สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษา สภาพ ปัญหาและผลสำเร็จในการดำเนินงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ ผู้บริหาร ผู้รับผิดชอบงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการและครูผู้สอน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ปีการศึกษา 2561 จำนวน 308 คน ได้มาโดยใช้ การสุ่มแบบแบ่งชั้นแบบใช้สัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียนจำนวน 80 คน ครูผู้สอนจำนวน 148 คน และครูผู้รับผิดชอบงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการจำนวน 80 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับการดำเนินงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการในโรงเรียน ลักษณะแบบสอบถามเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ แบ่งเป็น 3 ด้านคือ ด้านที่ 1 สภาพในการดำเนินงาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.936 ด้านที่ 2 ปัญหาในการดำเนินงาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.917 ด้านที่ 3 ผลสำเร็จในการดำเนินงาน มีค่าความเชื่อมั่น 0.988 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานทดสอบสมมติฐานโดยใช้การวิเคราะห์ F-test (One-Way ANOVA)
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพ และผลสำเร็จในการดำเนินงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร ตามความคิดเห็นของ ผู้บริหาร ครูผู้สอน และครูผู้รับผิดชอบงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการ อยู่ในระดับมาก ส่วนปัญหาอยู่ในระดับน้อย
2. สภาพ ปัญหา และผลสำเร็จในการดำเนินงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการ ในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และครูผู้รับผิดชอบงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการที่มีสถานภาพการดำรงตำแหน่งแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกัน
3. สภาพ และปัญหาในการดำเนินงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษามุกดาหาร โดยรวมตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และครูผู้รับผิดชอบงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการ ที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานแตกต่างกันโดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนผลสำเร็จในการดำเนินงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการในโรงเรียนโดยรวมและรายด้าน ทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนที่มีประสบการณ์การปฏิบัติงานระหว่าง 10 - 20 ปีและมากกว่า 10 ปี มีความเห็นมากกว่ามีประสบการณ์การปฏิบัติงานน้อยกว่า 10 ปี
4. สภาพ ปัญหาและผลสำเร็จในการดำเนินงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการ ในโรงเรียนโดยรวมและรายด้านทุกด้าน ตามความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้สอน และครูผู้รับผิดชอบงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการที่ขนาดโรงเรียนแตกต่างกัน ไม่แตกต่างกัน
5. การวิจัยครั้งนี้ได้นำเสนอแนวทางในการยกระดับผลสำเร็จในการดำเนินงานเสริมสร้างค่านิยม 12 ประการทั้ง 5 ด้านไว้ด้วย
The purposes of this research were to examine operational conditions, problems and success on the enhancement of the 12 values in schools under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area. The samples, obtained through proportional stratified random sampling technique, consisted of 80 school administrators, 148 teachers and 80 teachers in charge of the project work concerning the enhancement of the 12 values, yielding with a total of 308 participants, in the 2018 academic year. The instrument for data collection was a 5-rating scale questionnaire on the enhancement of the 12 values in schools, comprising three aspects: operational conditions with the reliability of 0.936, operational problems with the reliability of 0.917; and operational success with the reliability of 0.988. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, and hypothesis testing through F-test (One-way ANOVA).
The findings were as follows:
1. The operational conditions and success on the enhancement of the 12 values in schools under the Office of Mukdahan Primary Educational Service Area, as perceived by school administrators, teachers and teachers in charge, were at a high level, whereas the operational problems were at a low level.
2. The operational conditions, problems and success on the enhancement of the 12 values in schools, as perceived by school administrators, teachers and teachers in charge with different position, were not different.
3. The operational conditions, problems and success on the enhancement of the 12 values in schools, as perceived by school administrators, teachers and teachers in charge with different work experience, as a whole and each aspect were not different. In term of the operational success, all aspects were different at the .01 statistical significance level in overall and each aspect. The participants with different work experience ranging between 10-20 years perceived more than 10-year work experience participants.
4. The operational conditions, problems and success on the enhancement of the 12 values in schools, as perceived by school administrators, teachers and teachers in charge from different school sizes, were not different.
5. This research also proposed the guidelines for improving the operational success on the enhancement of the 12 values, involving five aspects.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 113.21 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 605.51 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 85.27 KB |
4 | บทคัดย่อ | 253.28 KB |
5 | สารบัญ | 458.86 KB |
6 | บทที่ 1 | 453.30 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,429.33 KB |
8 | บทที่ 3 | 674.51 KB |
9 | บทที่ 4 | 2,333.76 KB |
10 | บทที่ 5 | 602.70 KB |
11 | บรรณานุกรม | 354.68 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 286.80 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 2,588.44 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 615.32 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 493.95 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 401.69 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 179.63 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 1,138.41 KB |
19 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 128.40 KB |