ฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (E-Thesis) SNRU

สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

ชื่อวิทยานิพนธ์
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครูโนวิทยาลัย วิทยาศาสตร์สุขภาพสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
Model of Developing Instructional Leadership for the Teachers At Health Sciences Colleges in Lao People's Democratic Republic (LAO P.D.R)
ผู้จัดทำ
สุคันทอน สิงพวงเพ็ด รหัส 55620232112 ระดับ ป.เอก ภาคพิเศษ
หลักสูตร
ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต (ค.ด.) สาขาวิชา ภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา
ปี พ.ศ.
2558
ที่ปรึกษา
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สวัสดิ์ โพธิวัฒน์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ธวัชชัย ไพไหล, ดร.ละม้าย กิตติพร
บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัด ภาวะ ผู้นำทางวิชาการที่เหมาะสมของครูในวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว 2) สร้างและพัฒนารูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ ของครูใน วิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และ 3) ตรวจสอบประสิทธิผลของรูปแบบภาวะผู้นำทางวิชาการของครูในวิทยาลัย วิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว กลุ่มตัวอย่างที่โช้ในการ การศึกษาสำรวจสภาพภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ได้แก่ ครูวิทยาลัยวิทยาศาสตร์ สุขภาพ เทียบจากตารางของ เครชี่และมอร์แกน ได้จำนวน 255 คน และกลุ่มตัวอย่างที่โช้ ในการทดลองภาคสนาม เป็นครูในวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพสะหวันนะเขต จำนวน 30 คน เครื่องมือที่โช้ในการวิจัยระยะที่ 1ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ และ แบบสอบถาม ระยะที่ 2 แบบประเมินรูปแบบ และระยะที่ 3 แบบประเมินตนเอง และแบบ ประเมินการตอบสนองต่อรูปแบบ การวิเคราะห์เช่งปริมาณโช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ส่วนข้อมูลเช่งคุณภาพโข้วิธีวิเคราะห์เนึ้อความ ผลการวิจัยพบว่า

1.    องค์ประกอบภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ คือ 1) การพัฒนาตนเองและเพื่อนครู มีองค์ประกอบย่อย คือ (1) การมีวิสัยทัศน์พัฒนา ตนเอง (2) การเที่อมั่นในตนเองว่าพัฒนาได้ และ(3) เป็นครูผู้นำพัฒนาเพื่อนครู 2) การเป็นแบบอย่างทางการสอน มีองค์ประกอบย่อย คือ (1) ใช้วิธีการสอนที่หลากหลาย (2)ส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเอง (3) ส่งเสริมบรรยากาศการเรียนรู้ 3) การมีส่วนร่วมในการ พัฒนา มีองค์ประกอบย่อย คือ (1) มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาร่วมกัน (2) มีการทำงานเป็น ทีม (3) มีเครือข่ายการปฏิบัติงานร่วมกัน 4) การพัฒนานักเรียน มีองค์ประกอบย่อย คือ (1) การรักษามาตรฐานที่สูงของนักเรียน (2) การกำกับติดตามความก้าวหน้าของนักเรียน (3) การวิเคราะห์ข้อมูลในการพัฒนาผลลัมถุทธื้ฃองนักเรียนและ 5) การเป็นผู้นำแก้ไข ปัญหา มีองค์ประกอบย่อย คือ (1) ผู้นำการบริหารความขัดแย้ง และ(2) คิดแบบไตร่ตรอง และค้นหาด้วยตนเองในการแก้ปัญหา

2.    รูป แบบการพัฒนาภาวะผู้นำครูในวิทยาลัยวิทยาศาสตร์สุขภาพ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ประกอบด้วย คือ หลักการของรูปแบบ วัตถุประสงค์ของรูปแบบ เนึ้อหา กระบวนการพัฒนา การวัดและการประเมินผล

3.    ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของครู

3.1    ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู ก่อนการทดลองโช้รูปแบบการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และหลังการทดลองโช้รูปแบบการพัฒนามีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก

3.2    ปฏิกิริยาตอบสนองต่อรูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ ของครู หลังการทดลองโช้รูปแบบมีค่าเฉลี่ยโดยภาพรวมเป็นบวกอยู่ในระดับมาก

3.3    ความคงทนของภาวะผู้นำทางวิชาการของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากคำสำคัญ รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ, ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู

Abstract

The purposes of This Research were 1) investigate factors and indicators of appropriate academic leadership among the teachers in Colleges of Health Sciences in LaoPDR, 2) build and develop a model of academic leadership in Colleges of Health Sciences in LaoPDR, 3) determine effectiveness of academic leadership of the teachers in Colleges of Health Sciences in LaoPDR. Samples used in this study consisted of 255 teachers in Colleges of Health Sciences in LaoPDR. The target group in the field study included 30 teachers in College of Health Sciences, Savannakhet, LaoPDR. Tools used in the first stage included a form of interview of experts, and a questionnaire; a form of the model assessment was applied in the second stage and a form of self— assessment.as well as a form of response assessment toward the model were employed in the third stage. Quantitative data were analyzed by a ready-made statistical program.
Findings were as follows:

1. The elements of academic leadership of the teachers included self
development and colleague development, being a model in teaching, promotion of learning atmosphere and participation in development, student development as well as leadership in problem solving.

2. The model of leadership development เท Colleges of Health Sciences comprised: principles, objectives, contents, development process, and measurement and evaluation.

3. The effectiveness of the model of academic leadership of the teachers was:

3.1 The self-assessment of academic leadership among the teachers, before the experiment, indicated that it was at the moderate level. After the experiment, it was at the high level.

3.2 The response reaction toward the model of academic leadership of the teachers, after the experiment, was at the high level in general.

3.3 The retention of academic leadership of the teachers, as a whole, was at the high level.

คำสำคัญ
รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการ, ภาวะผู้นำทางวิชาการของครู
Keywords
A Model of the Academic, Leadership Development of the Teachers
ไฟล์วิทยานิพนธ์
ลำดับที่ ดาวน์โหลดไฟล์ ขนาดไฟล์
1 หน้าปก 123.36 KB
2 ประกาศคุณูปการ 91.78 KB
3 บทคัดย่อ 167.26 KB
4 สารบัญ 295.51 KB
5 บทที่ 1 315.59 KB
6 บทที่ 2 2,802.41 KB
7 บทที่ 3 255.72 KB
8 บทที่ 4 809.59 KB
9 บทที่ 5 345.73 KB
10 บรรณานุกรม 348.72 KB
11 ภาคผนวก ก 613.48 KB
12 ภาคผนวก ข 184.91 KB
13 ภาคผนวก ค 203.13 KB
14 ภาคผนวก ง 360.79 KB
15 ภาคผนวก จ 266.18 KB
16 ภาคผนวก ฉ 1,431.94 KB
17 ประวัติย่อของผู้วิจัย 135.60 KB
วันที่นำเข้าข้อมูล
29 เมษายน 2562 - 13:52:25
View 662 ครั้ง


^