาวิเคราะห์จำนวน 3 ด้าน มีปัจจัย 2 ด้าน คือ ความรู้เชิงลึก และแรงจูงใจภายใน ที่สามารถพยากรณ์ภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนครโดยรวม ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสามารถพยากรณ์ได้ร้อยละ 65.60 ส่วนสภาพแวดล้อมเปิด ไม่มีอำนาจพยากรณ์
7. มีแนวทางที่เหมาะสมในการพัฒนาปัจจัยเพื่อเพิ่มภาวะผู้นำครูในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดสกลนครอยู่ 3 แนวทาง
The purposes of this research were to study and compare factors affecting teacher leadership and teacher leadership as perceived by administrators and teachers under Sakon Nakhon Vocational Education, classified by types of institute, position and work experience; to find out the relationship and the predictive power of factors of leadership affecting teacher leadership; and to establish the guidelines for developing factors affecting leadership of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education. The samples consisted of 59 administrators and 201 teachers under Sakon Nakhon Vocational Education in the academic year 2018, yielding a total of 260 participants. The research instruments for data collection were two sets of questionnaires containing factors affecting leadership, with the discriminative power from 0.951 to 0.953 and the reliability of 0.953; and teacher leadership with the discriminative power from 0.978 to 0.979 and the reliability of 0.979. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, t-test for Independent Samples, One-Way ANOVA, Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. Factors affecting leadership of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education, as a whole were at a high level.
2. Leadership of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education was at a high level in overall.
3. The comparison results revealed that factors affecting leadership of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education, classified by types of institute, and position, were found significantly different at the .01 and .05 levels respectively. In terms of work experience, there was not different in overall.
4. The comparison results revealed that leadership of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education, classified by types of institute and position were found significantly different at the .01 level. In terms of work experience, there was not different in overall.
5. Factors and leadership of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education had a positive relationship at the .01 statistical significance level.
6. The three factors affecting leadership of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education were then anlayzed. Two factors: in-depth knowledge and internal motivation, were able to predict leadership of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education at the .01 statistical significance level, with 65.60 percent. In terms of open environment, there was no predictive influence.
7. The three appropriate guidelines for improving factors to foster the growth of leadership qualities of teachers under Sakon Nakhon Vocational Education were proposed.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 102.91 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 1,787.98 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 62.11 KB |
4 | บทคัดย่อ | 118.61 KB |
5 | สารบัญ | 202.60 KB |
6 | บทที่ 1 | 268.48 KB |
7 | บทที่ 2 | 798.00 KB |
8 | บทที่ 3 | 288.25 KB |
9 | บทที่ 4 | 932.52 KB |
10 | บทที่ 5 | 372.46 KB |
11 | บรรณานุกรม | 208.77 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 170.34 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 9,905.34 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 319.33 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 363.96 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 121.54 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 721.07 KB |
18 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 89.93 KB |