สืบค้นเอกสารฉบับเต็ม (Full Text) จากฐานข้อมูลวิทยานิพนธ์ (Thesis Database) ของบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร
การวิจัยครั้งนี้ มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) ศึกษาระดับสภาพและความต้องการการพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนรู้ 2) พัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนรู้และ 3) ตรวจสอบร่างหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนรู้ การดำเนินการวิจัย แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ร่างรูปแบบการพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 2 สร้างหลักสูตรฝึกอบรมครูเพื่อจัดการเรียนรู้ ระยะที่ 3 ตรวจสอบร่างหลักสูตรฝึกอบรมการพัฒนาครูเพื่อจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า ด้านสภาพเกี่ยวกับสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.72 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ด้านความต้องการเกี่ยวกับสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.33-0.78 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 และด้านสภาพเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.36-0.71 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 ด้านความต้องการเกี่ยวกับกระบวนการจัดการเรียนรู้มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.43-0.72 ค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.97 กลุ่มเป้าหมายประกอบด้วยผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนคณิตศาสตร์ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 110 คน การได้มาของกลุ่มเป้าหมายใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาร่างหลักสูตรและตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของส่วนประกอบของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญและปรับปรุงพัฒนาให้สมบูรณ์
ผลการวิจัยพบว่า
1. องค์ประกอบสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 1) การพัฒนาทักษะการสื่อสารการเรียนรู้และการวางแผนการสอน 2) การใช้วิธีการสอนที่เหมาะสมเพื่อช่วยพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียน 3) การประเมินผลการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้ที่จัดให้ผู้เรียนและอิงพัฒนาการผู้เรียน 4) การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการเรียนการสอนของตนเองและผู้เรียน 5) การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญสำหรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) การกำหนดจุดมุ่งหมายของการเรียนการสอน 2) ทฤษฎี หลักการ แนวคิดที่เป็นพื้นฐาน3) รายละเอียดของขั้นตอนและลำดับขั้นตอนของกิจกรรมที่ใช้สอน 4) ผลของการจัดการเรียนรู้และผลการส่งเสริม หรือการประเมินการเรียนการสอน
2. ผลการสร้างหลักสูตรภายหลังจากการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยรายด้านเกี่ยวกับสภาพและความต้องการพบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ซึ่งสร้างหลักสูตรตามสมรรถนะของครูในการจัดการเรียนรู้ ที่ได้จากการสังเคราะห์เป็น 4หน่วยการเรียนรู้ ได้แก่ 1) การสื่อสารการเรียนรู้และการวางแผนการสอน 2) การจัดประสบการณ์ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญและสอดแทรกเนื้อหาวิธีการสอนที่เหมาะสมให้มีความครอบคลุมมากขึ้น 3) การนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาการเรียนการสอน 4) การประเมินผลการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับสภาพการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการจัดการเรียนรู้ในเนื้อหาที่กำหนด ทำให้ได้ร่างหลักสูตรประกอบด้วย หลักการและเหตุผล จุดมุ่งหมายของหลักสูตร หน่วยการฝึกอบรมและหัวข้อวิชาฝึกอบรม จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม เนื้อหาการฝึกอบรม กิจกรรมและวิธีการฝึกอบรม สื่อการฝึกอบรม และการประเมินผล
3. ผลการตรวจสอบความเหมาะสมและความสอดคล้องของส่วนประกอบของหลักสูตรโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า หลักสูตรมีค่าความเหมาะสมเฉลี่ยเท่ากับ 3.91 และมีค่าความสอดคล้องในภาพรวมอยู่ระหว่าง .80-1.00 แสดงว่าหลักสูตรมีความเหมาะสมและความสอดคล้องตามเกณฑ์ที่กำหนดและยอมรับได้ ผู้วิจัยได้ดำเนินการปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรให้มีความสมบูรณ์มากขึ้น
The objectives of this study were 1) to examine the conditions and needs in teacher development for learning management, 2) to develop a training curriculum in teacher development for learning management, and 3) to assess the developed training curriculum. The study was divided into 3 phases. The first phase was the drafting of teacher development model for learning management. The second phase was the training curriculum building, and the third phase was the assessment of the developed training curriculum.
The tool employed in this study was a 5-level rating scale questionnaire in the following aspects: 1) the state of teacher competencies in learning management, with the discrimination power between 0.33 and 0.72 and reliability value at 0.97, 2) the needs of teacher competencies in learning management, with discrimination power between 0.33 and 0.78 and reliability value at 0.97, 3) the state of learning management process with discrimination power between 0.36 and 0.71 and reliability value at 0.97, 4) the needs of learning management process with discrimination power between 0.43 and 0.72 and reliability value at 0.97. The samples comprised 110 school directors and mathematics teachers in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 23 in academic year B.E. 2557, selected through multi-stage sampling. The collected data were analyzed with SPSS software to determine the percentage, mean and standard deviation, and was further implemented in the training curriculum development as well as the appropriateness and congruence examination by experts and the improvement and development of the complete curriculum.
The study found that:
1. The components of teacher competencies in learning management consisted of 1) the development of learning communication skills and lesson planning, 2) the implementation of proper teaching methods to improve students' learning outcome, 3) learning outcome assessment conforming to the provided learning environment and was based on students' development, 4) the implementation of technology in teaching and learning development, 5) student-centered learning management. The learning management process comprised 4 components, namely: 1) teaching objective, 2) theories, principles and concept, 3) details of the process and order of teaching activities, 4) the outcome of learning management and teaching assessment/support.
2. After the analysis of the mean in each state and need, the mean was at high level. The curriculum was developed in accordance with teacher competencies in learning management from data synthesis and could be divided into 4 learning units, which were: 1) learning communication and lesson planning, 2) student-centered learning management and the addition of contents on proper teaching methods to increase the curriculum coverage, 3) the implementation of technology in teaching and learning development, 4) teaching assessment conforming to the learning environment by the implementation of the learning management process in the provided content. The results in the curriculum draft which comprised principles and rationale, curriculum objective, training unit and training topics, behavioral objective, activities and training methods, training media and evaluation.
3. The appropriateness and congruence examination of the curriculum components by experts found that the appropriateness of the curriculum was at 3.91 with congruence value between .80 - 1.00. Therefore, it could be concluded that the developed training curriculum was appropriate and acceptable with the set criteria. The author had further improved the curriculum to be more completed.
ลำดับที่ | ดาวน์โหลดไฟล์ | ขนาดไฟล์ |
1 | หน้าปก | 108.77 KB |
2 | ประกาศคุณูปการ | 36.11 KB |
3 | บทคัดย่อ | 61.07 KB |
4 | บทที่ 1 | 126.55 KB |
5 | บทที่ 2 | 725.08 KB |
6 | บทที่ 3 | 178.85 KB |
7 | บทที่ 4 | 166.25 KB |
8 | บทที่ 5 | 117.70 KB |
9 | บรรณานุกรม | 117.68 KB |
10 | ภาคผนวก ก | 54.49 KB |
11 | ภาคผนวก ข | 120.72 KB |
12 | ภาคผนวก ค | 120.01 KB |
13 | ภาคผนวก ง | 100.19 KB |
14 | ภาคผนวก จ | 117.96 KB |
15 | ภาคผนวก ฉ | 130.60 KB |
16 | ภาคผนวก ช | 47.87 KB |
17 | ภาคผนวก ซ | 101.28 KB |
18 | ภาคผนวก ฌ | 191.34 KB |
19 | ภาคผนวก ญ | 100.47 KB |
20 | ภาคผนวก ฎ | 1,102.56 KB |
21 | ประวัติย่อของผู้วิจัย | 40.95 KB |