สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เปรียบเทียบปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตามสถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน 2) ศึกษาความสัมพันธ์และอำนาจพยากรณ์ 3) หาแนวทางการพัฒนาปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 351 คน ได้จากการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น จำแนกเป็น ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 45 คน หัวหน้างานบริหารงานบุคคล จำนวน 45 คน และครูผู้สอน จำนวน 261 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ในปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.962 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.295-0.797 และประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน มีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.949 และมีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.399- 0.840 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบเอฟ (F-test) แบบการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สัน (Pearson’s Product - Moment Correlation Coefficient) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแต่ละขั้นตอน (Stepwise Multiple Regression analysis)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนและประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน หัวหน้างานบริหารงานบุคคล และครูผู้สอน จำแนกตาม สถานภาพการดำรงตำแหน่ง ขนาดของโรงเรียน และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน โดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนกับประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน โดยรวมพบว่า มีความสัมพันธ์ทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ปัจจัยวัฒนธรรมองค์การในโรงเรียนที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน จำนวน 5 ด้าน ที่สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียนได้ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (X8) ด้านภาวะผู้นำ (X7) ด้านเน้นบทบาทของบุคคล (X1) และ ด้านมุ่งผลสำเร็จของงาน (X4) และมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 1 ด้าน คือด้าน กฎ ระเบียบและข้อบังคับ (X5)
สามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ในรูปคะแนนดิบ ได้ดังนี้
Y’ = 0.829 + 0.194 X8 + 0.197 X7 + 0.192 X1 + 0.141 X4 + 0.090 X5
และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์การถดถอยในรูปคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้
Z’ = 0.234 ZX8 + 0.234 ZX7 + 0.213 ZX1 + 0.152 ZX4 + 0.105 ZX5
5. แนวทางการพัฒนาปัจจัยวัฒนธรรมองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานบุคคลในโรงเรียน เสนอแนะไว้ 5 ด้าน ประกอบด้วย ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้านภาวะผู้นำ ด้านเน้นบทบาทของบุคคล ด้านมุ่งผลสำเร็จของงาน และด้านกฎ ระเบียบและข้อบังคับ
The purposes of this research were to 1) compare organizational culture factors and effectiveness of personnel administration in schools as perceived by school administrators, heads of personnel department, and teachers, classified by positions, school sizes, and work experience; 2) discover the relationship and the predictive power; and 3) establish guidelines for developing organizational culture factors affecting the effectiveness of school personnel administration. The samples, obtained through stratified random sampling technique, consisted of 45 school administrators, 45 heads of personnel department, and 261 teachers, yielding a total of 351 participants, working in schools under the Office of Secondary Educational Service Area 23, in the 2018 academic year. The instrument for data collection was a set of questionnaires concerning the factors of school organizational culture with the reliability of 0.962 and discriminative power between 0.295-0.797, and the effectiveness of personnel administration with the reliability of 0.949 and discriminative power between 0.399-0.840. The statistics for data analysis were mean, standard deviation, F – test (One – Way ANOVA), Pearson’s Product-Moment Correlation Coefficient, and Stepwise Multiple Regression Analysis.
The findings were as follows:
1. The organizational culture factors and effectiveness of personnel administration in schools, as a whole and for each aspect, were at a high level.
2. The organizational culture factors and the effectiveness of personnel administration in schools as perceived by school administrators, heads of personnel administration, and teachers from different positions, school sizes and work experience, as a whole, were different at the .01 statistical significance level.
3. The organizational culture factors and the effectiveness of personnel administration in schools had the positive relationship at the .01 statistical significance level.
4. The five aspects of the organizational culture factors affecting the effectiveness of personnel administration in schools were able to predict the effectiveness of personnel administration in schools. The said four aspects in terms of personnel relationship (X8), leadership (X7), personnel function (X1), work focused success (X4), achieved the .01 statistical significance level, whereas the only aspect achieved the .05 statistical significance level was rules and regulations (X5). The regression equations could be constructed as shown below:
The Prediction Equation of Unstandardized Score:
Y’ = 0.829 + 0.194 X8 + 0.197 X7 + 0.192 X1 + 0.141 X4 + 0.090
The Prediction Equation of Standardized Score:
Z’ = 0.234 ZX8 + 0.234 ZX7 + 0.213 ZX1 + 0.152 ZX4 + 0.105 ZX5
5. The guidelines for developing organizational culture factors affecting the effectiveness of personnel administration in schools, were classified into following five aspects: personnel relationship, leadership, personnel function, work focused success, and rules and regulations.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 109.32 KB |
2 | ใบรับรองวิทยานิพนธ์ | 606.13 KB |
3 | ประกาศคุณูปการ | 82.98 KB |
4 | บทคัดย่อ | 127.01 KB |
5 | สารบัญ | 259.32 KB |
6 | บทที่ 1 | 337.55 KB |
7 | บทที่ 2 | 1,226.76 KB |
8 | บทที่ 3 | 362.25 KB |
9 | บทที่ 4 | 1,421.48 KB |
10 | บทที่ 5 | 482.43 KB |
11 | บรรณานุกรม | 211.79 KB |
12 | ภาคผนวก ก | 172.83 KB |
13 | ภาคผนวก ข | 2,186.02 KB |
14 | ภาคผนวก ค | 358.85 KB |
15 | ภาคผนวก ง | 337.73 KB |
16 | ภาคผนวก จ | 179.84 KB |
17 | ภาคผนวก ฉ | 148.52 KB |
18 | ภาคผนวก ช | 127.01 KB |
19 | ภาคผนวก ซ | 329.80 KB |
20 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 101.42 KB |