ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
การพัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิผลของ โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
A Development of Effective Curriculum Administration Model for Large-sized Secondary Schools in the Upper Northeastern
ผู้จัดทำ
รัตนา คำเพชรดี รหัส 543JPe107 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) สาขาวิชา การบริหารและพัฒนาการศึกษา
ปี พ.ศ.
2559
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วัลนิกา ฉลากบาง, รองศาสตราจารย์ ดร.จำนง วงษ์ชาชม, รองศาสตราจารย์ ดร.สมคิด สร้อยน้ำ
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และ 2) ตรวจสอบรูปแบบการบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่พัฒนาขึ้น  การดำเนินการวิจัยมี 4 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การศึกษาองค์ประกอบของรูปแบบ โดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง การสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน และการศึกษากรณีตัวอย่างจากโรงเรียนดีเด่น จำนวน 2 โรงเรียน ระยะที่ 2 การพัฒนารูปแบบ โดยใช้เทคนิคเดลฟาย เครื่องมือที่ใช้รอบที่ 1 เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยความถี่ รอบที่ 2 และ 3 เป็นแบบสอบถามชนิดมาตรส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่ามัธยฐาน และค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ระยะที่ 3 การตรวจสอบรูปแบบโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 783 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และระยะที่ 4 การยืนยันรูปแบบโดยการประชุมผู้เชี่ยวชาญจำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยสรุปความถี่ความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญ 

ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้

1. รูปแบบการบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบหลัก ดังนี้ 1) ด้านปัจจัยสนับสนุนการบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิผล มี 7 ด้าน ได้แก่ การกำหนดวิสัยทัศน์ เป้าหมายและนโยบายของหลักสูตร การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การนิเทศภายใน ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารและครู การบริหารจัดการหลักสูตรแบบมีส่วนร่วม การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายใน และการพัฒนาบุคลากรและการพัฒนาตนเอง 2) ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตร มี 4 ขั้น ได้แก่ การวางแผนการจัดองค์การ การนำองค์การ และการควบคุม และ 3) ด้านประสิทธิผลการบริหารหลักสูตร มี 3 ด้าน ได้แก่ สมรรถนะและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน สมรรถนะการสอนและการเป็นที่ยอมรับของครู และความพึงพอใจของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย

2. รูปแบบการบริหารหลักสูตรที่มีประสิทธิผลของโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ทั้งโดยรวมและรายองค์ประกอบ เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยคือ  ด้านกระบวนการบริหารหลักสูตร  ด้านประสิทธิผลการบริหารหลักสูตร และด้านปัจจัยสนับสนุนการบริหารหลักสูตร

Abstract

The objectives of this study were 1) to develop an effective curriculum administration model for large-sized secondary schools in the upper northeastern  and 2) to verify the developed model. The study was conducted in 4 phases. The first phase was the study of model components by an analysis of relevant documents and studies, an interview with 9 experts and a case study of 2 outstanding schools. The second phase was the model development with the application of Delphi Technique. The tool employed in the first round was an open-end questionnaire while a 5-level rating scale questionnaire was used in the second and third rounds. Data collected from the first round was analysed by using frequency while the ones from the second and third rounds were analysed by finding the median and interquartile range. The third phase was the verification of the developed model by 783 stakeholders. The tool used was a 5-level rating scale questionnaire. Statistics used were percentage, mean and standard deviation. The fourth phase was the  verification of the developed model by expert group meeting of 7 experts. The tool used was a questionnaire. Data was then analysed by summarizing the opinions of the experts in the form of frequency.

The findings could be concluded as follows.

1. The author's effective curriculum administration model for large-sized secondary schools in the upper Northeastern comprised 3 main components, namely  1) supporting factors on  curriculum administration, which could be further classified into 7 aspects as follows: vision setting; goals and policies of curriculum; learning process development; internal supervision; academic leadership of school directors and teachers; curriculum participative administration; internal education quality assurance development; personnel and self-improvement; 2) curriculum administration procedure, which consisted of 4 steps, namely planning, organizing, leading and controlling; 3) effectiveness of curriculum management, which could be divided into 3 aspects, namely capacity and desirable characteristics of students, teaching capacity and acceptability of teachers, and stakeholders' satisfaction.

2. The appropriateness of the author's developed effective curriculum administration model for large-sized secondary schools in the upper Northeastern was at a high level, both in an overall and in each component. The mean of each component could be prioritized as follows: curriculum administration procedure, effectiveness of curriculum management and supporting factors on curriculum administration.

คำสำคัญ
การพัฒนารูปแบบ, การบริหารหลักสูตร, ประสิทธิผลของหลักสูตร, ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน, โรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่
Keywords
ไฟล์วิทยานิพนธ์
วันที่นำเข้าข้อมูล
6 มกราคม 2561 - 13:15:22
View 1697 ครั้ง


^